Thursday, 25 April 2024
THESTUDYTIMES

นายณรงค์ไชย  ปัญญไพโรจน์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction  Program : T-VER) กับ  ดร.พฤกษ์  อักกะรังสี  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ  คุณอานนท์ ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด

.

การลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของบริษัท ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV  ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือเพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER  ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืน

อีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ช่วยโลกกับการ "ต่ออายุหลอดพลาสติก" ที่ต่อยอดจากการนำ "หลอด" ที่ใช้แล้วไปผลิตเป็น "หมอนไส้หลอด" เพื่อผู้ป่วยแผลกดทับของ

"มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน" และ "ศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม" ไปสู่ความร่วมมือกับ "สถาบันนวัตกรรม ปตท." นำมา Upcycling กลายเป็นสินค้าฝีมือชุมชน เพื่อหวังกระจายรายได้ และช่วยลดขยะหลอดได้ถึง 646 กก.

"หลอดพลาสติก" ขยะชิ้นเล็กที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ไปทั่วโลก จากการใช้งานราว 500 ล้านชิ้นต่อวันด้วยเวลาอันสั้นก่อนกลายเป็นของเสียที่ถูกทิ้งและยังย่อยสลายช้ากว่า 200-300 ปี นั่นจึงทำให้ "มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน" จับมือกับ "สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)" และ "ศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์" ร่วมกันคิดหาทางยืดเวลาการใช้งานของ "หลอด" จนกลายเป็น "โครงการต่ออายุหลอดพลาสติก" นำหลอดที่ใช้แล้วมาปรับปรุงคุณสมบัติให้เกิดความยืดหยุ่นในรูปแบบวัสดุใหม่ (Upcycling) และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัสดุทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ

ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากโครงการที่ "มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน" ได้รณรงค์นำขยะหลอดพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักและช่วยลดปัญหา ไปสู่การเปิดรับบริจาคหลอดเพื่อจัดทำหมอนไส้หลอดในการป้องกันแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง ตั้งแต่ปี 2563 จนสามารถลดขยะหลอดพลาสติกได้ราว 1,276,000 หลอด หรือ 646 กิโลกรัม และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 93 ต้นเลยทีเดียว

 

ดร.จิระวุฒิ จันเกษม นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. เล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดมาจากปัญหาหมอนไส้หลอดที่ทางมูลนิธิพลังที่ยั่งยืนได้ผลิตไปก่อนหน้านี้เสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้อีก จึงได้มีการคุยกันและทางสถาบันฯ ซึ่งเป็นหน่วยที่ทำการวิจัยและพัฒนาก็เล็งเห็นถึงความตั้งใจของผู้ที่อยากบริจาคหลอดมาเพื่อลดขยะและอยากทำให้เกิดประโยชน์ จึงเห็นว่ามันน่าจะทำประโยชน์ได้ต่อจนนำเอาหลอดเหล่านั้นมาพัฒนาให้กลายเป็นวัตถุดิบอื่นๆ

"ในส่วนของงานวิจัยมันคือการเปลี่ยนของเสียที่มองว่าเป็นวัตถุดิบ พยายามทำให้เกิดเป็นวัสดุหรือของที่เอาไปใช้ประโยชน์ต่อ ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นแค่แผ่น หรือเส้นพลาสติกธรรมดามันยากมากที่คนจะเอากลับไปใช้ สิ่งที่ขาดอยู่ก็คือการออกแบบและเปลี่ยนให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์จริงๆ เพื่อให้สามารถที่จะเอาไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องมีคนที่ช่วยพัฒนา" ดร.จิระวุฒิเล่าถึงความร่วมมือกับศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. ยังมองถึงปัญหาของขยะหลอดพลาสติกที่เป็นเพียงขยะชิ้นเล็ก หลอด 1 ชิ้น มีขนาดแค่ไม่กี่กรัม หากจะนำไปรีไซเคิลจะไม่คุ้ม และยังยากในกระบวนการ ทั้งการแยก ทำความสะอาด และรวบรวม จึงกลายเป็นของเสียตัวหนึ่งที่ถูกละเลยจนเกิดผลกระทบต่อสัตว์ในทะเลและพื้นดินเป็นวงกว้าง

"เราไม่ต้องมาผลิตพวกนี้ก็ได้นะ ถ้าคุณใช้หลอดแล้วล้างเก็บไว้ใช้อีกเพราะการแก้ปัญหาขยะจริงๆ มันควรจะเป็นการลดใช้ มากกว่าเปลี่ยนรูป แต่ยังไงก็ตามเราก็ไม่มีทางที่จะลดจนหมดไปได้ อันนี้เราเสนอทางเลือกเสริมขึ้นมาว่า ในขณะที่ถ้าทุกคนจะยังรณรงค์ลดขยะ การใช้ซ้ำ แต่มันก็ยังมี เราก็เลยเอาอันนี้มาเปลี่ยนมาเป็นวัตถุดิบใหม่แทนการทิ้งเป็นขยะไป แต่ก็ต้องยอมรับว่าอายุการใช้งานอาจไม่เท่ากับพลาสติกใหม่"

