Monday, 20 May 2024
การศึกษา

10 เมืองแห่งโอกาสในประเทศจีน เหมาะสำหรับศึกษาเรียนรู้-ใช้ชีวิต

การไปเรียนต่อต่างประเทศ อาจจะเป็นฝันของเด็กไทยจำนวนไม่น้อย และประเทศที่เป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ก็คือ ‘ประเทศจีน’ ด้วยเหตุผลหลายปัจจัย เช่น ชื่นชอบวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับที่เอื้อมถึง มีการสอบชิงทุน หรือแม้แต่ได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง 

วันนี้จะพามาดู 10 เมืองแห่งโอกาสในประเทศจีน ที่เหมาะสำหรับการศึกษาเรียนรู้ และใช้ชีวิต หากใครมีแผนไปเรียนต่อที่จีน แต่ยังไม่รู้จะไปที่เมืองไหนดี ก็ลองมาเลือกดูกันได้นะ

เปิดตัวเลข ‘นักศึกษาต่างชาติ’ เรียนอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ในทุก ๆ ปี จะมีนักศึกษาจากทั่วโลกบินข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อไปเรียนต่อที่ ‘สหรัฐอเมริกา’ ซึ่งสัดส่วนจะมากน้อยต่างกันในแต่ละประเทศ สำหรับในปี 2023 ที่ผ่านมา นักศึกษาต่างชาติที่ไปเรียนต่อในสหรัฐฯ มากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ จีน รองลงมาคืออินเดีย

วันนี้ THE STUDY TIMES ได้รวบรวมรายชื่อ 25 ประเทศที่มีนักศึกษาไปเรียนต่อในสหรัฐมากที่สุดประจำปี 2023 จะมีประเทศใดบ้าง มาดูกัน!! 

แชร์ประสบการณ์!! เรียนต่อที่จีน เปิดโลกทัศน์กว้างไกล ได้เรียนรู้วัฒนธรรม-สังคม-ธุรกิจ ใช้ต่อยอดชีวิตในอนาคต

เมื่อไม่นานมานี้ เพจ ‘ตี๋น้อย’ เพจแชร์เรื่องราวและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประเทศจีน ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับประโยชน์ของการเรียนภาษาจีน โดยระบุว่า…

เล่าเรื่องหนึ่ง ช่วงนี้ที่จีนใกล้จะเปิดเทอมแล้ว น้อง ๆ หลาย ๆ คน อาจจะเริ่มเตรียมตัวกลับไปจีน หรือบางคนเพิ่งจะไปจีนครั้งแรกในเทอมนี้ ตี๋น้อยเลยอยากจะมาแชร์ประสบการณ์กันครับว่า การไปเรียนภาษาหรือปริญญาที่จีน เป็นยังไงบ้าง ได้อะไรเพิ่มกลับมาบ้าง

เริ่มแรกเลย แน่นอนแหละว่ามันได้ภาษากลับมาแน่นอน เพราะว่าการเรียนภาษาที่จีน คุณจะได้คุยภาษาจีนกับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือต่างชาติ ทุกคนจะพูดภาษาจีนกับคุณทุกคน ยิ่งถ้าเราเฟรนด์ลี่ เรายิ่งได้ภาษาแน่นอน แต่บางครั้งอาจจะรู้สึกแปลก ๆ หน่อย เวลาเราคุยกับพวกยุโรป แอฟริกา เป็นภาษาจีน

สองคือได้สังคม ได้เรียนรู้วัฒนธรรมอื่น ๆ ด้วย จากข้อแรก ถ้าเราเฟรนด์ลี่ คุยกับคนอื่นง่าย ชาวต่างชาติและชาวจีนคนอื่น ๆ จะยิ่งต้อนรับเรามากขึ้น บางทีบางครั้งเราคุยและสนิทกับเพื่อนต่างชาติ เราก็จะได้เรียนรู้วัฒนธรรมของเขาด้วย บางครั้งเราก็ได้แลกเปลี่ยนของฝากแต่ละประเทศด้วยครับ

ข้อสามเลย คือได้ลองทานอาหารหลากหลายประเทศ นักเรียนชาวต่างชาติที่นี่ปกติส่วนใหญ่มักจะทำกับข้าวกันเอง ผมเองก็ไปฝากท้องห้องคนอื่นบ่อย ๆ (เขาเชิญไปนะครับ) บางครั้งก็ได้ทานอาหารแอฟริกา บางครั้งได้ทานอาหารปากีสถาน อินเดีย บางทีก็ได้ทานกิมจิ หรือถ้าไปบ้านคนจีนก็ได้ทานอาหารจีนประจำภาคนั้น ๆ ด้วยครับ

