เด็กไทยทุกคนควรได้รับโอกาสในการศึกษาที่มีคุณภาพ

30 ปีที่ผ่านมา ตลอดการเดินทางของมูลนิธิยุวพัฒน์ ตั้งแต่เริ่มต้น เรามองเห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษา และคุณภาพการศึกษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาส ด้วยความเชื่อว่า การศึกษาคือรากฐานของการพัฒนา เด็กไทยทุกคนควรได้รับโอกาสในการศึกษาที่มีคุณภาพ

.

แต่ความช่วยเหลือนั้นเหล่านั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีความร่วมมือ และส่วนร่วมของคนไทยทุกคน ในวันนี้ทางมูลนิธิฯ มุ่งหวังที่จะเห็นการร่วมมือขยายกว้างขึ้น เพื่อให้เด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเข้าถึงระบบการศึกษามากขึ้น และให้สังคมดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต

.

นายสุเทพ แก่งสันเทียะ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า เด็กทุกคนต้องได้รับการศึกษา และต้องได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพด้วย กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)

.

มีความพยายามมอบนโยบายลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ปัจจุบันมีเด็กที่เกิดมาแล้วไม่ได้เข้ารับการศึกษาในประถมวัย ประมาณ 7 หมื่นคน และเด็กเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ ขาดหายไป 2% จาก 6 ล้านคน หรือประมาณ 2 แสนคน ขณะที่เด็กที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา หรือนักเรียนที่ Drop out เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจหรือปัญหาขาดโอกาสทางการศึกษา รวมทั้งสิ้นประมาณ 2 แสนกว่าคน

นายสุเทพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ศธ. มีนโยบายตามน้องกลับมาเรียน ในเรื่องนี้ทาง ศธ. ดำเนินการให้บุคคลที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ

.

ไปสำรวจว่าเด็กกลุ่มนี้อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร แล้วตามกลับเข้ามาระบบการศึกษา และมีโครงการอื่นมากมายที่พยายามให้เด็กกลับเข้ามาในระบบการศึกษา อาทิ โครงการช่วยเหลือผู้ปกครองในช่วงการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 จำนวนคนละ 2000 บาท หรือโครงการอาชีวะ อยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ คือ นำเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาเข้าไปอยู่โรงเรียนประจำ เรียนฟรี และให้มีรายได้ระหว่างเรียน

.

โครงการต่าง ๆ ที่กล่าวมา ล้วนเป็นโครงการที่ทาง ศธ. ได้พยายามที่จะดำเนินการเพื่อที่จะดูแลเด็กและเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่สามารถเข้าไปไม่ทั่วถึงกับเด็กที่ขาดโอกาสหรือเด็กที่กำลังรอโอกาสที่จะเข้ามาในระบบการศึกษา ดังนั้นการที่ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการศึกษา

.

จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง หากพวกเราร่วมมือกัน จะให้โอกาสเด็กเข้ามาในระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น

.

"โอกาสที่จะพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพควรเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มแรก เราต้องเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา บทบาทหน้าที่ของการพัฒนาเด็ก ไม่ใช่หน้าที่เฉพาะของสถานศึกษาเพียงเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของทุกคน" ดร. สุเทพ ระบุ

.

นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเสขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับทุกภาคส่วน มุ่งเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนทุกช่วงวัย โดยจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ตลอดจนให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในสถานศึกษา

.

นายพัฒนะ กล่าวย้ำว่า ความปลอดภัยต้องไว้เป็นลำดับที่ 1 ถ้านักเรียนมีความปลอดภัย ก็จะมีความพร้อมในการเข้าระบบการศึกษา

.

นายพัฒนะ กล่าวอีกว่า ในเรื่องของการสร้างโอกาสทางการศึกษา สพฐ. ได้ร่วมกับภาคเอกชนดำเนินโครงการ CONNEXT ED ตั้งแต่ปี 2559 แล้ว ปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการกว่า 5,567 แห่งโดยภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมมือสร้างองค์ความรู้ พร้อมทั้งสนับสนุนเทคโนโลยี และทักษะวิชาการ วิชาชีพ ให้กับเด็กและเยาวชนทุกคนอย่างทั่วถึง

.

ส่วนตัวแทนภาคเอกชน ได้เข้ามาช่วยสมทบทุนช่วยเหลือเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษา และเป็นสื่อการให้ภาคประชาชนเข้ามาส่วนร่วมช่วยสมทบเพิ่มโอกาสให้เด็กของถึงการศึกษามากขึ้น เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีช่องทางแอปพลิเคชันให้ภาคประชาชนเข้ามีส่วนร่วม, After You  มีโครงการขนมปังเนยโสด ให้คนตระหนักถึงความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่เกิดขึ้น จากปัญหาการสะกดผิดของน้อง ๆ และบริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่เข้าร่วมกับโครงการปันกัน เป็นต้น

.

ทั้งนี้ ภายในงานมีการเสวนาโครงการที่ร่วมมือกับมูลนิธิยุวพัฒน์ทั้งหมด 9 โครงการ ได้แก่

.

  • โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
  • ห้องเรียนดิจิทัล คณิตวิทย์ โดย Learn Education
  • ห้องเรียนดิจิทัลภาษาอังกฤษ โดย Winner English
  • เสริมสร้างคุณธรรม จริตธรรมในโรงเรียน โดย สถาบันพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม
  • ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดย Teach for Thailand
  • โครงการทุนการศึกษา ‘ส่งน้องเรียน สร้างเด็กดี’ โดยมูลนิธิยุวพัฒน์
  • พัฒนาครูแนะแนวรุ่นใหม่และเครื่องมือออกแบบชีวิตตัวเอง โดย a-chive
  • Food for Good การให้ที่ไม่จบแต่มื้ออาหาร
  • สร้างสังคมแบ่งปัน โดยโครงการร้านปันกัน