ส่วนกระบวนการแปรรูปนั้น ดร.จิระวุฒิเล่าว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกทุกตัวเริ่มต้นก็ต้องทำให้เกิดเป็นเม็ดพลาสติกก่อนนำไปสู่กระบวนการขึ้นรูป หลอดก็เช่นกัน ระยะเวลาการผลิตมันไม่ใช่ 5 นาที แต่เวลาเราใช้งานเราดูดน้ำเสร็จก็ทิ้งแล้ว อายุการใช้งานมันสั้นมาก ซึ่งในส่วนของทีมพัฒนาและวิจัย รับผิดชอบในการเปลี่ยนหลอดให้เป็นวัสดุ ทั้งแผ่นพลาสติกขนาดบาง และขนาดหนา รวมทั้งวัสดุที่เป็นเส้น เพื่อให้ฝ่ายออกแบบลองพิจารณาว่าชิ้นนี้มีความเหมาะสม น่าสนใจพอที่จะไปทำเป็นผลิตภัณฑ์แล้วหรือยัง ถ้ามีจุดไหน เช่น แข็ง-นิ่มมากเกินไป ก็จะนำกลับมาพัฒนาต่อในงานวิจัย

 

นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้ร่วมมือกับหลายชุมชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา และนราธิวาส ในการผลิตเป็นงานฝีมือต่างๆ ซึ่งทางสถาบันนวัตกรรม ปตท.ได้ส่งวัสดุไปยังทีมออกแบบเพื่อให้สื่อสารกับชุมชนต่างๆ เพื่อดูผลก่อนส่งกลับมาให้ทีมวิจัยได้ทำการบ้านเพื่อพัฒนาต่อ โดย ดร.จิระวุฒิอธิบายถึงความร่วมมือนี้ว่า เรื่องขยะเป็นเรื่องใกล้ตัว ถ้าชาวบ้านเห็นถึงปัญหามันอาจจะเกิดการรณรงค์ในเรื่องของการแยกและการจัดการขยะ นอกจากนี้ยังอยากให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่หลายๆ ชุมชนด้วย มันก็จะเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดได้

"เวลาเราทำพวกนี้คนจะถามว่าทำไมมันแพง ก็อย่าลืมว่า หลอด 1 อันมีขนาด 0.2 กรัม กว่าจะรวบรวม มาทำความสะอาด หาวิธีแปลงกลับมาเป็นเส้นเพื่อที่จะเอากลับมาสาน มันมีขั้นตอนมีกระบวนการที่บางครั้งคนอาจจะลืมไป คิดแค่ว่ามันเป็นขยะ"

 

ด้าน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ร่วมมือกับมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน มาตั้งแต่ต้นของการทำหมอนไส้หลอดในการป้องกันแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง จนมาถึงโครงการนี้ที่ได้ร่วมงานกับทางสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็เล่าถึงโจทย์ที่ท้าทายจากการแปลงหลอดเป็นวัตถุดิบใหม่ที่ชุมชนทำได้ว่า ในช่วงต้นได้ให้ลองทำเทคนิคทั้ง การตัด การป่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ การรีดเอง การเอาแผ่นวัสดุมาซ้อนทับกันแล้วอัดขึ้นรูปใหม่ (Laminate)

"พอทำไปสักพักแล้ววัสดุที่ทำขึ้นมามันเย็บยาก ไม่แข็งแรง แม้ทำได้แต่การยืดอายุมันก็ได้อีกแค่นิดเดียว จึงเริ่มคิดว่า จริงๆ แล้วเราควรทำอะไรที่ไม่ให้ชุมชนทำ 100% เลยได้ไหม จากความร่วมมือของมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน กับสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วทางศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเป็นตัวเชื่อมในการออกแบบชิ้นงานขึ้นมา"

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการแปลงพลาสติกที่มาจากการรีดด้วยชุมชนแล้วเอาไปเป็นวัสดุที่แข็งแรงขึ้นแล้วเอาไปทำทั้งเส้น และ แผ่นหลายรูปแบบ โดย รศ.ดร.สิงห์เล่าว่า ได้นำไปทดลองที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อหาชุมชนที่ทำได้ มีการศึกษากันราว 2-3 ปี มีการปรับขนาดเส้นพลาสติก ความนุ่ม เหนียว เบา มาเรื่อยๆ แล้วแต่ที่ทางทีมวิจัยจะลองทดสอบลงมา รวมถึงเรื่องสี และการทำหวายเทียม ก็มีการทดลองหลายอย่างให้ชุมชนได้เห็นด้วยกัน


"เรามีการปรับการออกแบบให้เข้ากับชุมชนตลอดเวลา เพราะบางที่ถึงเขาจะถนัดสาน แต่พอเปลี่ยนรูปแบบเส้นพลาสติกแล้วเขาควบคุมไม่ได้ให้แบบที่เขาเคยถนัด เราจึงเปลี่ยนวิธีมาใช้ชุมชนที่ถนัดการสานหลายๆ ชุมชนเพื่อให้แต่ละแห่งดูว่ามีที่ใดจะค้นพบเทคนิคที่น่าสนใจบ้าง เพื่อมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป"

 

ในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ อธิบายว่า เดิมชุมชนนั้นๆ ทำกระเป๋าอยู่แล้ว จึงเริ่มให้นำไปสานเป็นกระเป๋าก่อนเพื่อดูว่าถ้าเปลี่ยนวัสดุแล้วยังทำได้สวย มีคุณภาพได้อยู่หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็มีทีมออกแบบสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับของตกแต่งบ้านขึ้นมา เช่น ตะกร้าขนาดใหญ่ กระถางต้นไม้ ที่สวมแจกัน เพื่อให้ชุมชนเห็นว่าจากกระเป๋ามันแปลงเป็นอะไรได้บ้างในเทคนิคเดียวกัน

โดย รศ.ดร.สิงห์บอกว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการนำผลงานเหล่านั้นมาขาย เพราะเพิ่งจะปิดโครงการในการฝึกฝนชุมชน ซึ่งกำลังปรึกษากันว่าจะต่อยอดทำอะไรให้กลายเป็นรายได้เสริม แต่ตอนนี้ชุมชนต่างๆ เริ่มคุ้นกับการใช้งานเส้นพลาสติกแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะมีการออกแบบจริงๆ และน่าจะมีดีไซเนอร์หลายคนมาร่วมงานมากขึ้น ส่วนในแง่ของราคานั้น มันเป็นช่วงต้น จึงยังไม่ได้สรุปกัน แต่เท่าที่พบมาด้วยความที่ทุกอย่างเป็นต้นแบบหมด ราคาจะสูงกว่าปกติอยู่ จึงคาดหวังว่าเมื่อเขาคุ้นกับเส้นเหล่านี้ในปีที่ 2-3 ราคาน่าจะเป็นปกติเหมือนผลิตภัณฑ์ทั่วไป

 

รวมไปถึงกลุ่มผู้ซื้อที่สนใจสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นวัยรุ่น หรือคนทำงาน แม้ว่าจะสนใจในเรื่องราวที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การเก็บหลอดล้างและยอมเสียเงินส่งมาให้ชุมชนไปผลิตต่อ แต่ปัจจุบันหน้าตาของผลิตภัณฑ์มันยังคล้ายกับของเดิมอยู่ ซึ่ง หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ก็ยอมรับว่าถ้าเป็นเช่นนี้ก็อาจจะยังไม่ถึงเวลาที่จะเปิดตลาดออกมาขายจำนวนมาก
 

"ต้องเข้าใจก่อนว่า เราต้องการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ซึ่งถ้าจะไปให้เร็วกว่านี้ เราเอาดีไซเนอร์, SMEs มาเข้าสู่กระบวนการใช้เศษวัสดุ ใช้เส้นพลาสติกแบบนี้ ก็จะเห็นผลงานที่เป็นมืออาชีพและสวยงามอย่างรวดเร็วมาก แต่ด้วยกระบวนการเราก็จะเน้นให้ชุมชนทำได้เป็นหลักแล้วค่อยเรียนรู้จักวัสดุ เปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนวิธีการ ซึ่งต้องใช้เวลา"

 

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) ในฐานะประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรรมการ

เครือข่ายฯ (Council Board) ประจำปี 2565 โดยมี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (กลาง) นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ขวา) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ และผู้บริหารกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมการประชุม เพื่อสรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการฯ ได้หารือถึงแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ TCNN ในการเป็น “เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero” อีกด้วย

นาซา (NASA) เตรียมใช้ “หุ่นยนต์ผ่าตัด” ชื่อว่า “MIRA” บนดวงจันทร์ในสถานีอวกาศปี 2024 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาในพื้นที่ห่างไกล

แม้ว่านักบินอวกาศจะเตรียมตัวเป็นอย่างดีก่อนออกนอกโลก ทั้งน้ำ อาหาร และอุปกรณ์หยูกยาต่าง ๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเขายังคงเป็นมนุษย์ที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย ยามเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นผู้บุกเบิกเหล่านี้อาจต้องการการรักษาพยาบาล แต่บางเรื่องก็ทำได้ยากเพราะเราไม่มีโรงพยาบาลในอวกาศ

 

เราเคยเห็นในภาพยนตร์ Sci-Fi ที่ใช้ AI หรือหุ่นยนต์ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้ารักษานักบินอวกาศ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เนื่องจาก นาซา (NASA) เพิ่งเซ็นสัญญากับบริษัทสตาร์ตอัปที่ผลิต “หุ่นยนต์ผ่าตัด” เพื่อจะเอาหุ่นยนต์ผ่าตัดไปประจำภารกิจระยะยาวที่ดวงจันทร์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ขั้นตอนการพัฒนาและจะเริ่มใช้ในปี 2024 แทนบุคคลากรทางแพทย์ที่เป็น “มนุษย์” 

 

หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้เป็นของบริษัท Virtual Incision Corporation ชื่อรุ่นว่า “MIRA” ย่อมาจาก Miniaturized In-Vivo Robotic Assistance ซึ่งมีความพิเศษกว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ใช้ในกันหลายปีมานี้ ตรงที่ เจ้า MIRA มีขนาดเล็กกว่าหุ่นยนต์ของบริษัทอื่น ๆ 

 

กล่าวคือ องค์ประกอบของหุ่นยนต์เป็นเพียงแค่แขนชิ้นเล็ก ขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม เหมาะแก่การไปอยู่บนสถานีอวกาศกว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดรุ่นอื่น ๆ ที่ตัวใหญ่และเทอะทะ ไม่เหมาะจะทำงานในที่แคบ 

