Monday, 29 April 2024
NEWS

'Women of the Future 2022 !' สาวไทยวัย 18 ชนะเลิศรางวัลจากอังกฤษ โครงการเพื่อสตรีโดยไม่หวังผลกำไร !

น.ส.มัญญสิริ โชติบูรณ์วงศ์ หรือ แพร อายุ 18ปี ได้รับรางวัลชนะเลิศจากงาน Women of the Future Awards 2022 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในหัวข้อ Community Spirit & Public Service จากโครงการ HER ที่แพรก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือส่งเสริมสุขอนามัยประจำเดือนให้กับสตรีโดยไม่หวังผลกำไร

.

โดยการมอบรางวัล Women of the Future Awards นี้ เริ่มต้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ เมื่อ 17 ปีก่อน โดยมุ่งหวังที่จะคัดเลือกสตรีที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคตจากกลุ่มธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ สำหรับปีนี้แพรได้รับการเสนอชื่อเข้ามาเป็น 1 ใน 6 คน ที่ได้เข้ารอบสุดท้าย พร้อมกับสตรีที่มีชื่อในนิตยสาร Forbes 30; Ms. Honoree Shawntel Nieto จากฟิลิปปินส์, Miss Earth 2021; Dr. Nisha Thayananthan จากมาเลเซีย, Meta-recognized inspiring leader; Ms. Emily Teng จากสิงคโปร์ และสตรีอีก 2 ท่านจากกัมพูชาที่มีผลการทำงานเพื่อสังคมที่โดดเด่น

.

โดยนอกจากจะพิจารณาจากผลการทำงานแล้ว ในการตัดสินจะมีการสัมภาษณ์จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับคัดเลือก โดย Ms. Josie Zhang ประธานบริหารของ Burberry China และ Ms. Tina Redshaw, เอกอัครราชทูตหญิงของอังกฤษคนแรกประจำประเทศกัมพูชา เป็นผู้สัมภาษณ์แพรในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะมีการประกาศผลในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

.

ที่มา sanook

 

คว้ารางวัลระดับนานาชาติ ! 'สถาปัตย์ฯ มช.' ได้ทั้ง 2 ทีม ประกวดสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ที่จีน !

นักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. คว้ารางวัลที่ 3 และรางวัล Excellence Award ในระดับนานาชาติ การประกวดออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ ระดับนักศึกษา ปี 2022 ณ Nansha Bird Park เมืองกวางโจว ประเทศจีน

 

ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มช. “LOOG” ทีม The Day Dreamers ประกอบด้วย นายเกื้อกิตติ์ เวียงหก, นายพลนาวี ตรีถัน, นายสิรภพ มณีวรรณ, นายนิธิศ คำภิระปาวงศ์, น.ส.จรรยา เเดงบุญเรือง, นายคุณากร ปัญญาดี โดยมีผศ.กานต์ คำแก้ว เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา คว้ารางวัล Competition Champion Third Place

และ “RAVIPAT” ทีม Hansa ประกอบด้วย นายพิศาล เพชรผุด, นายต้นน้ำ ไชยนันทน์, น.ส.กุลนภา เต็มสุข, น.ส.หรรษา พิศภา, น.ส.ธมลวรรณ แสงเจริญ โดยมี อ.ปิยชนน์ อุนจะนำ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาคว้ารางวัล Third Place of Engineering and Structural Design และ Excellence Award

 

ในการประกวดออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่นานาชาติ ระดับนักศึกษา 2022 Guangdong-Hong Kong-Macau Greater Bay Area -Association of Southeast Asian Nations International Colleges Design & Construction ใน Theme “Half Pavilion” ณ Nansha Bird Park เมืองกวางโจว ประเทศจีน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2565

.

การประกวดออกแบบสถาปัตยกรรมไม้ไผ่ฯ จัดขึ้นโดย School of Architecture of South China University of Technology และ Guangzhou Nansha Bird Park ร่วมจัดกับหลากหลายหน่วยงานในประเทศจีนและต่างประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนนักศึกษาให้ได้มีประสบการณ์การออกแบบ และเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดและวัฒนธรรม โดยมีผู้เข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศจำนวน 20 ทีม จากประเทศจีน เมืองกวางโจว เมืองปักกิ่ง ฮ่องกง มาเก๊า ประเทศเวียดนาม ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งผลงานของทั้ง 20 ทีมได้ถูกสร้างจริงและจัดแสดงอยู่ ณ Nansha Bird Park เมืองกวางโจว ประเทศจีน

.

VDO นำเสนอผลงานของทีม The Day Dreamers: https://youtu.be/RaF17S4BYr8

VDO นำเสนอผลงานของทีม Hansa: https://youtu.be/u088wnC9tCo

.

ที่มา คณะสถาปัตย์ฯ มช.

 

ยอด ด.ญ. กตัญญู ดูแลปู่-ย่า เผย อยากให้แม่ กลับมาหา เป็นของขวัญปีใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (26 ธ.ค.) น.ส.นพนา เจริญธรรม หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดระยอง พร้อมด้วย นางอรวรรณ ต้องทำกิจ นักจิตวิทยา ว่าที่ ร.ท.หญิงนารีรัตน์ ปานศรี พนักงานคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดระยอง เดินทางไปที่บ้านพักหลังหนึ่ง ภายในชุมชนพูนไฉ่ ต.เชิงเนิน อ.เมือง จ.ระยอง

.

