Friday, 19 April 2024
THE STUDY TIMES

ไทยนั่งเจ้าภาพ Asia-Pacific Advance Network (APAN) ครั้งที่ 57 เวทีแห่งการแลกเปลี่ยนข้อมูล 'เครือข่ายการวิจัย-การศึกษาในเอเชียแปซิฟิก'

ประเทศไทย เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ APAN ครั้งที่ 57 ระหว่างวันที่ 29 มกราคม -  2 กุมภาพันธ์ 2567 คาดจะมีผู้เข้าร่วมประชุมราว 350 คน จาก 19 ประเทศสมาชิก

โดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับสมาคมเครือข่ายไทยเพื่อการศึกษาวิจัย (ThaiREN) เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Asia-Pacific Advance Network (APAN) ครั้งที่ 57 (57th APAN Meeting) ในระหว่างวันที่ 29 มกราคม -  2 กุมภาพันธ์ 2567 ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพมหานคร 

สำหรับ Asia-Pacific Advanced Network (APAN) เป็นองค์กรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีสมาชิก 38 หน่วยงาน จาก 19 ประเทศทั่วโลก เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ระบบสื่อสารเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อนำไปพัฒนาการศึกษาและวิจัยของแต่ละประเทศ 

นอกจากนี้ ยังเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาแห่งชาติ (NRENs) ทั่วภูมิภาค ครอบคลุมประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก และประเทศสมาชิกสามารถติดต่อสื่อสารให้บริการการเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและนักวิจัยรุ่นเยาว์ใน APAN และชุมชนที่เกี่ยวข้องนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยีเครือข่าย (Network technology), วิศวกรรมเครือข่าย (Network engineering), การวัดเครือข่าย (Network measurement), เทคโนโลยีแอปพลิเคชัน (Application technology), เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication technology), สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network architecture) ความเป็นสากลและการแปลเป็นภาษาท้องถิ่น เป็นต้น

ทั้งนี้ การประชุม APAN จะจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ขณะที่การประชุมครั้งที่ 57 (57th APAN Meeting) ทางคณะกรรมการ APAN เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการระหว่างประเทศของกลุ่มสมาชิกเครือข่าย ซึ่งนับเป็นครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพการประชุม โดยในครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด 'Empowering Global Network Alliance for Climate Resilience' ระหว่างวันที่ 29 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ จะมีผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการฯ จำนวน 350 คน ประกอบด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมจากต่างประเทศ 100 คน ผู้เข้าร่วมประชุมจากมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน 150 คน และผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นสมาชิก APAN 100 คน 

โดยตลอดระยะเวลา 5 วันของการประชุมดังกล่าว จะเป็นเวทีในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยไทย ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และประสบการณ์ต่างๆ กับนักวิจัยหรือผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาและวิจัยของประเทศในอนาคต อีกทั้ง จะช่วยให้นักวิจัยได้เพิ่มพูนความรู้และทักษะ เพื่อนำไปพัฒนาการศึกษาและวิจัยของหน่วยงาน เนื่องจากกิจกรรมนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมไม่เพียงแต่แบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอันมีค่าของตนเท่านั้น แต่ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีเครือข่ายร่วมกันและสำรวจโซลูชันเชิงสร้างสรรค์ที่ปรับให้เหมาะกับความต้องการของเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาอีกด้วย 

ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.apan57.apan.net และ Facebook Page : APAN Thailand

‘นายกฯ’ สั่งยกระดับ ‘ภาษาอังกฤษ’ ในระดับอุดมศึกษา สร้างความพร้อมด้าน ‘วิชาการ-วิชาชีพ-ทักษะสื่อสาร’ ยิ่งขึ้น

(25 ม.ค. 67) นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากข้อสั่งการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พ.ย 66 ให้หน่วยงานภาครัฐเร่งจัดหาโครงการ หรือมาตรการต่าง ๆ ด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษอย่างเร่งด่วน ทางกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ออกประกาศเรื่องนโยบายการยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2567 เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้ดีขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