 

การทำงานของ MIRA จะทำงานจากระยะไกล ผ่านการควบคุมการผ่าตัดของศัลยแพทย์ที่อยู่ในโลก ทางด้านบริษัท Virtual Incision Corporation ยืนยันว่า MIRA ที่กำลังพัฒนาจะไปอยู่บนสถานีอวกาศเป็นแบบอัจฉริยะ ซึ่งสามารถทำหน้าที่ผ่าตัดเองได้แบบไม่ต้องควบคุม เพียงแค่ป้อนคำสั่งก็ทำงานได้เลยดังเช่นในภาพยนตร์ที่เราเห็น 

 

ขณะเดียวกันการสร้าง “หุ่นยนต์ผ่าตัด” ที่สามารถควบคุมระยะไกลได้ในอวกาศนั้นก่อให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นมาว่า 

 

 วันที่ 23 ต.ค 65 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. เปิดเผยว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ชื่นชมผลงานของ “นักเรียนนายร้อยตำรวจ”

ตัวแทนจากชมรมไซเบอร์ จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ Thailand Cyber Top Talent 2022 การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ รายการ Thailand Cyber Top Talent 2022 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซากรุงเทพมหานคร 
.
เมื่อวันที่  22 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีทีมนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน 393 ทีม และมีทีมที่เข้ารอบสุดท้าย 30 ทีม 
.
โฆษก ตร. เผยว่า การแข่งขันแบบ CTF Jeopardy ในรูปแบบ Attack The Virtual World โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลองด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องรอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี 
.
โดยทีมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจผ่านเข้ารอบสุดท้าย 3 ทีม
 “ผลการแข่งขันในระดับอุดมศึกษา หรือ Senior ทีม Rebooster ตัวแทนจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ คว้าแชมป์ประเทศไทย ทำคะแนนได้ 2,100 คะแนน ได้รับโล่รางวัล เหรียญรางวัล และเงินรางวัล 90,000 บาท โดยสมาชิกในทีมประกอบด้วย นรต.ทัศไนย มานิตย์ หรือ ต้น ชั้นปีที่ 3 , 
.
นรต.วรรณกร นุ่นประดิษฐ์ หรือ เอิร์ธ ชั้นปีที่ 3 และ นรต.สุดฤทธิ์ วงษ์สุวรรณ หรือ สุดริด ชั้นปีที่ 2” พล.ต.ต.อาชยน กล่าวต่อว่า ทีม blueberry จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อันดับที่ 2 ทำคะแนนได้ 1,900 คะแนน ทีม RedCheep จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้อันดับที่ 3 ทำคะแนนได้ 1,870 คะแนน ทีม Chicken Field จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อันดับที่ 4 ทำคะแนนได้ 1,590 คะแนน และ ทีม 4ucky จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้อันดับที่ 5 ทำคะแนนได้ 1,380 คะแนน 
.
โดยทีม Rebooster จาก รร.นรต. จะเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2022 หรือ การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ในระดับอาเซียน ที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป
.

บนพื้นที่ 5 ไร่ทางตอนกลางของอังกฤษ แกวิน และ อลิซ มันโร สองสามีภรรยา กำลังช่วยกันทำให้คำว่า การทำธุรกิจแบบยั่งยืนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ก้าวไปอีกระดับ

ด้วยการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ด้วยวิธีค่อยๆ “ดัดต้นไม้” จากต้น แล้วอดทนรอนานเป็นแรมปี กระทั่งต้นไม้นั้นมีรูปทรงตามต้องการ จึงตัดออกมาเพื่อวางจำหน่าย

สองสามีภรรยาคู่นี้มี “ฟาร์มเฟอร์นิเจอร์” อยู่ที่เมืองเดอร์บี้เชียร์ ที่ต้นไม้จำนวนมากกำลังเติบโต รอวันเปลี่ยนไปเป็น เก้าอี้ 250 ตัว, โคมไฟ 100 ดวง และ โต๊ะ 50 ตัว โดยเป็นวิธีผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ แกวิน และ อลิซ ต่างเห็นว่า สามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“แทนที่เราจะปลูกต้นไม้ปล่อยให้โตไปสัก 50 ปี แล้วก็ตัดต้นไม้นำมาเลื่อย มาตัดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ สู้เรามาปลูกต้นไม้แล้วค่อยๆ ดัดทำให้มีรูปทรงตามที่เราต้องการเลยดีกว่า”

แกวิน เล่าว่า ส่วนหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดไอเดียนี้ เริ่มจากตอนเด็กๆ เขาเคยเห็นต้นบอนไซที่มีรูปทรงคล้ายเก้าอี้ ส่วนแรงบันดาลใจอีกอย่างมาจาก เขามีปัญหากระดูกสันหลังคดมาตั้งแต่เกิด ทำให้ตอนเด็กต้องใส่เสื้อเกราะเพื่อดัดกระดูกสันหลังอยู่นานหลายปี

“ทีมแพทย์ พยาบาล ที่ดูแลผมสุดยอดมาก การได้เห็นการทำงานที่เต็มไปด้วยความสามารถ และความมีเมตตาของพวกเขา ทำให้ผมประทับใจมาก แล้วผมก็อยากนำความสามารถของผม บวกกับความห่วงใยที่ผมมีต่อโลก มาทำสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่นี้”
 