ข้อสามได้เรียนรู้คน แน่นอนแหละว่า ร้อยพ่อพันแม่มาเจอกัน ทุกคนมีนิสัยที่แตกต่างกันไป มันก็ทำให้เราเรียนรู้ครับว่าคนแบบนี้มีนิสัยแบบนั้น คนแบบไหนที่เราไม่ควรยุ่งด้วย คนไหนที่เราสนิทด้วยได้

ข้อสี่ เรียนรู้การควบคุมตัวเอง แน่นอนแหละว่าการมาเรียนต่างประเทศ สิ่งยั่วยุมันเยอะ เราก็แค่เรียนรู้ที่จะควบคุมตัวเองให้ได้ เรียนบ้าง เที่ยวบ้าง เที่ยวได้แต่ต้องไม่เสียคนจนเสียการเรียน เพราะตี๋น้อยเคยเห็นหลายคนเสียคน เสียการเรียน เสียประวัติ ไปกับสิ่งยั่วยุ การต่อยตี โดยเฉพาะการทะเลาะต่อยตี ที่จีนโทษหนักถึงขั้นขึ้นแบล็กลิสต์ห้ามเข้าจีนนะครับ เป็นไปได้อย่าทะเลาะเลยดีสุด

ข้อห้า นอกจากเราจะได้ภาษาจีนแล้ว เรายังได้ภาษาอังกฤษด้วย เพราะชาวต่างชาติบางคนพูดจีนไม่ได้ เราต้องพูดภาษาอังกฤษกับเขา ทำให้พัฒนาภาษาอังกฤษของเราเองด้วย

ข้อหก นอกจากได้ภาษาแล้ว เรายังได้โอกาสทางธุรกิจด้วย คือที่จีนเนี่ยหลายเมืองเป็นเมืองค้าส่ง หรือว่าเราสามารถเอาสิ่งที่จีนมี แต่ไทยไม่มี เอามาปรับใช้ได้ เช่น อี้อู กวางโจว เราสามารถไปดูลู่ทางธุรกิจ หรือโอกาสทางธุรกิจได้

ข้อเจ็ด นักเรียนหญิงไทยที่จีนมักมีแฟนเป็นแถบประเทศ เอเชียกลาง สถาน ๆ ทั้งหลาย เช่น คาซัคสถาน อุซเบกิสถาน พวกหล่อ ๆ ทั้งหลายครับ อิจฉาคนหล่อครับฮ่า ๆ 

ข้อแปด นักเรียนชายต่างชาติ ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป มักเจ้าชู้ แต่คนดี ๆ ก็มีเช่นกัน

สุดท้าย ไม่ว่าคุณจะไปเรียนจีนผ่านเอเจนซี่ หรือสมัครเองตามมหาวิทยาลัย ขอบอกว่า ไปเถอะครับ เราได้อะไรกลับมาเยอะกว่าแค่ภาษาแน่นอน

ปล.รูปนี้ผมถ่ายตอน 2013 ตอนที่ผมไปแลกเปลี่ยนที่กวางโจวครับ #ตี๋น้อย #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #จีน #ชีวิตในซินเจียง #ซินเจียง

‘ไทย’ คว้าอันดับ 7 ดัชนีของเอเชียแปซิฟิก ด้านความเป็นเลิศการศึกษา ‘STEM’

นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนสำคัญสูงสุดในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยล่าสุด Center for Excellence in Education (CEE) ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรได้สร้างดัชนีความพร้อมด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกในการเปรียบเทียบคุณภาพของนักเรียนประเทศต่าง ๆ 

สำหรับดัชนีความเป็นเลิศของ CEE ในด้านการศึกษา STEM จะประเมินว่านักเรียนมีความพร้อมทางวิชาการสำหรับการแข่งขันระดับโลก โดยจะเปรียบเทียบผลงานโอลิมปิกวิชาการโดยรวมตามประเทศ คำนวณค่าเฉลี่ยและการจัดอันดับตามประเทศที่เข้าร่วม และตรวจสอบผลงานของนักเรียนในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ STEM ทั้ง 5 รายการ

ทั้งนี้ ดัชนีฯ ดังกล่าวช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและนักการศึกษามีเครื่องมือสำคัญในการวัดว่านักสร้างสรรค์รุ่นต่อไปของแต่ละประเทศมีอนาคตดีเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้สร้างนวัตกรรมทั่วโลก โดยการพัฒนาเศรษฐกิจจีนมีความเกี่ยวข้องกับความสำเร็จของจีนในการแข่งขัน STEM Olympiads การทบทวนวิธีที่จะฝึกอบรมผู้นำรุ่นต่อไปจะต้องรวมเครื่องมือนี้ไว้ด้วย