หลังได้รับการประสานจาก นางบุญจริง โลหะนาคะกุล หรือ ป้าแป๋ว ที่ปรึกษาชุมชนพูนไฉ่ ให้เข้าช่วยเหลือ ด.ญ.วัย 10 ขวบ ที่อาศัยอยู่กับปู่ย่าที่ป่วยด้วยโรคประจำตัว จนทำงานไม่ไหวไม่มีรายได้ มีเพียงเบี้ยยังชีพคนชรา โดยทั้งสามชีวิตลำบากมาก เมื่อเดินทางไปถึงพบกับ นายสันต์ อายุ 82 ปี และ นางสิมมา อายุ 82 ปี และ ด.ญ.ไอซ์ อายุ 10 ขวบ เรียนอยู่ชั้น ป.4 โรงเรียนวัดลุ่มมหาชัยชุมพล

.

จากการสอบถาม ด.ญ.ไอซ์ ได้เปิดเผยว่า พ่อเสียชีวิตไปตั้งแต่จำความไม่ได้ ส่วนแม่ไปมีครอบครัวใหม่ จึงอยู่กับปู่ย่ามาตลอด โดยที่ปู่กับย่าป่วยด้วยโรคประจำตัวประกอบกับความชรา ต้องเข้าออกโรงพยาบาลเป็นประจำ ทุกวันนี้ไม่มีรายได้เลย มีเพียงเบี้ยยังชีพคนชราของปู่และย่า รวมแล้วยังไม่ถึงสองพันบาท จึงไม่พอใช้จ่าย โชคดีที่บ้านไม่ต้องเช่า เพราะญาติให้อยู่ฟรี จ่ายเพียงค่าไฟฟ้าประมาณ 300 กว่าบาทต่อเดือน จึงแทบไม่พอใช้จ่าย บางครั้งปู่ต้องไปยืมเงินญาติมาใช้จ่าย

.

นอกจากนี้ นางบุญจริง ที่ปรึกษาชุมชนซอยพูนไฉ่ ก็ได้ให้ความช่วยเหลือมาตลอด ซึ่งก็พอประทัง ชีวิตไปวันๆ สงสารก็แต่ปู่กับย่า ต้องการให้ได้รับการรักษาโรคที่เป็นอยู่จะได้หายป่วย วันนี้ต้องขอบคุณทุกภาคส่วนที่เข้ามาช่วยเหลือตนเองและปู่กับย่kด.ญ.ไอซ์ ยังบอกอีกว่า ตนเองยังอยากจะเจอแม่ที่จากกันไป อยากจะกอด อยากหอมแก้มแม่ให้หายคิดถึง "หากแม่รับรู้ กลับมาหาหนูเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่"

.

ด้าน นางสิม และ นายสัน ปู่กับย่า ต่างก็ดีใจจนร่ำไห้ออกมา เพราะหลานจะได้มีอนาคตที่ดีต่อไป พร้อมบอกว่าถ้าหลานมีคนคอยช่วยเหลือ ปู่กับย่าจะได้นอนตายตาหลับ ที่ผ่านมาเป็นห่วงหลาน แต่ก็ไม่รู้จะไปหาเงินที่ไหนมาดูแล แค่เรี่ยวแรงในการเดินยังลำบากแล้ว ขอขอบคุณทุกคนที่มาช่วยเหลือน้องไอซ์ ดีใจจนพูดออกมาเป็นคำพูดไม่ได้

.

ขณะที่ น.ส.นพนา เจริญธรรม หัวหน้าบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดระยอง กล่าวว่า เบื้องต้น ได้นำเสื้อผ้า มาให้น้องไอซ์ เพราะเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ทั้งเก่าทั้งขาด รวมถึงเครื่องอุปโภคบริโภค และ เตรียมให้ความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต

ส่วน นางบุญจริง ที่ปรึกษาชุมชนซอยพูนไฉ่ กล่าวว่า ตนเองได้ให้ความช่วยเหลือครอบครัวนี้มาตลอดตามอัตภาพ ซึ่งเป็นครอบครัวที่น่าสงสาร ปู่กับย่าก็ป่วยมาตลอด ส่วนน้องไอซ์ เป็นเด็กที่เรียนดี สอบได้ที่ 1 มาตลอด ซึ่งน่าสงสารมากกับเด็กผู้หญิงวัย 10 ขวบ ที่ต้องดูแลปู่กับย่าโดยลำพัง

.

ที่ผ่านมาก็ได้ปรึกษากับประธานชุมชนพูนไฉ่ เกี่ยวกับความช่วยเหลือ จึงแจ้งให้ทาง พม.ระยอง เข้ามาช่วยเหลือ เพราะสงสารเด็ก ซึ่งจะได้มีอนาคตที่ดีต่อไป เพราะทุกวันนี้อยู่กันอย่างอัตคัดขัดสนมาก

.

