เอเปคการศึกษา มุ่งเป้ายกระดับคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน รองรับงานโลกผันผวน

เอเปคการศึกษา มุ่งเป้ายกระดับคุณภาพการศึกษาที่ยั่งยืน รองรับงานโลกผันผวน

.

การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ทำให้กลุ่มสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ต่างตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยมุ่งมั่นส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพและเสมอภาค การพัฒนาทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 การสร้างนวัตกรรมรวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

.

โดยเครือข่ายเอเปคการศึกษาได้กำหนดวิสัยทัศน์ 2030 (พ.ศ. 2573) ร่วมกันว่าภายในปี พ.ศ. 2573 ประเทศสมาชิกเอเปคจะสร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีความเหนียวแน่น โดยมุ่งเน้นการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพซึ่งสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม และสร้างเสริมความสามารถในการทำงานของชายและหญิงในเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การศึกษาเอเปค (APEC Education Strategy).

.

“เอเปคด้านการศึกษา” ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เอเปค (HRDWG) ครั้งที่ 47 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยการประชุมดังกล่าวจะเป็นความร่วมมือของเขตเศรษฐกิจเอเปค ที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา และสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามเป้าหมายเครือข่ายการศึกษาเอเปคปี 2022 ที่มุ่งหมายให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (“Quality Education for Sustainable Growth”)

.

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)กล่าวว่า ประเทศไทยยินดีที่ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเครือข่ายการศึกษาของเอเปค และเวทีแสดงวิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีด้านการศึกษาของเอเปคว่าด้วยการศึกษาปี 2030 โดยเชื่อว่าความร่วมมือกับเขตเศรษฐกิจสมาชิกเพื่อสร้างชุมชนการศึกษาที่เข้มแข็งและเป็นหนึ่ง รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง สังคมอยู่ดีมีสุข และประชาชนมีงานทำของเขตเศรษฐกิจสมาชิก

.

“ประเทศไทยเชื่อว่าการพัฒนาทุนมนุษย์ ผ่านการศึกษาเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว ทั้งนี้ประเทศไทยยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค ที่ทำให้การศึกษาดำเนินได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องตามแนวคิดหลักของเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ปี 2565 คือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” (Open. Connect. Balance.)”น.ส.ตรีนุช  กล่าว

.

ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสมาชิกเอเปคเป็นรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา (APEC Education Network - EDNET) ซึ่งเป็นเครือข่ายภายใต้คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเอเปค (Human Resources Development Working Group)

.

มีผู้ประสานงานเครือข่าย (EDNET Coordinator) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานจากสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปค 21 เขต เพื่อขับเคลื่อน ส่งเสริมการศึกษาที่มีคุณภาพและเสมอภาคในกลุ่มสมาชิก พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อรองรับการจ้างงานและความสามารถในการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน

.

ทั้งนี้ ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างเขตเศรษฐกิจ จึงเป็นลักษณะของโครงการและกิจกรรม ซึ่งอาจเป็นการประชุม สัมมนา หรือการอบรม ซึ่งแต่ละเขตเศรษฐกิจจะริเริ่มและดำเนินการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป โดยจะมีการประชาสัมพันธ์เชิญชวนสมาชิกเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมต่าง ๆในปัจจุบันกิจกรรมส่วนใหญ่จะจัดในรูปแบบออนไลน์

.

สำหรับในปี 2565 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเอเปค ได้มีการเสนอโครงการ “Online Workshops for Lesson Study 2.0: Artificial Intelligence (AI) and Data Science for Education in APEC Economies” โดยมี อว. และมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้เสนอโครงการและดำเนินการร่วมกับญี่ปุ่น

.

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อไปว่า APEC Education Strategy สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคตกลงที่จะร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่

.

1. ส่งเสริมและสร้างสมรรถนะที่สนองต่อความต้องการของบุคคล สังคม และอุตสาหกรรม

.

โดยจะมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบการศึกษาให้มีความทันสมัย และระบบประกันคุณภาพการศึกษา การกำหนดกรอบคุณวุฒิและรับรองมาตรฐานทักษะความสามารถ ส่งเสริมการศึกษาข้ามพรมแดน การแลกเปลี่ยนถ่ายโอนทางวิชาการและนักศึกษา

.

2. การสร้างเสริมนวัตกรรม

.

ยกระดับการสมรรถนะด้านการศึกษาและเทคโนโลยีในกระบวนการจัดการเรียนการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการศึกษาและการเรียนการสอน อีกทั้งเพิ่มความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม

.

3. เพิ่มความสามารถในการทำงาน

.

มุ่งเพิ่มความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (TVET) พัฒนาสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการในทุกระดับ ทุกรูปแบบการศึกษา  และสร้างแนวทางให้นักศึกษาก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานได้อย่างราบรื่น

.

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อไปว่า APEC Education Strategy สมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคตกลงที่จะร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่

.

