เสรีภาพที่แตกต่าง ความกร่าง 'ม็อบไทย' แหกกฎเกณฑ์ทุกการชุมนุม

จะว่าไปไทยนี่แหละที่ประท้วงได้อย่างเสรีทุกที่ทุกเวลา ใครอยากประท้วงก็ปลุกระดมออกไปปิดถนน ทั้งที่มีกฎหมายกำหนดและมีขอบเขตข้อบังคับ แต่ดูเหมือนว่าการประท้วงที่ผ่านมาของคนบางกลุ่มจะไม่แยแสใด ๆ ต่อกฎหมายที่มีเลยแม้แต่น้อย

.

คนไทยบางกลุ่มชอบเปรียบเทียบไทยกับบางประเทศที่พัฒนาแล้วในซีกโลกตะวันตก รวมทั้งบางประเทศในเอเชีย อย่างญี่ปุ่นและสิงคโปร์ งั้นลองมาดูกฎและข้อห้ามในการประท้วงก่อม็อบในสิงคโปร์กันบ้างว่ากำหนดไว้อย่างไร 

.

หากดูระเบียบการประท้วงในสิงคโปร์แล้ว จะเห็นว่าเข้มงวดกว่าบ้านเรามาก เพราะไม่สามารถแบกป้ายด่าทอลงถนนแบบเรา หากต้องไปจัดในบริเวณที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้เท่านั้น นั่นคือ สปีกเกอร์ คอนเนอร์ ที่ตั้งอยู่ภายในสวน Hong Lim Park

.

ที่นี่คือสถานที่เดียวที่อนุญาตให้คนสิงคโปร์และผู้ที่ถือบัตรพำนักถาวร ใช้เป็นสถานที่รณรงค์ จัดแสดงนิทรรศกาล รวมถึงการประท้วงได้อย่างถูกกฏหมาย เปิดให้ใช้พื้นที่ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ปี ค.ศ. 2000 โดยไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตจากรัฐบาล แต่ต้องลงทะเบียนแจ้งวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่สถานีตำรวจ Kreta Ayer Neighbourhood Police Post  ล่วงหน้า  30 วัน 

.

แต่กระนั้นยังมีกฎระเบียบหยุมหยิมอีกมากมาย เช่น ต้องจัดกิจกรรมระหว่าง 07.00น.-19.00น. ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงทุกชนิด ห้ามคนต่างชาติเข้าร่วม คนที่ประท้วงได้ต้องเป็นพลเมืองสิงคโปร์เท่านั้น ห้ามติดป้ายหรือข้อความที่สื่อถึงความรุนแรง ส่อเสียด และลามกอนาจาร ที่สำคัญอีกข้อคือต้องใช้ภาษาสี่ภาษา นั่นคือ อังกฤษ, มาเลย์, จีน และทมิฬ 

.

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ขนาดประท้วงคนเดียวยังโดนจับได้ เคยมีกรณีหนึ่งเกิดขึ้น นักเคลื่อนไหวชาวสิงคโปร์คนหนึ่งประท้วงโดยไม่ขออนุญาต ด้วยการยืนอยู่นอกสถานีตำรวจ ถือป้ายที่มีใบหน้ายิ้มคนเดียว ทางการตั้งข้อหาว่ามีส่วนร่วมในการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต หากถูกตัดสินว่ามีความผิด จะถูกปรับสูงถึง 5,000 เหรียญสิงคโปร์ ราว 112,880 บาท

.

หันมาดูบ้านเราบ้าง การประท้วงทุกครั้งไม่เคยอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ลากยาวไปเป็นวันๆ หรือหลายเดือนอย่างที่เห็นอยู่เสมอ ส่วนเรื่องห้ามใช้เครื่องขยายเสียง ก็ดูเหมือนไม่มีใครทำตามในไทย เรื่องห้ามคนต่างชาติเข้าร่วม บางทีเราได้เห็นคนเขมรหรือเมียนมาเนียนมาร่วมบ่อยๆ โดยเฉพาะการประท้วงของกลุ่มสามนิ้ว ข้อห้ามใช้ถ้อยคำลามกหรือส่อเสียด แต่การประท้วงในไทยเกลื่อนไปด้วยถ้อยคำด่าทอหยามหมิ่นสถาบันอันเป็นเสาหลักในประเทศอย่างลามกหยาบคายจนขนลุก เรื่องภาษานั้นก็เห็นแสดงออกทุกภาษา เวลามีการประท้วงก็มีคนโบกธงต่างชาติหรือถือป้ายภาษาต่างๆ ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องใดๆ กับจุดประสงค์ในการประท้วงเลย

.

ส่วนเรื่องการจำกัดพื้นที่ให้ประท้วงแค่ในสวนสาธารณะ แทบทุกม็อบไม่เคยทำได้ มีการเลื่อนไหลไปสร้างความเสียหายตามถนนหนทางและบ้านเรือนประชาชนอยู่ตลอดเวลา ดูแล้วก็น่าตลก  อยากมีสังคมอารยะ แต่ไม่เคยทำตามได้ตามแบบประเทศเหล่านั้น

.

นักเคลื่อนไหวชาวสิงคโปร์คนหนึ่งประท้วงโดยไม่ขออนุญาต ด้วยการ ยืนอยู่นอกสถานีตำรวจ ถือป้ายที่มีใบหน้ายิ้มคนเดียว ถูกตั้งข้อหาว่ามีส่วนร่วม ในการชุมนุมสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเขาถูกตัดสินว่ามีความผิด จะถูกปรับสูงถึง 5,000 เหรียญสิงคโปร์ ราว 112,880 บาท 

.

ล่าสุดผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ชัชชาติ  สิทธิพันธุ์ ออกไอเดียให้มาประท้วงช่วงเอเปคที่ลานคนเมือง โดยกล่าวว่าเรามีพื้นที่ให้ได้แสดงออก และถ้าอยู่ในกรอบเชื่อว่าเป็นสิ่งที่สวยงามที่เราจะรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง เป็นสิ่งที่ดี หากอยู่ในพื้นที่ 'ลานคนเมือง กทม.' จะเป็นผู้ดูแล ถ้าชุมนุมอยู่ในพื้นที่อื่น ฝ่ายความมั่นคงดูแล

.

งั้นขอถามกลับว่าที่ผ่านมา ม็อบทำได้ตามที่ชัชชาติพูดไหม ภาพจำแถวดินแดงยังติดตาไม่หาย หรือถ้าอยากเอาอย่างสิงคโปร์ อยากย้ายไปอยู่ที่นั่นก็ได้นะ เจอคดีรัวๆ พร้อมต้องจ่ายเงินก้อนโต อาจจะตาสว่างกว่าเดิม