ที่มา : Sanook

 

หรรษา ณัฏฐ์ - เอมมี่ ศรุดา คว้าแชมป์ เทนนิสเยาวชน ชิงแชมป์ประเทศไทย ณ ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี

สมาคมกีฬาลอนเทนนิสแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการแข่งขันเทนนิสเด็กและเยาวชน รายการ Tennis 10s Junior Circuit เยาวชนชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2565 ณ ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ 24-25 ธ.ค. 2565 โดยวันสุดท้าย ได้รับเกียรติจาก นายธานี แสนยาอุโฆษ กรรมการอำนวยการสมาคมกีฬาลอนเทนนิสฯ และประธานฝ่ายพัฒนาเยาวชน เป็นประธานมอบรางวัลให้แก่นักกีฬา

.

รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ประเภทหญิงเดี่ยว รอบชิงชนะเลิศ "เอมมี่" ศรุดา สุดตา นักเทนนิสจากกรุงเทพฯ มือวางอันดับ 2 ของรายการ โชว์ฟอร์มการเล่นได้ยอดเยี่ยม เอาชนะ "กั๊ตจัง" ชาคริยา เวทยาวงศ์ นักเทนนิสจากชลบุรี มือวางอันดับ 1 ของรายการ ได้ 2 เซตรวด 4-1 และ 4-1 คว้าแชมป์ไปครอง

.

ด้านประเภทชายเดี่ยว รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี นักกีฬาที่ครองตำแหน่งแชมป์ ได้แก่ "หรรษา" ณัฏฐ์ จันทร์สนธิกุล นักเทนนิสจากกรุงเทพฯ หลังจากในรอบชิงชนะเลิศ หวดเอาชนะ "ปอร์โต้" ภาสุร อุดมโชค จากกรุงเทพฯ 2-0 เซต 4-2 และ 4-1

ในส่วนผลการแข่งขันคู่อื่น ๆ มีดังนี้ รุ่นอายุไม่เกิน 6 ปี (รวมชายและหญิง) รอบรองชนะเลิศ ภาคิน ศิลปธรรมวานิช (มือวาง 6-กทม.) ชนะ ศุภกร จักรคม (มือวาง 1-กทม.) 10-7 ณัฏฐชัย โลหะสุวรรณ (มือวาง 2-พระนครศรีอยุธยา) ชนะ เขตต์ตะวัน บุษดี (ปทุมธานี) 10-7 และรอบชิงชนะเลิศ ภาคิน ชนะ ณัฏฐชัย 11-9 และ 10-5

.

รุ่นอายุไม่เกิน 8 ปี ชายเดี่ยว รอบรองชนะเลิศ ฮารุกิ อิบารากิ (ญี่ปุ่น) ชนะ ปรัตถกร ภาชีรัตน์ (มือวาง 8-พระนครศรีอยุธยา) 4-3(5) บวรฌาณญ์ วาลฌอง ทิณญ์ (อุดรธานี) ชนะ นภันต์ ทวีธวัชชัย (กทม.) 4-2 และรอบชิงชนะเลิศ ฮารุกิ ชนะ บวรฌาณญ์ วาลฌอง ทิณญ์ 4-2, 4-1

หญิงเดี่ยว รอบรองชนะเลิศ วิมุตติญา พงษ์หนู (มือวาง 1-กทม.) ชนะ จิรัชญา รงคะประยูร (มือวาง 3-กทม.) 4-0 พินมุกดา สมศรี (เชียงใหม่) ชนะ ชญาดา นิ่มวชิระสุนทร (มือวาง 2-กทม.) 4-1 และรอบชิงชนะเลิศ วิมุตติญา ชนะ พินมุกดา 4-1, 0-4 และซูเปอร์ไทเบรก 10-5

รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ชายเดี่ยว รอบรองชนะเลิศ ณัฏฐ์ จันทร์สนธิกุล (กทม.) ชนะ โอลีเวอร์ เบนเซน เบิร์กฮาวท์ (ชลบุรี) 4-1 ภาสุร อุดมโชค (กทม.) ชนะ พัชรวุฒิ อานันทนะสุวงศ์ (กทม.) 4-3(4) และรอบชิงชนะเลิศ ณัฏฐ์ ชนะ ภาสุร 4-2, 4-1

.

ขณะที่หญิงเดี่ยว รอบรองชนะเลิศ ชาคริยา เวทยาวงศ์ (มือวาง 1-ชลบุรี) ชนะ นิชาภา วงษ์วานิชขจร (กทม.) 4-0 ศรุดา สุดตา (มือวาง 2-กทม.) ชนะ เหนือฟ้า สุจิระพงษ์ชัย (กทม.) 4-0 และรอบชิงชนะเลิศ ศรุดา ชนะ ชาคริยา 4-1, 4-1

 

สุดเจ๋ง! กับผลงานนวัตกรรมการแพทย์ฝีมือคนไทย “วีลแชร์ยืนได้”

สุดเจ๋ง! กับผลงานนวัตกรรมการแพทย์ฝีมือคนไทย “วีลแชร์ยืนได้” โดยทีมวิจัยบริษัทซีเมด เมดิคอล จำกัด บริษัทสตาร์ตอัปด้านนวัตกรรมการแพทย์ที่เริ่มต้นจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่ตลาดสินค้านวัตกรรมของประเทศ

.

