ดร.ปกรณ์ ผอ.GISTDA ได้รับเลือกเป็น ประธานคณะกรรมการ ดาวเทียมสำรวจโลกต่อจากฝรั่งเศส

อีกก้าวความสำเร็จของคนไทย 'ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์' ผู้อำนวยการ GISTDA ได้รับเลือกเป็น ดร.อวกาศ โดยเฟซบุ๊ก Wassana Nanuam ได้โพสข้อความแสดงความปลื้มใจโดยมีข้อความว่า

.

ปลื้ม!! ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์

ผู้อำนวยการ GISTDA

ได้รับเลือกเป็น

ประธานคกก.ดาวเทียมสำรวจโลก

อย่างเป็นทางการต่อจาก CNES

องค์กรอวกาศของฝรั่งเศสl

GISTDA จะปฏิบัติหน้าที่l

ประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก CEOS 2023

.

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA

ในฐานะผู้แทน สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะ เข้าร่วมประชุม 2022 CEOS Plenary ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ประจำปีของคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก (Committee on Earth Observation Satellites :CEOS) ที่มีองค์กรอวกาศภาครัฐด้านการสำรวจโลกด้วยดาวเทียมจากประเทศต่างๆทั่วโลก และหน่วยงานนานาชาติที่เกี่ยวข้องเป็นสมาชิก

.

โดยที่ CEOS Plenary 2022 จัดขึ้น เมื่อ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่เมือง Biarritz สาธารณรัฐฝรั่งเศส

.

โดยในการประชุมครั้งนี้ GISTDA ไดัรับมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลกอย่างเป็นทางการต่อจาก CNES ซึ่งเป็นองค์กรอวกาศของสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดย GISTDA จะปฏิบัติหน้าที่ประธานหรือ CEOS Chair นับตั้งแต่เริ่มรับตำแหน่งรวมเป็นเวลาประมาณ 1 ปี

.

ดร.ปกรณ์ อาภาพันธ์ุ ในฐานะประธานคณะกรรมการคนต่อไป ได้มอบนโยบายการทำงานของคณะกรรมการฯ ไว้ว่า ในความร่วมมือกันในมิติต่างๆ ของหน่วยงานสมาชิก ที่มีอยู่ นั้น CEOS จะให้ความสำคัญที่จะผลักดันภารกิจที่สำคัญใน 2 เรื่องมากเป็นพิเศษ คือ

เรืองการใช้เทคโนโลยีการสำรวจโลกด้วยดาวเทียมในการติดตามการปลดปล่อยและเก็บกักคาร์บอนในพื้นที่ต่างๆทั่วโลก

.

ทั้งนี้เพื่อช่วยลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก โดยหน่วยงานสมาชิกจะร่วมกันนำข้อมูลจากดาวเทียมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสำรวจและตรวจวัดการกักเก็บคาร์บอน ให้นำไปสู่การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ตามแนวทางและเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ UNFCCC

.

เรื่องที่ 2 ขอให้ CEOS ให้ความสำคัญ นั้น คือการพัฒนาแนวทางการส่งเสริม New Space Economy โดย GISTDA จะร่วมกับองค์กรอวกาศจากภูมิภาคต่างๆ เข่น ESA, NASA, USGS, JAXA, CNES และ CSA เป็นแกนหลักในการพัฒนาข้อเสนอแนวทางดังกล่าวจากการรวบรวมข้อคิดเห็นและประสบการณ์ของหน่วยงานสมาชิกในเรื่องการส่งเสริมและทำงานร่วมกับภาคเอกชนที่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจโลกด้วยดาวเทียม

.

รวมถึงแสวงหาความเป็นไปได้ที่ CEOS สามารถจะให้การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยีและข้อมูลแก่ภาคเอกชน เพื่อให้หน่วยงานสมาชิกจะสามารถพิจารณานำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการยกระดับเศรษฐกิจอวกาศของประเทศตนเองให้มีความแข็งแกร่ง ยิ่งขึ้น ต่อไป

.

สำหรับ CEOS เป็นคณะกรรมการความร่วมมือของหน่วยงานรัฐจากประเทศต่างๆทั่วโลกที่รับผิดชอบเรื่องดาวเทียมสำรวจโลกและหน่วยงานนานาชาติที่เกี่ยวข้อง ก่อตั้งขึ้นภายใต้ข้อเสนอแนะจากการประชุม the G7 Economic Summit of Industrial Nations ในปี ค.ศ. 1984 เพื่อร่วมมือกันดำเนินงานเกี่ยวกับการสำรวจโลกด้วยดาวเทียมให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ

.

ปัจจุบัน CEOS มีสมาชิก 61 หน่วยงาน โดยในการดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการของ GISTDA อย่างเป็นทางการในช่วงปี ค.ศ.2023 นี้นั้น นอกจากเป็นการแสดงให้เห็นว่า การดำเนินงานเรื่องกิจการอวกาศของประเทศไทยอยู่ในระดับสากลและเป็นที่ยอมรับในเวทีระดับนานาชาติ แล้ว ยังจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับประเทศในการร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรที่จะนำซึ่งคุณค่าจากเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ในการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์และยั่งยืน ต่อประชาชน และสังคมไทย ให้ได้สูงที่สุด ต่อไป

.

ที่มา : FB Wassana Nanuam