แกวิน เล่าว่า เขาเริ่มทดลองปลูกต้นไม้บนที่ดินแปลงเล็กๆ ของเขาในพีกดิสทริกต์ ซึ่งตั้งอยู่ในตอนกลางของอังกฤษ เมื่อปี 2549 แล้วค่อยๆ ฝึกดัดเป็นเก้าอี้ แต่พอแต่งงานกับ อลิซ เมื่อปี 2555 หลังจากนั้น 1 ปีต่อมา ทั้งสองจึงตั้งบริษัท Full Grown เพื่อทำเป็นธุรกิจอย่างเต็มตัว
.
ซึ่งในช่วงแรกๆ แกวิน เล่าว่า ก็เจออุปสรรค เจอความเสียหายไม่น้อย เพราะต้นไม้ที่ปลูกไว้ บางทีก็มีวัวเป็นฝูงเข้ามาเหยียบย่ำ หรือไม่ก็ถูกกระต่ายเข้ามากินบ้าง ระหว่างเรียนรู้ ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

แกวินและภรรยา ก็ค้นพบวิธีที่เวิร์กที่สุดที่จะดัดต้นไม้ โดยไม่ขัดขวางการเจริญเติบโตของมัน ว่า คือการลงมือดัดกิ่งก้านของต้นไม้ หลังจากปล่อยให้กิ่งก้านเหล่านั้นได้เลื้อย หรือชี้ไปในทิศทางตามธรรมชาติของมันก่อน ซึ่งดีกว่าจะไปบังคับ หรือฝืนทิศทางตามธรรมชาติของกิ่งก้านเหล่านั้น

ด้วยความที่กว่าจะได้เก้าอี้สักตัว เฟอร์นิเจอร์สักชิ้น ต้องใช้ทั้งแรงงาน ฝีมือ และเวลา ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นของ Full Grown จึงมีราคาสูง อย่างเช่น เก้าอี้ มีราคาขายตัวละ 10,000 ปอนด์ โคมไฟ ราคาตั้งแต่ 900-2,300 ปอนด์ โต๊ะ ราคาตั้งแต่ 2,500-12,500 ปอนด์

แกวิน เล่าว่า กว่าจะได้เก้าอี้แต่ละตัว ต้องใช้เวลาในการปล่อยให้ต้นไม้เติบโตโดยเฉลี่ยราว 6-9 ปี จากนั้นต้องใช้เวลาอีก 1 ปี เพื่อปล่อยให้แห้ง โดยงานที่ใช้เวลานานที่สุดที่บริษัทเคยรับมาก็คือ งานที่มีกำหนดส่งมอบให้ลูกค้าในปี 2573 เป็นเก้าอี้ที่ลูกค้าสั่งทำเอาไว้นั่ง ในวันที่เกษียณงาน

จากข่าวไฟไหม้ป่าอะเมซอน และประเด็นปัญหาโลกร้อน แกวิน บอกว่า

“คุณรู้ถึงความเสียหายที่พวกเราทำต่อป่า แต่ตอนนี้พวกเราเพิ่งเริ่มเข้าใจมันจริงๆ และวิธีที่เราทำเฟอร์นิเจอร์ของเราก็เป็นวิธีที่ตรงข้าม เพราะเราใช้วิธีแบบโบราณในยุคหิน”

ทั้งนี้ ชาวโรมันโบราณ คนจีน คนญี่ปุ่น ต่างเป็นที่รู้กันดีว่า สามารถดัดต้นไม้เป็นรูปทรงต่างๆ แกวินและอลิซ ตั้งเป้าว่า จะสามารถปลูกต้นไม้ที่สามารถใช้งานได้ภายในปีนี้

ส่วนในระยะยาว พวกเขาอยากจะซื้อฟาร์มอีกสักแห่ง ที่สามารถใช้เป็น ศูนย์กลางทดลอง ที่พวกเขาสามารถเผยแพร่ความรู้ของเขาแก่ผู้อื่น ด้วยการให้คำแนะนำ ปรึกษา
 

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ผลิตน้ำมัน แล้วไม่พอต่อการใช้งานของคนในประเทศ

ราคาน้ำมันที่มีการผันผวนตลอดเวลา ไม่ว่าจะเนื่องด้วย เหตุผลใดก็ตาม ย่อมส่งผลต่อความไม่พอใจของประชาชนมาตลอด และเมื่อไม่พึงพอใจ ก็จะเกิดการเปรียบเทียบ 
ในวิกฤติราคาน้ำมันทุกๆครั้ง ดังที่จะเห็นจนคุ้นตา คือการที่มักมีบางกลุ่ม เปรียบเทียบราคาพลังงานไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะมาเลเซีย

เมื่อไม่นานมานี้ ก็มีกรณีผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปถึงมาเลเซียเพื่อเติมน้ำมันที่นั่น ก่อนจะเปรียบเทียบราคาน้ำมันของไทยกับมาเลเซียลงสื่อโซเชียล ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียสั่งการให้มีการตรวจสอบผู้มาขอรับบริการว่าเป็นพลเมืองมาเลเซียหรือไม่ เนื่องจากราคาน้ำมันของมาเลเซีย ได้รับการชดเชยราคาโดยตรงด้วยภาษีของคนมาเลเซีย