ธีรพงศ์ สมุทรอัษฎงค์ ผู้ก่อตั้งบริษัทซีเมด เมดิคอล จำกัด เล่าว่า ‘วีลแชร์ยืนได้’ หรือ Standing Wheelchair  เป็นนวัตกรรมตัวแรกของบริษัทซึ่งต่อยอดมาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้รับทุนวิจัยพัฒนา Research Gap Fund จาก สวทช. ในการพัฒนาผลงานวิจัยไปสู่การใช้งานจริง เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้ป่วยหรือคนพิการที่ต้องนั่งวีลแชร์สามารถลุกยืนได้ โดยเราออกแบบวีลแชร์ให้มีกลไกที่ผู้ใช้งานสามารถปรับยืนได้เองโดยออกแรงเพียงเล็กน้อย หรือให้คนในครอบครัวช่วยปรับเป็นท่ายืนให้โดยที่ผู้ป่วยหรือคนพิการไม่จำเป็นต้องออกแรงหรือขยับแขนเลย นอกจากนี้การยืนยังถือเป็นการกายภาพบำบัดอย่างหนึ่ง ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น และลดปัญหาแผลกดทับ

.

จุดเด่นของวีลแชร์ปรับยืนได้ คือสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก คนพิการอัมพาตท่อนล่าง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยที่มีแรงแขนสามารถยืนได้ด้วยตัวเอง โดยใช้แรงแขนช่วยในการยืน ข้างละ 5-8 กิโลกรัม ไม่ต้องใช้แรงขาในการยืน สำหรับผู้ป่วยที่แขนไม่มีแรงหรือผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตระดับสูงกว่า C7 คือแขนไม่มีความรู้สึก จำเป็นต้องให้ผู้ดูแลช่วยในการปรับยืน สามารถใช้ทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยและใช้แทนรถเข็นคนป่วยได้

.

ติดต่อสอบถามได้ที่ โทรศัพท์มือถือ : 08-7028-4784 เว็บไซต์ : www.cmedmedical.com อีเมล : Teerapong.s@cmedmedical.com หรือไลน์ : @cmed

.

ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

.

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ CODING แห่งชาติ แถลงข่าว ความคืบหน้า โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้…น้องได้เรียน” พร้อมด้วย ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการ CODING แห่งชาติ นายสุทิน แก้วพนา รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางดรุณวรรณ ชาญพิพัฒนชัย

.

โฆษกรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ CODING แห่งชาติ ณ อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

.

คุณหญิงกัลยา กล่าวว่า ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนที่ยังขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ทั่วประเทศกว่า 1.4 ล้านเครื่อง โครงการ “คนละเครื่อง พี่แบ่งให้…น้องได้เรียน” จึงเป็นโครงการ 

.

ที่ได้เข้ามาช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และสร้างภูมิคุ้มกันทางดิจิทัลให้กับเด็กไทยซึ่งถือเป็นอนาคตของชาติ โดยได้ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการรับบริจาคเพื่อสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนของนักเรียนมีฐานะยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์การเรียน

.

ในระยะแรกจะเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา และอาชีวะศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศ ซึ่งมีฐานะยากจนแต่มีความตั้งใจ ใฝ่เรียนรู้ เพื่อให้การสนับสนุนอุปกรณ์สำหรับใช้ในการเรียนออนไลน์เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนที่มีความจำเป็นอย่างแท้จริง โดยจะรณรงค์รับบริจาคในระหว่างที่รอการสนับสนุนจากกองทุน USO เพื่อสนับสนุนบริการทางการศึกษา ที่จะสามารถเริ่มต้นได้ในปีงบประมาณ 2566 โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) วงเงินงบประมาณ 2,924,509,500 บาท จำนวน 177,243 เครื่อง

.

 “โครงการนี้จะช่วยให้สถานศึกษามีอุปกรณ์การเรียนออนไลน์ และสามารถจัดสรรให้นักเรียน นักศึกษาที่มีฐานะยากจนและขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนนำไปใช้ยืมเรียนได้อย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมช่องทางการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต และที่สำคัญคือจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางโอกาสของเยาวชนที่เกิดจากการเข้าไม่ถึงโครงสร้างพื้นฐานและขาดแคลนอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยตั้งเป้าหมายว่าถึงสิ้นปี 2565 นี้ น่าจะได้รับการสนับสนุน Smart Devices  ไม่น้อยกว่า 10,000  เครื่อง”คุณหญิงกัลยา กล่าว

.

ที่มา : Thaipost

Cybersecurity Hackathon

นศ.วิศวะฯ คอมคว้ารางวัลชนะเลิศจากการเฟ้นหาสุดยอดฝีมือด้าน Cybersecurity ระดับอุดมศึกษา Cybersecurity Hackathon

.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ขอแสดงความยินกับ นายณัฐชนน มงคลวิลาส นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในโอกาสได้รางวัลชนะเลิศ จากการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศงาน Cybersecurity Hackathon by SECURE info ได้รับรางวัลเป็นเงินมูลค่า 30,000 บาท โดยมี ผศ.อัครเดช วัชระภูพงษ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

.

"Cybersecurity Hackathon by SECUREiNFO" เวทีที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไซเบอร์ ให้มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมืออาชีพ จัดการแข่งขันโดยบริษัท ซีเคียวอินโฟ จำกัด ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

.