โดยกำหนดเป้าหมาย พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้ รวมถึงกำหนดให้นักศึกษาทุกคน สอบวัดความรู้และทักษะภาษาอังกฤษก่อนสำเร็จการศึกษา ตามแบบทดสอบที่สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาขึ้นหรือแบบทดสอบตามมาตรฐานสากลอื่น ๆ โดยเทียบเคียงผลกับมาตรฐานสากลของสหภาพยุโรปที่ใช้วัดระดับความสามารถทางภาษาในด้านการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูด (Common European Framework of Reference for Languages: CEFR)

นายชัย กล่าวว่า กระทรวง อว. ได้ขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานตามประกาศดังกล่าว โดยกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติตามแนวทางกำหนดนโยบายและเป้าหมายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิต นักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อม ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษในระดับที่ใช้งานได้ และพิจารณาจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ รวมทั้งจัดทําแผนเพื่อดําเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย โดยมีตัวชี้วัดและมีการประเมินผลที่ชัดเจน และจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร จัดสภาพแวดล้อมทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนที่ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ

พร้อมทั้งจัดสื่อการเรียนการสอนรูปแบบเอกสารหรือสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสให้นิสิตนักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษได้ด้วยตนเอง รวมถึงตั้งแนวทางการประเมิน โดยการสอบวัดความรู้และทักษะภาษาอังกฤษก่อนสําเร็จการศึกษา ตามแบบทดสอบที่สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาขึ้น หรือ แบบทดสอบตามมาตรฐานสากลอื่น ๆ โดยกําหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะภาษาอังกฤษ เทียบเคียงผลกับเกณฑ์ CEFR ของแต่ละบุคคล ตามหลักดังนี้ 1.ระดับอนุปริญญา ในระดับเกณฑ์ตั้งแต่ B1 ขึ้นไป 2. ระดับปริญญาตรี ในระดับเกณฑ์ตั้งแต่ B2 ขึ้นไป และ 3. ระดับบัณฑิตศึกษา ในระดับเกณฑ์ตั้งแต่ C1 ขึ้นไป

“ด้วยการกำหนดนโยบายแบบมุ่งยกระดับทุกด้าน นายกรัฐมนตรีจึงเร่งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลไทยให้มีความสามารถเท่าทัน เท่าเทียมการตลาดแรงงาน เร่งพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษาให้ได้ตามมาตรฐานสากล เพื่อความพร้อมของนักเรียน นักศึกษา เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติ ช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถ ตลอดจนยกระดับอาชีพ ให้เท่าทันสอดคล้องกับนโยบายของประเทศด้านการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ภาคการศึกษาวิจัยต่าง ๆ” นายชัย กล่าว

‘ดร.เอ้’ ชี้!! ‘คนเก่ง’ ต้องหมั่นเรียนรู้-ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันได้

(23 ม.ค. 67) ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ 'ดร.เอ้' อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) อดีตนายกสภาวิศวกร และอดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ได้โพสต์คลิปวิดีโอ ช่วงหนึ่งของรายการ ‘ป๋าเต็ดทอล์ก’ เมื่อวันที่ 13 ม.ค.66 ในหัวข้อ ‘คนเก่ง’ และ ‘คนดี’ คือคนแบบไหน? โดย ดร.เอ้ ได้แชร์มุมมองเอาไว้ว่า…

“หนึ่ง เป็นคนที่ ‘เรียนรู้’ ซึ่งคนที่เก่งแล้วไม่เรียนรู้ ไม่ใช่คนเก่งในวันนี้แล้วล่ะ แต่คุณเป็นคนเก่งของเมื่อวาน และสองต้องเป็นคนที่ ‘ทําได้’ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนเรียนเก่ง ไม่ใช่คนเก่ง เพราะฉะนั้นสองอย่างนี้ต้องเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดและต้องทํางานเป็นชิ้นเป็นอัน อันนี้ถึงจะเรียกว่า ‘คนเก่ง’