แต่หากมองย้อนกลับไปที่ประเทศลาว จะเห็นว่าประเทศลาวนั้น มีราคาน้ำมันที่สูงกว่าไทยตลอด เนื่องจากว่าลาวนั้น ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงของตนเอง ราคาน้ำมันในลาว จึงเป็นราคาที่เพิ่มค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย เป็นสาเหตุให้มีราคาที่สูงกว่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นเอง

นั่นทำให้คนลาวบางส่วน เข้ามาเติมน้ำมันในประเทศไทย และประเทศไทยก็สั่งห้ามเช่นเดียวกับมาเลเซีย

---

หันกลับมาพิจารณาถึงที่มาของราคาน้ำมัน ประเทศที่มีความสามารถในการขุดเจาะน้ำมันได้เอง และกลั่นน้ำมันได้เอง จะมีราคาน้ำมันสำหรับการใช้ในประเทศที่มีราคาถูกลงมากกว่าประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานทั้งหมด

แต่จะถูกมากน้อยเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ประเทศนั้น ๆ มีปริมาณน้ำมันสำรอง และกำลังการผลิตมากเพียงพอที่จะตอบสนองของคนทั้งประเทศหรือไม่

จากข้อมูลของ Worldometer ระบุว่า ใน พ.ศ. 2559 มาเลเซียมีปริมาณน้ำมันสำรอง 3,600,000,000 บาร์เรล มากเป็นอันดับที่ 28 ของโลก ในขณะที่ประเทศไทยมีเพียง 404,890,000 บาร์เรล อยู่อันดับที่ 50 อีกทั้งมีปริมาณน้อยกว่ามาเลเซียถึง 8.9 เท่า

นอกจากนี้ กำลังการผลิตของมาเลเซียนั้น เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ สำหรับประชากรเพียงแค่ 32 ล้านคน มีน้ำมันเหลือใช้มากถึงวันละ 54,168 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ไทย ทั้ง ๆ ที่ผลิตได้น้อยกว่า แต่กลับมีอัตราการบริโภคที่สูงกว่า จนทำให้กำลังการผลิตต่อวัน น้อยกว่าอัตราการบริโภคมากถึง 770,671 บาร์เรลต่อวันเลยทีเดียว

---
แต่ถึงแม้มาเลเซียจะมีกำลังการผลิตน้ำมันที่ล้นเหลือ แต่มาเลเซียก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันมากถึง 197,489 บาร์เรลต่อวัน และส่งออกน้ำมัน 390,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งนี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ราคาน้ำมันในมาเลเซียเองก็ผันผวนตามราคาน้ำมันของโลกด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ไม่ส่งผลกระทบมากเท่ากับประเทศไทยนั่นเอง

จากรายงานของ Worldometer ระบุว่า มาเลเซียมีน้ำมันสำรอง 0.2% เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำมันสำรองของโลก (1,650,585,140,000 บาร์เรล อ้างอิงข้อมูล พ.ศ. 2559) ในขณะที่ประเทศไทย มีปริมาณน้ำมันสำรองเพียง 0.02345% เพียงเท่านั้น

การที่จะนำประเทศไทยไปเปรียบเทียบกับมาเลเซีย ในเรื่องราคาน้ำมัน และความพยายามที่จะผลักดันให้ประเทศไทย ดำเนินนโยบายราคาน้ำมันแบบมาเลเซียนั้น จึงไม่ต่างอะไรกับการขี่ช้างจับตั๊กแตนเลย

---

การดำเนินนโยบายการบริหารราคาและกำลังการผลิตน้ำมันของประเทศอย่างเหมาะสม เป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าการกดราคาน้ำมันเพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือประเทศเวเนซุเอลา ซึ่งเป็นประเทศที่มีน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลกถึง 299,953,000,000 บาร์เรล ซึ่งมากกว่ามาเลเซียถึง 83 เท่า แต่เนื่องด้วยรัฐบาลเวเนซุเอลาเลือกที่จะผูกขาดการผลิตน้ำมันของประเทศเอาไว้กับรัฐวิสาหกิจเพียงรายเดียว เพื่อส่งเสริมนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอลาอ่อนแอ จนเป็นเหตุให้เศรษฐกิจของประเทศพังทลายลง ในเวลาต่อมา

ในขณะที่ประเทศไทย กลุ่มบริษัทพลังงานไทย อาทิเช่น ปตท. และบางจาก มีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาพลังงานของประเทศ มีการลงทุนในธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน เช่นโรงงานไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายส่งเสริมพัฒนาพลังงานของกระทรวงพลังงาน ทำให้โครงสร้างพลังงานของประเทศไทยนั้น มีความมั่นคงแข็งแรง

โดยสรุปแล้ว ประเทศไทยของเรา ไม่ได้มีแหล่งน้ำมันที่มากเพียงพอต่อความต้องการของประเทศเลย การนำเข้าน้ำมัน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การที่ประเทศไทยของเรา มีกลุ่มธุรกิจพลังงานสัญชาติไทย ทำให้เรามีศักยภาพในการพัฒนาประสิทธิภาพของพลังงานได้ด้วยตัวเอง มีองค์ความรู้เป็นของตัวเอง

