Wednesday, 8 May 2024
THESTUDYTIMES

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการโดรนสำรวจความสมบูรณ์ของป่าไม้ ชี้ ผลสำเร็จตามเป้า หลังเก็บข้อมูล 11 อุทยาน กว่า 10 ล้านไร่

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลสำเร็จในการดำเนินงาน โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26(1) ภายใต้กรอบนโยบาย Digital Government and Infrastructure

วันที่ 4 กันยายน 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ ผู้อำนวยการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่กลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงาน “โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ของ กองการบิน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กองการบินฯ ได้ขอทุนสนับสนุนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีภารกิจในการดูแลทรัพยากรป่าไม้ของประเทศและการดูแลประชาชน ในการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศ การบินลาดตระเวนทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ ในการสนับสนุนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาจัดทำฐานข้อมูลแผนที่ป่าอุทยาน และพัฒนาระบบจัดเก็บ แลกเปลี่ยน และแสดงผลข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูงสำหรับสนับสนุนการจัดการพื้นที่ทำกิน ให้บริการแก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบแสดงผลข้อมูลสถานการณ์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ด้านไฟป่าและน้ำป่าไหลหลากในรูปแบบ real time บน web map service และ mobile application เพื่อแจ้งเตือนประชาชน

โดยกองการบินฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานของโครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ในโครงการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ สามารถพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้นลงแนวดิ่ง จำนวน 14 ระบบ แบ่งเป็น อากาศยานขนาดใหญ่ใช้ในการลาดตระเวนทางอากาศ จำนวน 4 ระบบ อากาศยานขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 10 ระบบที่ใช้ในการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายทางอากาศแบบหลายช่วงคลื่น แล้วนำไปเก็บข้อมูลทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าจำนวน 11 อุทยาน บนพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ และพัฒนาระบบบริหารจัดการในการใช้งาน ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ในโครงการ เป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานและบูรณาการการใช้งานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการลดการบุกรุกพื้นที่ป่า การบริหารจัดการพื้นที่ทำกิน รวมถึงการแจ้งเตือนสถานการณ์ไฟป่า น้ำป่าไหลหลากให้ประชาชนได้ทราบอย่างทันท่วงที โดยกองการบินได้สาธิตการทำงานของอากาศยานไร้คนขับในแต่ละระบบ โดยจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ณ สนามบินเล็กพัทยา จ.ชลบุรี มีผลความสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี

‘สาวกิมจิ’ ชี้!! ชีวิต นร.เกาหลีใต้หดหู่ ต้องเรียน ‘เช้าจรดดึก’ เทียบ นร.ไทย ‘ดีกว่า’ เลิกเรียนเวลาปกติ แถมมีชีวิตอิสระ

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีวิดีโอที่เป็นไวรัลอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นวิดีโอของหญิงสาวชาวเกาหลีใต้ที่ออกมาเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนในเกาหลีใต้ และเน้นย้ำว่าชีวิตนักเรียนเกาหลีใต้น่าสงสาร แตกต่างจากนักเรียนไทยที่ดีและมีอิสระมากกว่า…

หญิงสาวชาวเกาหลีใต้เจ้าของวิดีโอมีชื่อว่า ‘ริซชี่’ ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยมาแล้ว 15 ปี โดยเธอได้ระบุในวิดีโอว่า เรื่องที่ไทยดีกว่าเกาหลีใต้ มีหลายเรื่องมาก ๆ หนึ่งในนั้นคือเรื่องชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยที่เกาหลีใต้จะมีตารางเรียนให้นักเรียน ซึ่งเรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม ใน 1 วันเรียนทั้งหมด 7 วิชา และต้องกินข้าวกลางวันและข้าวเย็นที่โรงเรียน