1. ส่งเสริมและสร้างสมรรถนะที่สนองต่อความต้องการของบุคคล สังคม และอุตสาหกรรม

.

โดยจะมุ่งเน้นการปรับปรุงระบบการศึกษาให้มีความทันสมัย และระบบประกันคุณภาพการศึกษา การกำหนดกรอบคุณวุฒิและรับรองมาตรฐานทักษะความสามารถ ส่งเสริมการศึกษาข้ามพรมแดน การแลกเปลี่ยนถ่ายโอนทางวิชาการและนักศึกษา

.

2. การสร้างเสริมนวัตกรรม

.

ยกระดับการสมรรถนะด้านการศึกษาและเทคโนโลยีในกระบวนการจัดการเรียนการสอนบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการศึกษาและการเรียนการสอน อีกทั้งเพิ่มความร่วมมือทางวิชาการระหว่างรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม

.

3. เพิ่มความสามารถในการทำงาน

.

มุ่งเพิ่มความร่วมมือระหว่างรัฐบาล สถาบันอุดมศึกษาและสถาบันด้านเทคนิคและอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (TVET) พัฒนาสมรรถนะแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการในทุกระดับ ทุกรูปแบบการศึกษา  และสร้างแนวทางให้นักศึกษาก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานได้อย่างราบรื่น

.

ขณะที่ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี ดิจิทัล และการสร้างนวัตกรรมในกลุ่มสมาชิกเอเปค นอกจากเครือข่ายด้านการศึกษาแล้ว ยังมีการขับเคลื่อนในส่วนของเครือข่ายด้านการสร้างสมรรถนะ (Capacity Building Network: CBN) และเครือข่ายด้านแรงงานและสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ   เอเปค

.

โดยเครือข่าย CBN ได้มีการกำหนดแผนเพื่อการพัฒนาสมรรถนะพลเมืองเอเปค Roadmap 2022-2025 ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่

.

1) การสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการปลูกฝังแนวคิดใหม่ต่อการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร

.

2) การส่งเสริมให้แต่ละเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัล

.

3) การปรับปรุงและเพิ่มทักษะบุคลากรเพื่อตอบสนองต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังสถานการณ์ COVID-19

.

 4) การปรับระบบ รูปแบบ กระบวนการ และขั้นตอนต่าง ๆ ในการสร้างขีดความสามารถของบุคลากร

.

ด้าน เครือข่ายแรงงานและการคุ้มครองทางสังคม (Labor and Social Protection Network: LSPN) ได้ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมด้านนโยบายเพื่อส่งเสริมการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นในตลาดแรงงานที่ผันผวน การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน การปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงของงานและความผันผวนของตลาดแรงงานจากข้อท้าทายต่าง ๆ โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม และการบูรณาการเรื่องเพศภาวะในนโยบายด้านแรงงาน

.

สำหรับผลการประชุมการพัฒนาเครือข่ายเอเปคเพื่อการมีงานทำในโลกที่ผันผวน ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ในโอกาสที่กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานดังกล่าว มีข้อสรุปจากหลายเขตเศรษฐกิจของเอเปคเกี่ยวกับความพยายามตั้งต้นระบบการเรียนรู้ใหม่ (Reset) ท่ามกลางสภาพแวดล้อม ทางเศรษฐกิจที่ท้าทายของโลก

.

“แต่ละสมาชิกเขตเศรษฐกิจพยายามจัดการเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นดิจิทัล รวมถึงเปลี่ยนจากโหมดการเรียนรู้แบบดั้งเดิมไปสู่โหมดการเรียนรู้แบบผสมดิจิทัล และการเรียนรู้แบบอื่นๆ เขตเศรษฐกิจหลายแห่งได้พัฒนาการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมอย่างรุดหน้า รวมทั้งพัฒนาวิธีการสอนและบทเรียนผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ หลายแห่งสามารถปรับตัวได้อย่างดีและออกแบบแนวคิดที่ชัดเจนจนเกิดวิธีใหม่ การจัดการด้านการศึกษายังคงคำนึงถึงเด็กตกหล่นจากระบบ ผู้ขาดโอกาศทางการศึกษา และนักเรียนตามชายแดน”น.ส.ตรีนุช กล่าว

.

นอกจากนั้น ที่ประชุมยังได้มีการเสนอว่า ภาคการศึกษาควรรับฟังความต้องการของภาคธุรกิจและตลาดแรงงานเพื่อให้เกิดผลดีต่อนักเรียนนักศึกษาที่เรียนจบและหางานทำท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ผันผวน

.

อีกทั้ง ผู้นำของเอเปคต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และต่อยอดจากประสบการณ์และปัญหา แล้วก้าวไปข้างหน้า  รวมทั้ง ควรมีการจัดการประชุมผู้นำรุ่นเยาว์เพื่อแบ่งปันวิสัยทัศน์และความเข้าใจ รวมทั้งทำงานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสังคมที่ดีและมีคุณภาพ

.

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