ที่มา : วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ พระจอมเกล้าลาดกระบัง

.

7 เคล็ดลับ 'เรียนดี' ที่พวกท็อปไม่เคยบอก แต่ทำแล้วเก่งขึ้นแน่นอน !

คนเรียนเก่ง เรียนดี เขาเรียนกันอย่างไร ? คำถามนี้บางคนอาจตอบสั้น ๆ ว่า ก็หัวดี เลยเก่ง

ซึ่งก็อาจมีส่วนถูก แต่ไม่ทั้งหมด เพราะมีคนเก่งอีกจำนวนหนึ่งไม่ได้หัวดีตั้งแต่เกิด แต่ก็เรียนเก่งได้เช่นกัน

ซึ่งเกิดจากนิสัยบางอย่างของพวกเขา นี่คือเคล็ดลับเหล่านั้น :

.

1. ทำการบ้านด้วยตัวเอง

คนที่เก่งส่วนมากทำการบ้านเอง เพราะการทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้าน ก็เหมือนการที่เราได้ลองเอาความรู้มาประยุกต์ใช้

ทำให้เรารู้ว่าเรายังอ่อนตรงไหนจะได้เสริมจุดนั้น บางคนอาจจะเถียงว่า เท่าที่เห็นคนเก่งก็ไม่ได้ทำการบ้านเอง

มาลอกเพื่อนก็เยอะแยะ แต่ต่อให้เขาไม่ได้ทำ เชื่อเถอะว่าเขาก็ได้ดูแล้ว

และได้มีการคิดในใจแล้วว่าเขาเข้าใจมัน และน่าจะหาคำตอบได้ไม่ยาก

เพียงแต่เขาอาจจะขี้เกียจเขียนลงไปเอง จึงไปลอกเพื่อน

.

2. ชอบท้าทายตัวเอง

คนเก่งจะชอบท้าทายตัวเอง เขาจะไม่รู้สึกว่าการได้ทำเท่า ๆ คนอื่นนั้นเพียงพอ ในการเรียนเรื่องหนึ่ง คนทั่วไป

อาจจะทำการบ้านเฉพาะที่ครูสั่ง หรือทำโจทย์เฉพาะที่อยู่ในหนังสือเล่มที่ครูใช้สอน แต่คนเก่งเขาจะไม่หยุดแค่นั้น

เพราะเขาจะหาหนังสือมาทำเพิ่มเติม แสวงหาข้อสอบต่าง ๆ ที่เป็นข้อสอบยาก ๆ โจทย์ยาก ๆ มาทำเพิ่มเติม

เหมือนเป็นการท้าทายตัวเองว่าจะทำได้หรือไม่ เพราะเขาทำแบบนี้ เขาจึงก้าวนำคนอื่นอยู่เสมอ

.

3. ไม่กั๊กความรู้

คนที่เก่งจริงจะไม่กั๊กความรู้ เพราะการอ่านเองะทำให้จำเนื้อหาได้ระดับหนึ่ง แต่วิธีที่ทำให้จำเนื้อหาได้นาน ๆ

และทำให้เข้าใจเนื้อหามากขึ้นได้ คือการสอนเพื่อน เพราะนอกจากคนสอนจะได้ทบทวนความรู้แล้ว

บางครั้งจะได้คำถามแปลก ๆ จากเพื่อน ทำให้คนสอนได้ไปอ่านทบทวน ทำให้เข้าใจเรื่องนั้น ๆ มากขึ้นด้วย

.

4. อ่านแบบเน้นเข้าใจ ไม่เน้นจำ

การเรียนแบบเน้นจำนั้นน้องจะจำได้แป๊บเดียวแล้วก็ลืม ดังนั้นคนที่เรียนเก่งจะเรียนด้วยวิธีการ “เข้าใจ” มากกว่าการท่องจำ

เพราะมันจะทำให้การเชื่อมโยงของเนื้อหา ความรู้จะถูกนำไปประยุกต์ใช้ได้ดีกว่า และจำได้นานกว่า

.

5. ชอบตั้งคำถาม

คนเรียนเก่งจะชอบตั้งคำถาม การตั้งคำถาม ไม่ใช่จะต้องยกมือถามในห้องแบบรัว ๆ

แต่อาจจะเป็นการตั้งคำถามกับตัวเองแล้วไปพยายามหาคำตอบเองก็ได้

การตั้งคำถามจะทำให้เราเข้าใจบทเรียนมากขึ้น เพราะเวลาเราตั้งคำถามขึ้นมา

นั่นแปลว่า ประเด็นนั้นเรายังไม่แน่ใจ หรือยังไม่เข้าใจอย่างแท้จริง

ดังนั้นการได้ค้นหาคำตอบของคำถาม ก็จะทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้นนั่นเอง

.

6. มีเป้าหมายที่ชัดเจน

คนเรียนเก่งทุกคนจะมีแพลนหรือมีเป้าหมายเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายว่าจะอ่านเรื่องนี้เพื่ออะไร

จะอ่านจนเข้าใจระดับไหน จนไปถึง จะแบ่งเวลาอ่านอย่างไร จะพักตอนไหน จะอ่านติดต่อกันนานขนาดไหน

เหล่านี้เป็นสิ่งที่คนเก่งจะต้องมีเสมอ เพื่อไม่ให้สะเปะสะปะ หรืออ่านแบบไร้จุดหมาย

หรืออ่านไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็พัก ถ้าอ่านแบบนั้น จะไม่มีวันเป็นคนเก่งได้เลย

.