เธอยังระบุอีกว่า วิชาสุดท้ายเรียนจบตั้งแต่ช่วงห้าโมงเย็นแล้ว แต่ทางโรงเรียนบังคับนักเรียนให้อ่านหนังสือต่อจนถึงสี่ทุ่ม หลังจากอ่านหนังสือเสร็จก็ยังไม่ได้กลับบ้าน เพราะต้องไปเรียนพิเศษต่อ โดยจะมีรถบัสเรียนพิเศษมารอรับที่โรงเรียนเลย และเรียนพิเศษจนถึงเที่ยงคืน สำหรับการเรียนพิเศษ ต้องไปทุกวัน เสาร์อาทิตย์ก็ไม่ได้หยุด ทำให้เด็กนักเรียนเจอคุณครูมากกว่าพ่อแม่เสียอีก

สาวเกาหลีใต้รายนี้ยังระบุอีกว่า จริง ๆ ก็เรียนไหว ไม่ได้แย่ขนาดนั้น เพราะตอนที่เรียนมีเพื่อนอยู่ด้วยทุกคน เธอยังบอกอีกว่าสาเหตุที่ต้องเรียนโหดขนาดนี้ เพราะว่าการแข่งเกาหลีสูงมาก ๆ เพื่อให้ได้งานดี ๆ ก็ต้องเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ให้ได้ก่อน ซึ่งแตกต่างจากฝั่งตะวันตกที่สอนว่าความสามารถของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต่อให้เรียนไม่เก่งก็ยังสามารถมีความสุขได้ แต่สำหรับที่เกาหลีใต้นั้นมีทรัพยากรไม่มากพอ ทำให้โรงเรียนและผู้ปกครองพยายามสอนนักเรียน ต้องเรียนให้เก่ง เพื่อหางานดี ๆ จะได้มีชีวิตที่ดีในอนาคต 

ริซชี่ระบุทิ้งท้ายว่า ตัวเธอเองไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเกาหลี และหวังว่าในอนาคตอยากเห็นนักเรียนที่เกาหลีใต้มีชีวิตที่ดี และสามารถเลิกเรียนได้ตามเวลาปกติเหมือนเด็กนักเรียนไทย 

‘ปตท.’ จับมือ ‘RINA’ พัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนภาคเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจ รองรับการเติบโตของพลังงานแห่งอนาคต

เมื่อไม่นานนี้ ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมแสดงความยินดีในพิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในภาคเศรษฐกิจระหว่าง ปตท. โดย นายคมกฤช โล่ห์เพ็ชร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่วางแผน ปตท., นายยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม ปตท. และ ‘RINA’ โดย Mr. Andrea Bombardi, Executive Vice President, Carbon Reduction Excellence, RINA Mr. Enrico Beccaceci, Senior Technical Manager, ASEAN Engineering Integration, RINA เพื่อความร่วมมือในโครงการนำร่องการทดสอบการผสมก๊าซไฮโดรเจนในก๊าซธรรมชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงการประเมินประสิทธิภาพการใช้งาน รองรับการพัฒนาการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของสถาบันนวัตกรรม ปตท. ให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการการให้บริการเชิงเทคนิค ในการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงของประเทศไทยด้วย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเติบโตในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต และเป้าหมาย Net Zero Emissions ของกลุ่ม ปตท. และประเทศไทยต่อไป

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการจัดหาระบบ 5G Smart City ร่วมผลักดันพื้นที่ EEC ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะน่าอยู่

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลในการดำเนินงาน โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ 5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26 (1) ภายใต้กรอบนโยบาย Digital Government and Infrastructure

วันที่ 5 กันยายน 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ ผู้อำนวยการกองทุนฯ และเจ้าหน้ากลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน 'โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ 5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่' ของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ขอทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ EEC ได้แก่ การสร้างเครือข่าย Internet of Things และ CCTV พร้อม ทั้งต่อยอดการพัฒนาเครือข่าย 5G Mobile และสร้างให้มีการใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมทั้งการสร้างความพร้อมในการพัฒนา Service Platforms ควบคู่กับการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดธุรกิจ ใหม่ในด้านเมืองอัจฉริยะ และสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเมือง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่นักพัฒนาเมืองจะสามารถ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ปัญหา และต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ EEC ได้

