“FUTURE FOOD FOR SUSTAINABILITY”

 โครงการ “FUTURE FOOD FOR SUSTAINABILITY” เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในอาหารแห่งอนาคต ร่วมสร้างสรรค์เมนูอาหารภายใต้แนวคิด BCG ในคอนเซ็ปต์ “Plate to Planet” 

.

โครงการนี้มีผู้ร่วมสมัครแข่งขันทั้งหมด 2,018 ทีม และมีการประกาศผลการแข่งขันในวันที่ 13 ธันวาคม 2565

.

โดย ขนมชั้นแห่งอนาคต” จากทีมเลอชั้น ซึ่งประกอบด้วยนิสิต ศิษย์เก่า และอาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 

.

ได้แก่ นิสิตปริญญาเอก นายนุติ หุตะสิงห บัณฑิตปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 อีก 2 คน นายศิริวัฒน์ จันทร์ธีรกูร และ น.ส.สุกฤตา สุขสำราญ และ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันอาหารแห่งอนาคตเพื่อความยั่งยืน 2022 (Future Food For Sustainability 2022) พิชิตเงินรางวัล 1,000,000 บาท ได้สำเร็จนอกจากนี้ เมนูนี้ยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ใส่ในชะลอมสำหรับเสิร์ฟแก่ผู้นำและแขกผู้มีเกียรติ ในงานเลี้ยงรับรองของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอีกด้วย

.

ขนมชั้นแห่งอนาคต มีจุดเด่นดังนี้

.

ดีต่อกาย : ลดน้ำตาลลง 40% จากสูตรเดิม 

.

โดยไม่ต้องใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะใช้เทคนิคการปรับโครงสร้างขนมให้มีชั้นหวานสลับชั้นจืด และอาศัยความหวานตกค้าง (sweet aftertaste) จากชั้นหวาน ทำให้ลิ้นยังคงรับรสหวานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังเสริมใยอาหารกลุ่มพรีไบโอติก (prebiotic) ในเนื้อขนม เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษในครัมเบิ้ลมะพร้าว และเสริมโปรตีนมะพร้าวในซอสมะพร้าวเข้มข้นอีกด้วย

.

ดีต่อใจ : ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดอกบัวในสระโบกขรณีจากวรรณคดีไทย นอกจากนี้ยังมีกลิ่นรส รสชาติ และเนื้อสัมผัสที่อร่อยและหลากหลายในจานเดียว เริ่มตั้งแต่เนื้อขนมชั้นที่นุ่มหนึบ หอมกลิ่นน้ำตาลสด เสริมด้วยซอสมะพร้าวเข้มข้นรสเค็ม-หวาน และครัมเบิ้ลมะพร้าวที่กรุบกรอบและหอมมันคล้ายมะพร้าวคั่ว ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัว และยังคงเอกลักษณ์ของขนมไทยได้อย่างครบถ้วน

.

ดีต่อโลก : สีชมพูของดอกบัวได้มาจากสารสกัดของเปลือกผลแก้วมังกร ส่วนครัมเบิ้ลมะพร้าวถูกเตรียมจากผลพลอยได้จากการเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน จึงเป็นการนำ food waste มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น 

.

เมนูนี้ใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด (plant-based raw materials) ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และใช้วัตถุดิบหลักซึ่งผลิตในประเทศไทย จึงช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยได้อย่างเต็มที่

.

ที่มา: https://www.pptvhd36.com/health/news/2535

.