7. ไม่คิดว่า ตัวเองเรียนไม่เก่ง

สิ่งที่คนเรียนเก่งทุกคนต้องมีคือ ความคิดในเชิงบวกว่า เราต้องทำได้ เราต้องเรียนเก่งให้ได้

เพราะเมื่อมีความมั่นใจหรือความคิดเหล่านั้นแล้ว มันจะเป็นแรงผลักดันให้ตั้งใจ ให้พยายาม

เพื่อที่จะทำให้เราเป็นคนเก่งให้ได้ในที่สุดนั้นเอง

.

ถ้าอยากเรียนเก่งต้องพยายามหัดนิสัยเหล่านี้ให้เคยชิน !

ที่มา : TIWTACTIC

 

อันดับ 128 ของโลก เปิดทุนเรียนฟรี ป.โท ‘Uppsala University’ ม.ดังสวีเดน ไม่มีค่าธรรมเนียมสมัคร

หากใครต้องการเปิดประสบการณ์เรียนต่อในประเทศที่มีการพัฒนาแบบไม่หยุดยั้ง ตอนนี้ ‘Uppsala University’ มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ กำลังเปิดรับสมัครนักศึกษาเรียนต่อ ป.โท อยู่ค่ะ ขอบอกก่อนว่าเค้ามีทุนเรียนฟรีให้ด้วย น่าสนใจขนาดนี้ ตามไปอ่านรายละเอียดกันเลยยย⁓

.

มาทำความรู้จัก ม.อุปซอลา!

Uppsala University (Uppsala Universitet) หรือ UU เป็นมหาวิทยาลัยในเมืองอุปซอลา ก่อตั้งเมื่อปี 1477 ซึ่งนับว่าเก่าแก่ที่สุดในสวีเดนและในประเทศกลุ่มนอร์ดิก รวมถึงเป็นหนึ่งในเครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดของยุโรปอย่าง Coimbra Group อีกด้วย

.

ในด้านการศึกษานั้น Uppsala University ครองอันดับ 4 ของประเทศและ 128 ของโลก (อ้างอิงจาก QS World University Rankings 2023) พ่วงด้วยตำแหน่งสมาชิก The Guild หรือกลุ่มมหาวิทยาลัยสายวิจัยระดับแนวหน้าของภูมิภาค // ขอบอกว่าที่นี่มีศิษย์เก่าที่เป็นเจ้าของรางวัลโนเบลถึง 15 คน และบุคคลสำคัญของโลกคนอื่นๆ อย่าง ‘Carl Linnaeus’ บิดาอนุกรมวิธานสมัยใหม่ และ ‘Anders Celsius’ ผู้คิดค้นหน่วยวัดอุณหภูมิ ฯลฯ ก็เรียนจบจากที่นี่เช่นกัน

.

ปัจจุบัน Uppsala University เปิดสอนระดับ ป.ตรี, ป.โท และ ป.เอก ครอบคลุม 3 สาขาหลัก ได้แก่

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities and Social Sciences)

แพทยศาสตร์และเภสัชศาสตร์ (Medicine and Pharmacy)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology)

.

Uppsala University Scholarships

ทางมหาวิทยาลัยมีทุนค่าเล่าเรียนเต็มจำนวน (ไม่รวมค่าครองชีพ) ให้กับนักศึกษาต่างชาติที่สมัครเรียนในหลักสูตรระดับปริญญาโทแบบ On-campus ซึ่งจะเริ่มเรียนในวันที่ 28 สิงหาคม 2023

.

ทุนแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้ (*สมัครได้มากกว่า 1 ทุน)

-Uppsala University Global Scholarship

-Uppsala University President's Club Scholarship

.

คณะที่เปิดรับสมัคร

อักษรศาสตร์ (Faculty of Arts)

ศึกษาศาสตร์ (Faculty of Educational Sciences)

ภาษาศาสตร์ (Faculty of Languages)

นิติศาสตร์ (Faculty of Law)

แพทยศาสตร์ (Faculty of Medicine)

เภสัชศาสตร์ (Faculty of Pharmacy)

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Faculty of Science and Technology)

สังคมศาสตร์ (Faculty of Social Sciences)

เทววิทยา (Faculty of Theology)

.

Note: ไม่พิจารณาให้ทุนในสาขาดังต่อไปนี้

-Joint Nordic Master's Programme in Environmental Law

-Turkic Studies

-Religion in Peace and Conflict

-Implementation, Transformative Learning and Sustainability

-Biology NABiS Nordic Master in Biodiversity and Systematics.

.

คุณสมบัติผู้สมัครทุน

1.เป็นพลเมืองของประเทศนอกกลุ่ม EU/EEA และสวิตเซอร์แลนด์ (คนไทยสมัครได้)

2.มีความสามารถทางวิชาการและสนใจที่จะเรียนรู้

3.ต้องสมัครเรียนในหลักสูตร ป.โท รวมทั้งชำระค่าสมัครและอัปโหลดเอกสารประกอบการสมัครเรียน ภายในเวลาที่กำหนด

4.มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของหลักสูตรที่สมัครเรียน

.