ถัดมา ดร.เอ้ ได้อธิบายเพิ่มเติมสำหรับคำว่า ‘คนดี’ เขาวัดกันอย่างไรว่า “อันนี้จะยากกว่าคนเก่ง จริงๆ บางทีมีคนมาให้ตังค์เราก็คิดว่าคนดีแล้ว บางทีเขาอาจไปปล้นมาก็ได้…ถ้าสําหรับผม ‘คนดี’ ต้องคิดถึงคนอื่นมากกว่าตัวเอง ต้องเป็นคนที่เสียสละ แล้วก็อยู่ในทํานองคลองธรรม ผมว่าถึงจะเป็นคนดี…”

‘รร.สตรีภูเก็ต’ เปิดเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียน ปี 67 ใช้ระบบแบบ ‘สัดส่วน’ เปิดโอกาสให้ทุกพรรคส่งสมาชิกทำงาน

(23 ม.ค. 67) จากช่องติ๊กต็อก SPK’ SAPHA66 โพสต์คลิปวิดีโอเกี่ยวกับ การเลือกตั้งคณะกรรมการสภานักเรียนประจำปี 2567 ของ ‘โรงเรียนสตรีภูเก็ต’ ซึ่งจะมีการเลือกตั้งโดยใช้ระบบแบบ ‘สัดส่วน’ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

- พรรคที่ได้คะแนนโหวตลำดับที่ 1️ จะมีสิทธิ์ส่งสมาชิกตามบัญชีรายชื่อ 50% หรือ 15 คน
- พรรคที่ได้คะแนนโหวตลำดับที่ 2️ จะมีสิทธิ์ส่งสมาชิกตามบัญชีรายชื่อ 30% หรือ 9 คน
- พรรคที่ได้คะแนนโหวตลำดับที่ 3️ จะมีสิทธิ์ส่งสมาชิกตามบัญชีรายชื่อ 20% หรือ 6 คน

สําหรับบัญชีรายชื่อ จะให้น้องๆ ผู้ลงสมัครแต่ละพรรคจัดลําดับกันมาเอง จากนั้นสมาชิกทุกคนจากถูกสัมภาษณ์จาก คุณครูที่ปรึกษาสภานักเรียน, รุ่นพี่สภานักเรียน และผู้บริหารโรงเรียนสตรีภูเก็ต แล้วจึงมีการจัดลำดับบัญชีรายชื่ออีกครั้ง

ซึ่งการเลือกตั้งจะมีขึ้นในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 นี้ ขอให้ทุกคนใช้สิทธิที่มีให้คุ้มค่าที่สุด เพราะทุกเสียงมีค่าสำหรับทุกคน

‘กองทัพเรือ’ เปิดรับสมัครพลเรือน อายุ 16-18 ปี เข้าสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ปี 2567

(22 ม.ค. 67) เพจเฟซบุ๊ก ‘โรงเรียนนายเรือ RTNA’ โพสต์ข้อความระบุว่า…

“โรงเรียนนายเรือเปิดรับสมัครบุคคลพลเรือนสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพเรือ เป็นชายไทยอายุตั้งแต่ 16 ปี และไม่เกิน 18 ปี สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 หรือเทียบเท่า 

โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่ 18 มกราคม - 29 กุมภาพันธ์ 2567 สามารถสมัครทาง Internet เพียงช่องทางเดียว ที่เว็บไซต์โรงเรียนนายเรือ http://www.admission-rtna.net หรือ http://www.rtna.ac.th และติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-475-3995, 02-475-7435 ทุกวันราชการ

หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/profile.php?id=100093815418258&mibextid=ZbWKwL

‘ก.พ.’ เปิดชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมิน ‘ทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์’ ปี 67 ชิงทุนระดับ ม.ปลาย ศึกษาต่อปริญญาตรี ที่ต่างประเทศ

เมื่อวานนี้ (19 ม.ค. 67) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ประกาศคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคล เพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ

เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเขารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ประจำปี 2567 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

ตามที่ได้มีประกาศสำนักงาน ก.พ. ลงวันที่ 22 กันยายน 2566 เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขัน เพื่อรับทุนวิวัฒนไชยานุสรณ์ ประจำปี 2567 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) และได้ดำเนินการสอบข้อเขียนไปแล้วนั้น

บัดนี้ คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ได้ประมวลผลการสอบข้อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเขารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าว ดังต่อไปนี้

>> หน่วยที่ 674200001 ไปศึกษาสาขาวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ (Economics) หรือ การเงิน (Finance) ตามสถานศึกษาที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

- ระดับปริญญาตรี ณ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี สมาพันธรัฐสวิส สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี หรือเครือรัฐออสเตรเลีย จำนวน 2 ทุน

>> เลขประจำตัวสอบ ชื่อ - นามสกุล
671200003 นายพัสกร รชตะวิวรรธน์ 
671200015 นายโชติพัฒน์ ล่ำซำ 
671200018 นายเจนกิจ ภักดีเตล็บ 
671200019 นายสิรวิทย เฮงสุวนิช 
671200047 นางสาวณิชกานต์ ปุณณะหิตานนท์ 
671200075 นายอธิปพัฒน์ เอี่ยมผ่องใส 
671200133 นายภัทนันทน์ วัฒนชีวโกศล 
671200141 นายปุณณวิช เด่นอริยะกูล 
671200145 นายวชิรวิทย์ อังคทะวานิช 
671200311 นายภาคิน ตีรวัฒนประภา

** หมายเหตุ ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจพิจารณาให้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกได้ หากมีผลการเรียนในระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับดี ทั้งนี้จะกำหนดให้ศึกษาในสาขาวิชาเดิม หรือสาขาวิชาอื่น โดยจะให้ศึกษาต่อเนื่องหรือกลับมาทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนระยะหนึ่ง และจะกำหนดให้ศึกษาในสถานศึกษาและประเทศใดนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ ขอให้ผู้มีสิทธิเขารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าวข้างต้น ตรวจดูรายละเอียด วัน เวลาและสถานที่ประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนได้ทางเว็บไซต์ https://www.ocsc.go.th/ และ http://scholar2.ocsc.go.th

ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567

‘ก.พ.’ ประกาศรายผู้มีสิทธิ์เข้ารับการประเมิน ‘ทุนรัฐบาล’ ปี 67 ชิงทุนระดับ ม.ปลาย ศึกษาต่อปริญญาตรี สหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้ (19 ม.ค. 67) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ประกาศคณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคล เพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ

เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนรัฐบาลตามความต้องการของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2566 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย)

ตามที่ได้มีประกาศสำนักงาน ก.พ. ลงวันที่ 22 กันยายน 2566 เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับ ทุนรัฐบาลตามความต้องการของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2566 (ทุนระดับมัธยม ศึกษาตอนปลาย) และได้ดำเนินการสอบข้อเขียนไปแล้วนั้น 

บัดนี้ คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวง และทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ได้ประมวลผลการสอบข้อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเขารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าว ดังต่อไปนี้ 

>> หน่วยที่ 660190401 ตามความต้องการของ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปศึกษาในสาขา สังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์หรือสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา หรือสาขาวิชาด้านพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเชิงพื้นที่หรือพัฒนศึกษา (Development Studies)

- ระดับปริญญาตรี ณ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือประเทศที่ ศอ.บต. เห็นชอบ จำนวน 1 ทุน

>> เลขประจำตัวสอบ ชื่อ - นามสกุล
671200063 นางสาวกนกลักษณ์ เนาวสินธ์

ทั้งนี้ ขอให้ผู้มีสิทธิเขารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าวข้างต้น ตรวจดูรายละเอียด วัน เวลาและสถานที่ประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนได้ทางเว็บไซต์ https://www.ocsc.go.th/ และ http://scholar2.ocsc.go.th

