Sunday, 19 May 2024
AI

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการ Ai ลงรหัสโรค พบเพิ่มประสิทธิภาพเวชระเบียนได้ถูกต้อง – สมบูรณ์

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ติดตามผลการดำเนินงานในโครงการการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยลงรหัสโรคทางการแพทย์ ของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26(1)

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โครงการการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยลงรหัสโรคทางการแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

โครงการมีวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาโปรแกรมต้นแบบสนับสนุนการใส่รหัสโรคด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องของการใส่รหัสโรคให้แก่ภาควิชาศัลยศาสตร์ และสามารถนำโปรแกรมต้นแบบไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ในระดับโรงพยาบาลและสาธารณสุขของประเทศต่อไป

โดยมีผลการดำเนินโครงการในการพัฒนาต้นแบบสนับสนุนการใส่รหัสโรคด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำงานร่วมกับนักลงรหัสโรคได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากการทดลองใช้งานระบบทดสอบกับเวชระเบียนจากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถแนะนำการให้รหัสโรค (ICD-10) และรหัสหัตถการ (ICD-9) ในกระบวนการทำงานของนักวิชาการเวชสถิติผู้ให้รหัส (Coder) แพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานต่อจำนวนเวชระเบียนได้อย่างมาก รวมถึงการแนะนำรหัสที่มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ตามข้อกำหนดของ สปสช. 

โครงการภายใต้การพัฒนา นำโดยคณะแพทย์ จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ นักพัฒนาระบบ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศฯ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณะที่ปรึกษาจาก สปสช.

'จีน' ยกระดับ 184 โรงเรียน พัฒนาครั้งใหญ่ 'ฐานการศึกษา AI' บ่มเพาะความรู้ทางดิจิทัลแก่ 'ครู-เด็ก' รอบด้าน หนุนยุค AI เฟื่อง

เมื่อไม่นานนี้ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการของจีน ประกาศรายชื่อโรงเรียนประถมและมัธยมจำนวน 184 แห่ง ซึ่งถูกคัดเลือกเป็นฐานการศึกษาปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยเป้าหมายส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาปัญญาประดิษฐ์ให้ดียิ่งขึ้น

รายงานระบุว่าโรงเรียนประถมและมัธยมควรปรับใช้หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีทั่วไป และหลักสูตรที่เกี่ยวข้องอื่นๆ พร้อมกับเสริมสร้างทรัพยากรการศึกษาและการเรียนการสอน และจัดการฝึกอบรมและแนะแนวครู เพื่อเกื้อหนุนการศึกษาปัญญาประดิษฐ์

กระทรวงฯ จะเสริมสร้างแนวปฏิบัติของฐานการศึกษาที่กำหนดข้างต้น สนับสนุนการมีบทบาทนำเป็นตัวอย่างในการพัฒนาหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์ในโรงเรียน การบูรณาการรายวิชา การปฏิรูปวิธีการสอน ร่วมสร้างและแบ่งปันทรัพยากรการศึกษาทางดิจิทัล บ่มเพาะความรู้ทางดิจิทัลของครู และส่งเสริมการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top