โดยผลการดำเนินงานในโครงการ ประกอบด้วย การติดตั้งเสา Smart Pole จำนวน 90 ต้นในเขตเมือง ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองพัทยา เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้าน IoT และระบบ CCTV ผ่านเครือข่ายสัญญาณ 5G ในการส่งเสริมการบริหารจัดการเมืองและความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ Intelligent Operation Center (IOC) ตั้งอยู่ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ในการบริหารจัดการและดูแลระบบในการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเริ่มใช้งานจริง เพื่อยกระดับการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็น Smart City เมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง

ม.อ. - อินโนบิก ผนึกกำลังต่อยอดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ดร.ณัฐ อธิวิทวัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พร้อมด้วย รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และ ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ ระหว่าง บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เพื่อมุ่งต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์จริงเชิงพาณิชย์ โดยจะนำผลงาน ที่มีศักยภาพมาวิเคราะห์และทดสอบการใช้งานจริงผ่านคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผสานความเชี่ยวชาญด้านการตลาดของอินโนบิก เพื่อสนับสนุนให้นวัตกรรมจากการวิจัยของคนไทยสามารถเข้าสู่ตลาดที่เพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ ลดการพึ่งพาการนําเข้า สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน 

'กองทุนดี' จัดอบรมเติมความรู้บุคลากรต่อเนื่อง เตรียมพร้อมประเมินผลงานทุนหมุนเวียน ปี 67

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เติมความรู้ให้กับบุคลากรของกองทุน จัดฝึกอบรมในหัวข้อ ‘การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนและแนวทางการปรับปรุง และพัฒนาดำเนินงาน’ ภายใต้โครงการกำกับ ติดตาม บริหารจัดการแผนงานและตัวชี้วัดของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีคณะที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการอบรม

นางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการกองบริหาร กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 
กล่าวถึงการฝึกอบรมในครั้งนี้ว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 มาตรา 31 กำหนดให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเป็นประจำทุกปี ซึ่งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะต้องดำเนินการตามตัวชี้วัด พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน เป็นรายไตรมาส และรายงานผลประจำปีงบประมาณ ซึ่งผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2565 ของกองทุนฯ ในภาพรวมมีผลการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 3.6595 คะแนน 

ทั้งนี้ สำหรับปีบัญชี 2566 กองทุนฯ อยู่ระหว่างการรวบรวมและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดภายในสิ้นปีบัญชี พร้อมทั้ง กองทุนฯ ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดร่วมกับกรมบัญชีกลาง และบริษัทที่ปรึกษา (บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด) เพื่อเป็นกรอบการประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีบัญชี 2567 ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน ในปีถัดไป ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดจัดอบรมการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนฯ ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ให้กับบุคลากรของกองทุน นำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบไปด้วยหัวข้อ ‘แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกองทุนฯ’, ‘การบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน’ และ ‘หลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปี 2567’   

นางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการกองบริหาร กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรของกองทุน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดที่กำหนด นำไปสู่การปฏิบัติ  ได้อย่างเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในปีถัดไป

‘น้องต้นไม้’ นักเรียนนิวตัน Year 11 คว้า 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน ในการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก 2023 ที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน

ขอแสดงความยินดีกับ ‘น้องต้นไม้’ นักเรียนนิวตันจาก Year 11 ที่สามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขัน The Robot Challenge 2023 Global Robotic Competition ที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มาได้ถึง 4 รางวัลด้วยกัน 👏🏻🏆

A hearty CONGRATULATIONS to N'Tonmai, Kittipat Srilekarat, from Year 11! He has truly showcased his robotic prowess by securing an impressive array of awards at the Robotchallenge 2023 Global Robotic Competition in Beijing, China! 🇨🇳🤖

N'Tonmai's achievements include :
🥈Silver Award in both the Line Follower Senior and Line Follower Adult categories
🥇First Prize in the Line Follower Enhanced Senior category
🥈Second Prize in the Line Follower Enhanced Adult category! 🌟🏆