วิธีการสมัครทุน

1.สมัครเรียนในหลักสูตร ป.โท ที่เริ่มเรียนในเทอม Autumn 2023 (สามารถเลือกได้สูงสุด 4 อันดับ) ทางเว็บไซต์ https://www.universityadmissions.se/intl/start ภายในวันที่ 16 มกราคม 2023

2.เมื่อส่งใบสมัครเรียนแล้ว จะได้รับหมายเลขการสมัคร 8 หลัก **ให้จดไว้เพื่อใช้สมัครทุน

3.กรอกใบสมัครทุนและแนบ Motivation Letter ความยาวไม่เกิน 350 คำ ทาง https://www.uu.se/en/admissions/scholarships/uppsala-university/ (แบบฟอร์มสมัครทุนจะปรากฏในช่วงวันรับสมัคร)

.

Note:

-มหาวิทยาลัยจะพิจารณาให้ทุนจากเอกสารที่ส่งตอนสมัครเรียน (ไม่ต้องส่งเอกสารอื่นเพิ่ม)

-สมัครทุนได้มากกว่า 1 ประเภท

-ไม่มีค่าธรรมเนียมการสมัครทุน

.

ที่มา เด็กดี

 

ม.ดังด้านแพทย์ของไต้หวัน เผยทุนเรียนฟรี ป.โท/เอก Taipei Medical University

มาทำรู้จักกับมหา’ลัย ‘TMU’ กันดีกว่า!

.

Taipei Medical University ( 臺北醫學大學 ) หรือ ‘TMU’ ก่อตั้งเมื่อปี 1960 ในเขตซิ่นอี้ของเมืองไทเป ปัจจุบันมีทั้งหมด 12 คณะ (แยกเป็นหลักสูตรย่อยๆ อีกมากกว่า 96 สาขา) ทั้งในระดับ ป.โท (Master’s degree programs), ป.เอก (Doctoral programs) และบัณฑิตศึกษา (Graduate programs)

.

ด้านคุณภาพการศึกษา ‘TMU’ ก็ถือว่าโดดเด่น! จากการจัดอันดับในปีล่าสุดของ The 2023 QS World University Rankings อยู่ในอันดับที่ 384 ของโลก, อันดับที่ 95 ของเอเชีย และอันดับที่ 7 ของไต้หวันด้วยครับ

.

สาขาที่มีชื่อเสียงของ TMU เช่น สาขาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology) ติดอันดับที่ 169 ของโลก, สาขาอนามัยสาธารณะ, อนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวะอนามัย (Public, Environmental and Occupational Health) อยู่ในอันดับที่ 183, และสาขาเวชศาสตร์คลินิก ( Clinical Medicine) อยู่อันดับที่ 319 จากทั่วโลก (วิเคราะห์โดยสถาบันคลาริเวท Clarivate)

.

TMU มีโรงพยาบาลในเครือถึง 7 แห่ง ได้แก่ Taipei Medical University Hospital, Taipei Municipal Wanfang Hospital, Shuang Ho Hospital, Taipei Cancer Center, Taipei Neuroscience Institute, TMU Ning Bo Medical Center และ Hsin Kuo Min Hospital // รับรองว่าแน่นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจริง

.

ที่นี่ยังเป็นพันธมิตรทางการศึกษากับมหา’ลัยดังๆ ทั่วโลกมากมาย เช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) และมหา’ลัยชั้นนำในแถบเอเชีย อย่าง มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) รวมทั้งมหา’ลัยต่างๆ ในประเทศไทย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น

.

หมดห่วงเรื่องที่พักได้เลยครับ เพราะที่นี่เค้ามีหอพักที่ทันสมัย ดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ที่สำคัญมีหอพักสำหรับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะด้วย (International Student House) พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

.

หลักสูตรที่เปิดสอน

ปัจจุบันทาง ‘TMU’ เปิดสอนระดับป. โท และป.เอก ทั้งหมด 12 คณะ ดังต่อไปนี้

1.College of Medicine

2.College of Oral Medicine

3.College of Pharmacy

4.College of Nursing

5.College of Public Health

6.College of Medical Science and Technology

7.College of Humanities And Social Sciences

8.College of Management

9.College of Biomedical Engineering

10.College of Nutrition

11.College of Interdisciplinary Studies

12.Center for General Education

.

เรียนที่ ‘TMU’ ก็มีทุนแจกนะ! ทุน TMU Scholarship

ทางมหา’ลัยจะมอบทุนนี้ให้กับนักศึกษาระดับ ป.โท, ป.เอก และบัณฑิตศึกษา (Graduate programs) เป็นระยะเวลาสูงสุดถึง 23 เดือน นักศึกษาที่สนใจสามารถสมัครรับทุนนี้ได้ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี (ช่วงเดียวกับการลงทะเบียนเรียน) โดยที่ทางมหา’ลัยจะมอบทุนให้แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่กำลังศึกษา

.

ระดับ ป.โท : ได้รับค่าครองชีพรายเดือน 12,000 NTD/เดือน (~ 13,612 บาทไทย) และ ยกเว้นค่าเล่าเรียน

.