สำหรับ ดัชนีฯ นี้จะแสดงข้อมูลต่อไปนี้ตามผลรวมของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนานาชาติในสาขาชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ และสารสนเทศ (IT) โดยในการจัดอันดับดัชนีฯ พบว่า อันดับ 1. ได้แก่ จีน อันดับ 2. เกาหลีใต้ อันดับ 3. สิงคโปร์ อันดับ 4. เวียดนาม อันดับ 5. ญี่ปุ่น อันดับ 6. ไต้หวัน อันดับ 7. ไทย อันดับ 8. อิหร่าน อันดับ 9. อินโดนีเซีย อันดับ 10. อินเดีย อันดับ 11. ออสเตรเลีย และอันดับ 12. ฮ่องกง

ซึ่งดัชนีฯ ยังเผยให้เห็นว่าในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศในเอเชียได้เข้ามาครองการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ส่งผลให้ผลงานของนักเรียนจากยุโรปลดลง ตัวอย่างเช่น เยอรมนี เป็นประเทศแรกในปี 1989, 1988 และ 1982 แต่หลังจากนั้นก็ถูกเขี่ยออกจาก 30 อันดับแรก แม้ว่าจะมีประชากรเพียง 1/8 ของเยอรมนี แต่ฮังการีก็ยังคงรั้งอันดับที่ 20 ได้ ซึ่งถือเป็นการลดลง จากอันดับ 1 หรือ 2 ที่ได้รับในทศวรรษ 1960 และต้นทศวรรษ 1970 

โดยน่าประหลาดใจที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรน้อยกว่า 6 ล้านคน (น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของฮังการี) สามารถเสมอกับเวียดนามเป็นอันดับที่ 5 ได้ การทบทวนผลงานของทีม USA ตั้งแต่ปี 1993 ถึงปัจจุบันเผยให้เห็นอันดับเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เส้นแนวโน้มแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากการจัดอันดับอันดับที่หกโดยประมาณเป็นอันดับสองหรือสามรองจากจีน

นอกจากนี้ การแข่งขันที่ดุเดือดในธุรกิจระดับโลกได้ผลักดันให้นักศึกษามีความเป็นเลิศในการแข่งขันทางวิชาการเพื่อที่จะโดดเด่น จากข้อมูลของ DiGennaro รัฐบาลส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนโครงการโอลิมปิกวิชาการในประเทศต่าง ๆ รวมถึงการฝึกอบรมและทรัพยากรอื่นๆ เช่น ครูและนักเรียน อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา

โดยประเทศจีนได้ลงทุนมหาศาลในการแข่งขันเหล่านี้ และอาจจะทำให้จีนได้เปรียบอย่างมากนอกเหนือจากการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ สิ่งสำคัญ คือ ต้องเน้นว่าจีนใช้เงินจำนวนมากกับการวิจัยและพัฒนา ซึ่งลดลงในยุโรป

🔎เช็กลิสต์!! จำนวนเด็กเก่งจากโรงเรียนต่างๆ ที่สอบติด 'กำเนิดวิทย์' ประจำปี 2567

‘โรงเรียนกำเนิดวิทย์’ ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) ปีการศึกษา 2567 จำนวน 72 คน โดยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น แสงทองวิทยา สวนกุหลาบวิทยาลัย ระยองวิทยาคม 

วันนี้ THE STUDY TIMES ได้รวบรวมรายชื่อโรงเรียนของน้อง ๆ ทั้ง 72 คนมาแล้ว มาดูกันว่า น้อง ๆ จากโรงเรียนใดบ้าง ที่ผ่านคัดเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนกำเนิดวิทย์ได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วมาดูกัน…

‘จีน’ สั่ง รร.ประถม-มัธยม จัดช่วงพัก 30 นาที/วัน เพื่อให้นักเรียนได้ ‘ขยับร่างกาย - พักผ่อนสายตา’

เมื่อวานนี้ (12 มี.ค. 67) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการของจีนและหน่วยงานอื่นอีก 3 หน่วยงาน ออกหนังสือเวียนว่าด้วยการป้องกันและควบคุมภาวะสายตาสั้น ซึ่งเรียกร้องให้โรงเรียนประถมและมัธยมของจีนรับรองว่านักเรียนได้ออกทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายนอกห้องเรียนอย่างเหมาะสมระหว่างชั้นเรียน