พวกเราทุกคนจึงควรจะเข้าใจในสภาพความเป็นจริงด้านพลังงานของประเทศ เพื่อการวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลและกลุ่มบริษัทพลังงานอย่างมีเหตุผล เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างถูกต้อง ตามระบอบประชาธิปไตย

Business Traveller เผย “กรุงเทพฯ” ครองแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิกต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และเข้ามาเป็นอันดับ 3 ในสาขาเมืองธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชียอีกด้วย

Business Traveller สื่อธุรกิจท่องเที่ยวชื่อดัง ประกาศรายชื่อ ผู้ชนะรางวัลด้านการท่องเที่ยวรางวัล Business Traveller Asia-Pacific ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 31 ซึ่งได้รับการโหวตจากผู้อ่าน Business Traveller Asia-Pacific โพลสำรวจเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา โดยผลลัพธ์ที่รวบรวมโดยหน่วยงานวิจัย Business Intelligence

สำหรับในปีนี้ “กรุงเทพฯ” สามารถคว้าอันดับหนึ่ง รางวัล Business Traveller Asia-Pacific Awards 2022 ในสาขา “เมืองท่องเที่ยวพักผ่อนที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก” (Best Leisure City in the Asia-Pacific) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 3 ในสาขา เมืองธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย

 

นอกจากนั้น “การบินไทย” ยังได้รับเลือกเป็นอันดับสามในรายการ “สายการบินยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก” รองจากสิงคโปร์แอร์ไลน์และคาเธ่ย์แปซิฟิค โดยทั้งสามอันดับเป็นสายการบินสามอันดับแรกที่ยังรักษาตำแหน่งไว้ได้คงที่ในปีที่ผ่านมา
 

รวมถึง “โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ” ยังได้รับรางวัลโรงแรมธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และได้รับรางวัลโรงแรมธุรกิจยอดเยี่ยมอันดับสองของโลกอีกด้วย โดยโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับต้น ๆ ของ “โรงแรมธุรกิจที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ” รองลงมาคือแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ในอันดับที่สอง และโรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ ในอันดับสาม

INFLUENCER TRIP BY PTT ก้าวผ่าน….สู่อนาคต

ปตท.กับการขับเคลื่อนประเทศ ก้าวสู่อนาคตด้วยพลังงานทางเลือกใหม่ แก้ปัญหามลภาวะ และให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions)  โดยจัดตั้งกิจกรรม วันที่ 26 ตุลาคม 2565 ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ โดยเรียนเชิญเหล่าบรรดา INFLUENCER มากมายหลายสื่อ มาพบปะภายในงาน พูดคุยจัดการพากันก้าวผ่านสู่อนาคต 

ซึ่งกลุ่ม ปตท. ให้ความสำคัญกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) จึงเน้นให้มีการดำเนินธุรกิจด้วยการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน ตามเทรนด์หลักที่สำคัญของโลก 2 ด้าน คือ Go Green และ Go Electic ผ่านการปรับวิสัยทัศน์เป็น "Poweiing Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต" มุ่งสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน ไฟฟ้าและยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร รวมถึงต่อยอดนวัตกรรม และแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ที่ไกลกว่าพลังงาน เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชน และในด้านธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าที่กำลังได้รับความสนใจในระดับสากล กลุ่ม ปตท. เล็งเห็นแนวโน้มการใช้งานที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและภูมิภาค จึงมุ่งวางรากฐานขยายธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร (EV Value Chain) ให้ครอบคลุมในทุกมิติเพื่อสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์ให้กับประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐาน และการให้บริการแบบครบวงจรของยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG
Emissions) ในปี 2065

ปตท. จึงได้จัดตั้ง บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ขึ้น เพื่อรองรับการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า และเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนา EV Ecosystem ทั้งของ ปตท. และของประเทศไทยให้ครบวงจร ทำหน้าที่ประสานการลงทุนกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงร่วมลงทุนกับพันธมิตรชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศ ช่วยสนับสนุนให้เกิดการใช้ EV อย่างแพร่หลายในประเทศไทย ขับเคลื่อนไทยเป็นฐานการผลิต

บริษัท ฮอริษอน พลัส จำกัด (HORIZON PLUS) บริษัทร่วมทุนระหว่าง อรุณ พลัส และบริษัทหลินยิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล อินเวสเมนท์ (Foxconn Technology Group) ที่ได้มีการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท JV ARUN PLUS ถือหุ้น 60% Foxconn 40% เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตและประกอบรถยนบบครบวงจรรูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยี MIH Platform หรือ Open Ev Platforn ซึ่งเป็นโครงข่วงล่างของตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับแต่งให้เข้ากับรถยนต์ได้หลายประเภท สามารถช่วยแบรนด์รถยนต์ลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาในการพัฒนาและผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นได้ ราคาที่จับต้องได้ โรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ HORIZON PLUS จะตั้งบนพื้นที่ 313 ไร่ ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ อำเภอหนองใหญ่ จังหวัด ชลบุรี เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) (คาดว่าแล้วเสร็จในปี 2024) เฟสแรกจะดำเนินการด้วยงบลงทุน ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการก่อสร้างโรงงานคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมผลิต EV สู่ตลาดภายในปี 2567 ในระยะแรกมีกำลังการผลิตที่ 50,000 คัน/ 