ประกาศ ณ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567

‘ก.พ.’ เผยรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับประเมินความเหมาะสม รับทุน ก.ต่างประเทศ ศึกษา ‘ป.ตรี-โท’ ในต่างแดน

(19 ม.ค. 67) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้กระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี 2567 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) ระบุว่า…

ตามที่ได้มีประกาศสำนักงาน ก.พ. ลงวันที่ 22 กันยายน 2566 เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลที่จัดสรรให้กระทรวงการต่างประเทศ ประจำปี 2567 (ทุนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย) และได้ดำเนินการสอบข้อเขียนไปแล้ว นั้น

บัดนี้ คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ได้ประมวลผลการสอบข้อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าว
ดังต่อไปนี้

หน่วยที่ 670510401 ไปศึกษาในสาขาวิชา Middle East Studies / International Relations / 
International Economics

>>ระดับปริญญาตรี ณ ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน / สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ / สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ / ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย 
>>ระดับปริญญาโท ณ / สหราชอาณาจักร จำนวน 3 ทุน

-671200032 นางสาวมัตถณัฏฐ์ มหาชัยพงศ์กุล
-671200204 นางสาวพิมพ์เนติ ไพบูลย์วงค์
-671200225 นางสาวชนารดี แสวงศรี
-671200303 นางสาวกรณัฐ ภวัตธนยา
-671200320 นายธนวรรธน์ เกริกกวิน
-671200362 นางสาวมิรันดา ศิริตรัย
-671200365 นางสาวปิ่นมนัส จรรยงค์
-671200382 นายชยพล ศรีสุโข
-671200412 นางสาวธารน้ำ เทนสิทธิ์

หน่วยที่ 670510402 ไปศึกษาในสาขาวิชา Chinese Studies/ International Relations/
International Economics
>>ระดับปริญญาตรี ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน
>>ระดับปริญญาโท ณ สหรัฐอเมริกา/ สหราชอาณาจักร/ เครือรัฐออสเตรเลีย จำนวน 2 ทุน

-671200005 นางสาวโสภิภาส์ ศุภมิตร ไล
-671200048 นายภาวิช หมากผิน
-671200103 นางสาวปานระวี จันทริมา
-671200174 นายเตวิช สมากุล
-671200440 นายภคภาส อัศวศิริวิลาศ
-671200451 นายธีธัช ทิพย์โสดา

ทั้งนี้ ขอให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าวข้างต้น ตรวจดูรายละเอียด วัน เวลาและสถานที่ประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนได้ทาง Website
http://www.ocsc.go.th และ http://scholar2.ocsc.go.th

‘สำนักงาน ก.พ.’ ประกาศรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิ์ เข้ารับประเมินความเหมาะสม รับทุนเล่าเรียนหลวง 2567

(19 ม.ค. 67) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2567 ระบุว่า…

ตามที่ได้มีประกาศสำนักงาน ก.พ. ลงวันที่ 22 กันยายน 2566 เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวง ประจำปี 2567 และได้ดำเนินการสอบข้อเขียนไปแล้ว นั้น

บัดนี้ คณะกรรมการดำเนินการสอบแข่งขันและคัดเลือกบุคคลเพื่อรับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนรัฐบาล ตามความต้องการของกระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐ ได้ประมวลผลการสอบข้อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าว ดังต่อไปนี้

หน่วยที่ 670120101 จำนวน 5 ทุน
-671200012 นายตนุภัทร ตระกูลธงชัย
-671200015 นายโชติพัฒน์ ล่ำซำ
-671200018 นายเจนกิจ ภักดีเตล็บ
-671200076 นายอาชวิณ กิตติรัตนไพบูลย์
-671200091 นายชยุต วงศ์วิชยาภรณ์
-671200170 นายทัพพสาร สุขสุธรรมวงศ์
-671200246 นายยศวิน จงศรีวัฒนพร