Let's celebrate N'Tonmai's exceptional talent and his incredible success on the global robotics stage. These achievements are a testament to his dedication and the innovative spirit fostered at Newton Sixth Form! 🚀👏🌟

#CharacterMatters #TheNewtonSixthForm #Newtonians 
--------------
THE NEWTON SIXTH FORM
การแบ่งระดับชั้นเรียน⁣
NEWTON Junior : ป.1-ป.6
เทียบเท่า Year 2-7 หรือ GRADE 1-6

NEWTON Senior : IGCSE, A-LEVEL :⁣ ม.1-ม.6 ⁣
เทียบเท่า Year 8-13 หรือ GRADE 7-12⁣

นศ.คณะพาณิชย์ฯ มธ. คว้ารางวัล ‘ชนะเลิศ - รองชนะเลิศอันดับ 2’ จากการแข่งขัน ‘Capital Market Case Competition’ (CMCC 2023)

เมื่อวานนี้ (14 ก.ย. 66) เพจเฟซบุ๊ก ‘Thammasat Business School’ ได้โพสต์ข้อความ ระบุว่า…


#Congratulations 🏆
#ชนะเลิศ #รองชนะเลิศอันดับ2 #CapitalMarketCaseCompetition


คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ
🥇นักศึกษาหลักสูตร 4 ปี (ภาษาไทย) ทีม Girls O’Clock คว้ารางวัลชนะเลิศ ชิงเงินรางวัล 100,000 บาท ประกอบด้วย
1. ปิยรินทร์ ณ สงขลา (เอกบัญชี)
2. กัลยณัฐ สมัครพงศ์ (เอกการเงิน)
3. ศิรินันท์ จันทกุล (เอกการเงิน)
4.​ ภาบิ​ตรา​ ลิ​มบู​ (เอกการเงิน)
5. อริษา มานมูเลาะ (เอกการเงิน)


🥉นักศึกษาโครงการ BBA ทีม The Pentagon คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ชิงเงินรางวัล 40,000 บาท ประกอบด้วย 
1. ธนนันท์ ลิ้มประเสริฐ (เอกการเงิน)
2. ธนกร ผกาภรณ์ (เอกการเงิน)
3. ฐายิกา พิริยะกิจสกุล (เอกการเงิน)
4. ชลรดา จิโรชวีรกุล (เอกบัญชี)
5. มนสิชา รุจิรากรสกุล (เอกบัญชี)


จากการแข่งขันตลาดทุนที่ใหญ่ที่สุดในไทย Capital Market Case Competition หรือ CMCC ปี 2023 ภายใต้โจทย์ ‘Alternative Ways of Fundraising’ ที่จัดขึ้นจากการร่วมมือกันระหว่างชมรมวาณิชธนกิจ (IB Club) และกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน ฟินน์คอร์ป (FynnCorp Advisory)


💙คณะพาณิชย์ฯ ม.ธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับทีมนักศึกษาที่คว้ารางวัล และเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้🤍

'รศ.ดร.ดนุวัศ' แนะ 5 นโยบายด้านอุดมศึกษาในโลกยุคดิจิทัล ยกระดับ 'ระบบการศึกษา' ครบมิติ เพิ่มพูนศักยภาพเด็กยุคใหม่

(15 ก.ย.66) รศ.ดร.ดนุวัศ สาคริก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภาการศึกษา อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า ได้โพสต์ข้อเสนอแนะนโยบายต่อภาครัฐ ด้านอุดมศึกษาในโลกยุคดิจิทัล ไว้ดังนี้...