ออน-ไอออน (on-ion) ผู้ให้บริการธุรกิจสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station) ภายใต้ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด มุ่งขยายเครือข่ายไปยังพื้นที่ทำเลศักยภาพ อาทิ ศูนย์การค้า โรงแรม อาคารสำนักงาน ร้านอาหาร เป็นต้น ให้บริการครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC Charger) รองรับรถยนต์ปลั๊ก- อิน ไฮบริด (Plug in Hybrid) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV Battery Electic Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่มีหัวชาร์จ Type 2 โดยใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application รองรับทั้งระบบ Android และ IOS ในการค้นหาสถานี ปัจจุบัน on ion EV Charging Station เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วที่
1. Energy Complex (Enco)
2 EECi วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง
3ศูนย์การค้า 6 แห่งของ กองทรัสต์อัลไล ได้แก่ คริสตัล ดีใชน์ เซ็นเตอร์ / เดอะคริสตัล เอกมัย-รามอินทรา / เดอะ คริสตัล เอสบี ราชพฤกษ์ / เดอะคริสตัล ชัยพฤกษ์ / เพลินนารี่ มอลล์ วัชรพล / สัมมากร เพลส
รามคำแหง
4. ศูนย์การค้าเซ็นทรัล 37 สาขา ใน 18 จังหวัดที่ทั่วประเทศ โดยพร้อมให้บริการอย่างเป็นทางการ
สถานีแรกที่ศูนย์การค้า CentralWorld กรุงเทพฯ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 และจะทยอยเปิดให้บริการครบทั้ง
37 สาขา ได้ในช่วงต้นปี 2566

อีวี มี (EVme) แพลตฟอร์มที่พร้อมมอบประสบการณ์การเป็นเจ้าของ EV แบบครบวงจร ด้วยบริการ Subscription รายแรกในประเทศไทยโดย บริษัท วี มี พลัส จำกัด (EVME PLUS) ผ่าน Application Evme ที่จะทำให้การใช้งาน :V เป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส

บริษัท นูออโว พลัส จำกัด (NUOVO PLUS) บริษัทร่วมทุนระหว่าง อรุณ พลัส และ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ชินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้าและพลังงงานอัจฉริยะของกลุ่ม ปตท. ในสัดส่วนร้อยละ 51 และ 49 เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายแบตเตอรี่ประเภทลิเทียมไอออนฟอสเฟต ด้วยนวัตกรรมการผลิตแบตเตอรี่ SemiSolid แห่งแรกของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ที่มีจุดเด่นในเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานสูง มีอายุการใช้งานที่ ยาวนานกว่า 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยืนยันว่า กลุ่ม ปดท. ยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเพื่อรักษาความมั่นคง พลังงานของประเทศ และพร้อมเป็นส่วนสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนการสร้างระบบนิเวศ EV ครบวงจร และผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการผลิต EV ของภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป

ใกล้ถึงเทศกาลที่หลายคนรอคอยอย่างวันฮัลโลวีน ซึ่งตรงกับวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี โดยในวันนี้ มักจะมีกิจกรรมที่ผู้คนต่างออกมาแต่งตัวเป็นภูตผีปิศาจ หรือจัดที่อยู่อาศัยให้เป็นสถานที่สุดหลอน ต้อนรับเทศกาลนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในยามค่ำคืน

เช่นเดียวกับผู้ใช้ Tiktok @lindah_ahah ที่ได้โพสต์คลิปสุดหลอน เมื่อได้เดินผ่านทางเดินคอนโดฯ ที่ตนอาศัยอยู่ ได้จัดสถานที่ ต้อนรับวันฮัลโลวีนโดยมีทั้งนางรำ ผีหัวขาด หรือแม้กระทั่งการคุมโทนสีไฟให้ดูหลอน แถมยังเพิ่มความหลอนคูณสิบด้วยการเปิดเพลงสร้างบรรยากาศ วันดีคืนดีก็เปิดเสียงเด็กหัวเราะด้วย

โดยเจ้าของโพสต์ได้อธิบายคลิปสุดหลอนว่า ‘คอนโดฯ ฉันชนะเลิศทุกเทศกาล ปีที่แล้วทั้งตั้งศพทั้งเปิดเสียงผู้หญิงหัวเราะทั้งคืน กว่าจะผ่านแต่ละเทศกาลมาได้ ลูกบ้านต้องใจแข็งมากนะ’

ท่ามกลางชาวเน็ตที่เข้ามาคอมเมนต์จำนวนมาก ต่างชื่นชมความครีเอทและความเป็นนักกิจกรรมตัวยงของนิติคอนโดฯ แห่งนี้ แถมยังบอกอีกด้วยว่า นิติคอนโดฯ ที่นี่ต้องขยันมาก เพราะจัดเต็มทุกเทสกาลจริง ๆ แถมเจ้าของโพสต์ยังบอกอีกด้วยว่า พอคอนโดฯ รู้ว่าเป็นไวรัล ยิ่งจัดหนักกว่าเดิม มีติดไฟสร้างความหลอนเพิ่มไปอีก…

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก lindah_ahah


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top