หน่วยที่ 670120102 จำนวน 2 ทุน
-671200029 นายธณัชชา สุวะโจ
-671200174 นายเตวิช สมากุล
-671200231 นางสาวนิสรา สุขประดิษฐ์
-671200451 นายธีธัช ทิพย์โสดา

หน่วยที่ 670120103 จำนวน 2 ทุน
-671200019 นายสิรวิทย เฮงสุวนิช
-671200047 นางสาวณิชกานต์ ปุณณะหิตานนท์
-671200075 นายอธิปพัฒน์ เอี่ยมผ่องใส
-671200151 นายนิธิวิทย์ ศิริมาลัยสุวรรณ

ทั้งนี้ ขอให้ผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนดังกล่าวข้างต้นตรวจดูรายละเอียด วัน เวลาและสถานที่ประเมินความเหมาะสมของบุคคลเพื่อรับทุนได้ทาง Website
http://www.ocsc.go.th และ http://scholar2.ocsc.go.th

สิทธิ์ให้ทุน ‘นักเรียนไทย’ มาเรียนต่อ ‘จีน’ อาจน้อยลง หลังพบเด็กไทยโกงข้อสอบ HSK โดยมีผู้คุมสอบช่วย

เมื่อวานนี้ (17 ม.ค.67) ผู้ใช้ติ๊กต็อก mikeawzmeaw หรือ อดีตนักเรียนไทยทุนจีน ได้โพสต์คลิปวิดีโอหัวข้อ ‘สิทธิ์ให้ทุนนักเรียนน้อยลง เพราะโกงข้อสอบ’ ซึ่งในคลิประบุว่า…

“สิทธิ์ให้ทุนนักเรียนไทยมาเรียนต่อที่ประเทศจีนอาจจะลดน้อยลง เพราะว่านักเรียนไทยทําสิ่งนี้…” ซึ่งอันนี้คือการสอบครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 มกราคมที่ผ่านมา มีเด็ก ‘โกงข้อสอบ’ โดยมีผู้คุมสอบ HSK5 ช่วยกันลากเมาส์ในพาร์ททั้งกาและเขียน ซึ่งตอนนี้กําลังอยู่ในส่วนของการตรวจสอบข้อมูลกันอยู่ว่าความเป็นไปเป็นมามันเป็นยังไงบ้าง

ดังนั้น จะบอกได้ว่าตอนนี้ทุนที่เขาให้นักเรียนไทยไปเรียนต่อที่ประเทศจีนมันลดน้อยลงไปอยู่แล้ว และมีข่าวนี้อีก ถ้าให้ภาษาบ้าน ๆ ก็เรียกได้ว่างามหน้ามาก ๆ ซึ่งเอาจริง ๆ ไม่คิดว่าเด็กไทยจะทำเรื่องแบบนี้ จึงอยากจะขอย้ำขอเตือนในฐานะที่เป็นหนึ่งคนที่เคยได้ทุนในการเรียนต่อที่ประเทศจีน ทุนนี้เขาให้เปล่าแล้วก็ให้ฟรีด้วย ทุกคนไม่ต้องใช้เงินทุนคืน แต่สิ่งที่คุณทําอยู่มันไม่ใช่แค่ส่งผลต่อตัวเอง แต่มันส่งถึงระดับประเทศระดับชาติ แล้วชื่อของคุณมันก็จะถูกแบล็คลิสต์ไป และมีโอกาสที่จะไม่ได้ใช้วีซ่าเข้าประเทศจีนอีกต่อไป ดังนั้น เพื่อน ๆ คนไหนที่คิดจะทําเรื่องนี้อยู่ ขอแนะนําว่าอย่าทําเด็ดขาด…”

หมายเหตุ : (HSK หรือ Hanyu Shuiping Kaoshi เป็นการสอบวัดระดับความสามารถภาษาจีนที่จัดขึ้นโดย Chinese Test International (CTI) ซึ่งเป็นองค์กรที่วิจัยพัฒนาข้อสอบวัดระดับภาษาจีนของชาวต่างชาติมาอย่างยาวนาน)


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top