📌 1. ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล


จัดสรรทรัพยากรเพื่อให้มหาวิทยาลัยมีโครงสร้างดิจิทัลที่แข็งแกร่งซึ่งรวมถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และระบบการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัยเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และการวิจัยออนไลน์


📌 2. มีนโยบายการเรียนรู้ออนไลน์และการศึกษาแบบผสมผสาน (Hybrid)


พัฒนาแนวปฏิบัติและการสนับสนุนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์และการศึกษาผสมผสาน รวมถึงการฝึกอบรมคณาจารย์ในด้านการศึกษาออนไลน์และการให้ความเข้าถึงสำหรับนักเรียนทุกคน


📌 3. สร้างความเป็นส่วนตัวและความมั่งคงปลอดภัยของข้อมูล


ใช้นโยบายความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยข้อมูลที่เข้มงวดเพื่อปกป้องข้อมูลของนักเรียน และสถาบันในสภาพแวดล้อมดิจิทัล โดยปฏิบัติตามกฎระเบียบการคุ้มครองข้อมูลที่เกี่ยวข้อง


📌 4. พัฒนาความรู้และทักษะด้านดิจิทัลสำหรับอนาคต


สนับสนุนนโยบายในการเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นักเรียนและคณาจารย์ โดยให้มีโปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความสามารถด้านดิจิทัลที่สำคัญสำหรับอนาคต


📌 5. สร้างทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด
(Open Educational Resources)


ส่งเสริมการใช้และสร้างทรัพยากรการศึกษาเปิดเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการศึกษา และเพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ

‘นิสิตวิศวฯ จุฬาฯ’ สุดเจ๋ง!! คิดค้นแอปฯ ช่วยจับผิดท่านั่ง ป้องกันออฟฟิศซินโดรม โดนใจกรรมการจนคว้าแชมป์ไปครอง

(15 ก.ย. 66) จากปัญหาการใช้ชีวิตของหนุ่มสาววัยทำงาน โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ จนทำให้จำนวนมากเป็นโรค ‘ออฟฟิศซินโดรม’ (Office Syndrome) ที่จะอาการปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณ คอ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง


‘ออฟฟิศซินโดรม’ (Office Syndrome) โรคยอดฮิตคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากพฤติกรรมของคนทำงานส่วนใหญ่ ที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง


นิสิตภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีม ‘Midnightdev Extended’ จึงคิดค้นนวัตกรรม ตรวจจับการนั่งผิดท่า ป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม


ผลงานดังกล่าวทีมผู้คิดค้นใช้ชื่อว่า ‘Offix’ เป็นแอปพลิเคชันคอยตรวจจับการนั่งผิดท่า และทำกายบริหาร เพื่อป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม ซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้จริง จนโดนใจคณะกรรมการได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขัน ‘Digital Youth Network Thailand’ ภายใต้งาน HACKA THAILAND 2023 จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา


สมาชิกในทีมมาจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย นายธนกฤษ สายพันธ์, นายศุภโชค บุตรดีขันธ์, นายนนทพรรษ วงษ์กัณหา, นายรัชชานนท์ มุขแก้ว, นายเทพบดินทร์ ใจอินสม และนายทัศน์พล สวัสดี


นายธนกฤษ ตัวแทนกลุ่มนิสิต กล่าวว่าการทำงานของนวัตกรรมนี้ เป็นแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งอยู่หน้าเดสก์ท็อปคอมพิวเตอร์ เมื่อเปิดใช้งานตัวแอพพลิเคชั่นจะคอยตรวจจับการนั่งของผู้ใช้ผ่านกล้อง ดูลักษณะการนั่งของผู้ใช้ว่านั่งถูกท่าหรือไม่ เพื่อเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนปรับท่านั่ง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ทำกายบริหาร ซึ่งถ้าหากทำครบสามารถและรับรีวอร์ดและนำไปแลกเป็นส่วนลดหรือสินค้าและบริการต่างๆที่ร่วมกับทางแอพอีกด้วย


การทำงานของ เอไอตรวจจับการนั่งผิดท่า ผู้คิดค้นได้นำข้อมูลเกี่ยวกับองศาการนั่งที่ถูกต้องตามหลักกายภาพ จากข้อมูลทางการแพทย์มาป้อนข้อมูลเข้าระบบ เมื่อผู้ใช้นั่งผิดท่าที่ส่งผลให้ปวดหลัง ก็จะแจ้งตือนทันที ผลงานนี้จึงเป็นการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม ทำให้ช่วยป้องการปวดหลังได้


TRENDING
© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top