หนังสือเวียนดังกล่าวประกาศเปิดตัวโครงการรณรงค์ทั่วประเทศระยะ 1 เดือนเพื่อป้องกันและควบคุมภาวะสายตาสั้นในเดือนมีนาคม โดยระบุว่าโรงเรียนควรจัดให้มีช่วงพักสำหรับทำกิจกรรมกีฬาเป็นเวลา 30 นาทีทุกวัน เพื่อให้นักเรียนได้ผ่อนคลายความเมื่อยล้าทางสายตาได้ดียิ่งขึ้น

ทั้งนี้ หนังสือเวียนยังเรียกร้องให้หน่วยงานกำกับดูแลตลาดทั่วจีน ตรวจสอบและจัดการกิจกรรมทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดของผลิตภัณฑ์ป้องกันและควบคุมภาวะสายตาสั้นสำหรับเด็กและวัยรุ่นอย่างเคร่งครัดตามกฎหมาย

‘รปภ. ม.รามฯ’ จบป.ตรี ภาควิชาปรัชญา สาขาภาษาจีน เผย!! “ไม่มีเคล็ดลับอะไรเลย นอกจากต้องมีวินัย”

(20 มี.ค. 67) นับเป็นเรื่องราวดี ๆ ที่เมื่อได้เห็นก็ต้องชื่นชมและร่วมยินดีด้วยทันที เรื่องราวของ นายอนุชา จุดาบุตร หรือที่ชาวคณะมนุษยฯ ม.รามคำแหงเรียกกันว่า ‘พี่อนุชา’ ถือเป็นตัวอย่างของความมุมานะ มั่นเพียร และมีวินัยจนประสบความสำเร็จในสิ่งที่ตั้งใจไว้

โดยเพจ ‘RU Chinese studies’ ได้แชร์เรื่องราวของ ‘พี่อนุชา’ ไว้ว่า… 

“พี่อนุชา หรือนายอนุชา จุดาบุตร เป็น รปภ.ประจำอยู่อาคาร 2 คณะมนุษยศาสตร์มาหลายปีค่ะ แอดมินเห็นมาตั้งแต่แอดยังวิ่งเข้าวิ่งออกเป็นนักศึกษาเอกจีนของรามคำแหงอยู่เลย…

“ปีนี้ พี่อนุชา กลายเป็นหนึ่งในบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากภาควิชาปรัชญา คณะมนุษยศาสตร์นะคะ สาขาวิชาภาษาจีน ขอแสดงความยินดีกับพี่อนุชามา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ”

นอกจากนี้ยังระบุต่ออีกว่า “พี่อนุชาเริ่มเรียนมาตั้งแต่เทอม 2/60 และจบในเทอม 1/64 ที่เรียนจนจบได้ตามระยะเวลานี้ พี่อนุชาบอกว่า “ไม่มีเคล็ดลับอะไรเลยครับ นอกจาก ‘ต้องมีวินัย’ ครับผม” 

“ดังนั้น จึงกลายเป็นอีกหนึ่งแบบอย่างที่ควรเอาอย่างนะคะ เอาอย่างในเรื่องความมุมานะ วิริยะ พยายามและตั้งใจอย่างต่อเนื่อง 

“ถึงแม้พี่อนุชาจะรูปร่างสูงใหญ่จนน้อง ๆ นักศึกษาเห็นแล้วออกจะกลัว ๆ เกร็ง ๆ อย่างนี้ แต่ตัวจริงใจดีนะคะ ถึงช่วงสอบทีไร วิชาภาษาจีนที่ต้องมีการสอบพูด และมักจะสอบกันที่บนตึกของคณะมนุษยศาสตร์ แต่พออาจารย์บอกพี่อนุชาไว้ว่าวันนั้นวันนี้จะมีนักศึกษามาสอบปฏิบัตินะ พี่อนุชาก็รับทราบและคอยดูแลนักศึกษาให้อย่างดี

#รปภตัวใหญ่หัวใจอ่อนโยนจ้า 👏👏👏

'มหิดลวิทยานุสรณ์' เรียกครั้งที่ 3 อันดับสำรอง ที่ 97 ถึง 119

เมื่อไม่นานมานี้ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้เผยแพร่ประกาศเรื่อง การเรียกนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นตัวสำรองเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ครั้งที่ 4 ระบุข้อความว่า…

ตามประกาศโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เรื่อง ผลการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 และได้เรียกตัวสำรองลำดับที่ 35 - 96 ปรากฏว่ามีนักเรียนยืนยันสิทธิ์การมอบตัว รวมทั้งสิ้นจำนวน 217 คน ในการนี้จึงขอให้นักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นตัวสำรองในลำดับที่ 97 - 119 เข้าสู่ระบบของโรงเรียน ผ่านเว็บไซต์ https://apply.mwit.ac.th /oginphp เพื่อยืนยันสิทธิ์การมอบตัว ภายในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 น. หากนักเรียนไม่ยืนยันสิทธิ์การมอบตัวตามวันและเวลาที่โรงเรียนกำหนดจะถือว่านักเรียนสละสิทธิ์การเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ขอให้นักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นตัวสำรองในลำดับที่ 97 - 119 ดำเนินการดังนี้

1. ยืนยันสิทธิ์การมอบตัวในระบบรับสมัคร พร้อมแนบแบบยืนยันสิทธิ์ และดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้ระบุไว้ ภายในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 08.30 น.

2. ศึกษารายละเอียดและกรอกข้อมูลในเอกสารประกอบการมอบตัวให้ครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วนำส่งไฟล์เอกสารผ่านทางลิงก์ https:/bit.y/49N3e01 ภายในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 12.00 น.

3. นำเอกสารประกอบการมอบตัวต้นฉบับมายื่น ในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 เวลา 10.00-12.00 น. ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ทั้งนี้นักเรียนต้องแนบใบรับรองแพทย์และใบรายงานผลการเอกซเรย์ปอดจากโรงพยาบาลที่แสดงว่านักเรียนเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในหอพักได้

‘สสวท.’ ประกาศรายชื่อนักเรียนได้รับ ‘ทุน พสวท.’ จำนวน 40 คน ยืนยันสิทธิ์ภายใน 19 เมษายน 67

เมื่อไม่นานมานี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องผลการคัดเลือกผู้ได้รับทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท.) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2567 ระบุข้อความว่า…

ตามที่ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้ารับทุนพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2567 รอบที่ 2 โดยการสอบวัดทักษะปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2567 และสอบสัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2567 นั้น

บัดนี้ สสวท. ได้ประมวลผลการสอบเรียบร้อยแล้ว จึงประกาศรายชื่อนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้มีสิทธิ์รับทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน และนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกฯ ลำดับสำรอง จำนวน 5 คน เรียงตามลำดับคะแนน รายละเอียดดังเอกสารแนบท้ายประกาศ 1

นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้มีสิทธิ์รับทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2567 จำนวน 40 คน ต้องแจ้งรายชื่อโรงเรียนที่จะเข้ารับทุน พสวท. และยืนยันสิทธิ์รับทุน พสวท. ตามแบบฟอร์มในเอกสารแนบท้ายประกาศ 2 ภายในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567 เวลา 18.00 น. ซึ่งโรงเรียนแต่ละแห่ง สามารถรับนักเรียนทุน พสวท. ได้ไม่เกิน 12 คนเท่านั้น ในกรณีที่โรงเรียนนั้นมีนักเรียนประสงค์จะรับทุนเกิน 12 คน นักเรียนที่อยู่ในลำดับที่ 13 เป็นต้นไป จะต้องเลือกศึกษาในโรงเรียนอื่นที่มีนักเรียนทุน พสวท. ยังไม่เต็มจำนวน 12 คน ทั้งนี้ ไม่สามารถรับทุนหรือเข้าร่วมโครงการอื่นซ้ำซ้อนกับทุน พสวท. โดยนักเรียนที่ประสงค์ศึกษาต่อในโรงเรียนที่ไม่ใช่ศูนย์โรงเรียน พสวท. 10 แห่ง จะต้องแนบเอกสารใบรับรองลงลายมือชื่อผู้อำนวยการโรงเรียนที่ยืนยันการจัดหลักสูตรและกิจกรรมตามหลักสูตรโปรแกรมเสริม พสวท. ตามแบบฟอร์มในเอกสารแนบท้ายประกาศ 3

กรณีที่นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้มีสิทธิ์รับทุน พสวท. แจ้งความประสงค์ขอสละสิทธิ์รับทุน หรือไม่ยืนยันสิทธิ์ตามวันและเวลาที่กำหนด สสวท. จะเรียกตัวนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกลำดับสำรองตามลำดับจนครบจำนวนทุนต่อไป โดย สสวท. จะประกาศรายชื่อนักเรียนทุน พสวท. ระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย ประจำปีการศึกษา 2567 และโรงเรียนที่จะเข้ารับทุน พสวท. ภายในวันอังคารที่ 30 เมษายน 2567


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top