ระดับ ป.เอก : ได้รับค่าครองชีพรายเดือน 16,000 NTD/เดือน (~ 18,152 บาทไทย) และ ยกเว้นค่าเล่าเรียน

.

ระดับบัณฑิตศึกษา : ไม่ได้รับค่าครองชีพรายเดือน จะได้รับเพียงการยกเว้นค่าเล่าเรียนเท่านั้น

.

คุณสมบัติผู้สมัคร

1.คนไทยสามารถสมัครได้

2.มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดเกี่ยวกับนักศึกษาต่างชาติ "Regulations Regarding International Students Undertaking Studies in Taiwan"

3.มีวุฒิการศึกษา (Educational/Academic Qualification) ดังนี้

4.กรณีสมัครระดับ ป.โท = มีวุฒิ ป.ตรี หรือกำลังจะจบ ป.ตรี ภายในเดือน กรกฎาคม ปี 2023

5.กรณีสมัครระดับ ป. เอก = มีวุฒิ ป.โท หรือกำลังจะจบ ป.โท ภายในเดือน กรกฎาคม ปี 2023

.

เอกสารประกอบการสมัคร

1.ใบแสดงวุฒิการศึกษาสูงสุด (Degree Certificate)

2.ใบแสดงผลการศึกษา

3.สำหรับคนที่คาดว่าจะจบก่อนเดือนกรกฎาคม 2023 จำเป็นต้องยื่นใบคาดว่าจะจบ (Certificate of Expected Graduation) ที่ออกโดยสถานศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ ไม่เช่นนั้นทางมหา’ลัยจะไม่พิจารณาการสมัครใดๆ ทั้งสิ้น

4.เอกสารยืนยันสัญชาติ (ประกอบด้วยชื่อภาษาอังกฤษ วันเกิด เพศ และรูปภาพผู้สมัคร) เช่น Passport

ภาพถ่ายของผู้สมัคร (ภาพสี ไม่สวมเครื่องแต่งกายที่ปกปิดใบหน้าและศีรษะ และต้องถูกถ่ายภายใน 6 เดือน) ต้องส่งเป็นไฟล์ภาพ JPG เท่านั้น โดยรูปนี้จะถูกนำไปใช้เป็นรูปติดบัตรประจำตัวนิสิต

5.เรียงความแนะนำตัวเอง (Statement of purpose)

6.ประวัติย่อ (Resume)

7.ผู้สมัครควรส่งเอกสารระบุสถานะทางการเงินด้วย (ถ้ามี)

8.เอกสารอื่นๆ ของแต่ละสาขาที่ต้องการเพิ่มเติม

9.ใบแสดงผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ดังนี้

.

9.1ใช้เกณฑ์จาก CEFR

- ป. โท ไม่ต่ำกว่า B1

- ป. เอก ไม่ต่ำกว่า B2

9.2ใช้ผลสอบจาก TOEFL หรือ IELTS

.

ที่มา เด็กดี

 

“FUTURE FOOD FOR SUSTAINABILITY”

 โครงการ “FUTURE FOOD FOR SUSTAINABILITY” เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจในอาหารแห่งอนาคต ร่วมสร้างสรรค์เมนูอาหารภายใต้แนวคิด BCG ในคอนเซ็ปต์ “Plate to Planet” 

.

โครงการนี้มีผู้ร่วมสมัครแข่งขันทั้งหมด 2,018 ทีม และมีการประกาศผลการแข่งขันในวันที่ 13 ธันวาคม 2565

.

โดย ขนมชั้นแห่งอนาคต” จากทีมเลอชั้น ซึ่งประกอบด้วยนิสิต ศิษย์เก่า และอาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ 

.

ได้แก่ นิสิตปริญญาเอก นายนุติ หุตะสิงห บัณฑิตปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 อีก 2 คน นายศิริวัฒน์ จันทร์ธีรกูร และ น.ส.สุกฤตา สุขสำราญ และ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.ขนิษฐา ธนานุวงศ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากการแข่งขันอาหารแห่งอนาคตเพื่อความยั่งยืน 2022 (Future Food For Sustainability 2022) พิชิตเงินรางวัล 1,000,000 บาท ได้สำเร็จนอกจากนี้ เมนูนี้ยังได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่ใส่ในชะลอมสำหรับเสิร์ฟแก่ผู้นำและแขกผู้มีเกียรติ ในงานเลี้ยงรับรองของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2022 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอีกด้วย

.

ขนมชั้นแห่งอนาคต มีจุดเด่นดังนี้

.

ดีต่อกาย : ลดน้ำตาลลง 40% จากสูตรเดิม 

.

โดยไม่ต้องใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพราะใช้เทคนิคการปรับโครงสร้างขนมให้มีชั้นหวานสลับชั้นจืด และอาศัยความหวานตกค้าง (sweet aftertaste) จากชั้นหวาน ทำให้ลิ้นยังคงรับรสหวานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังเสริมใยอาหารกลุ่มพรีไบโอติก (prebiotic) ในเนื้อขนม เสริมจุลินทรีย์โพรไบโอติกสายพันธุ์พิเศษในครัมเบิ้ลมะพร้าว และเสริมโปรตีนมะพร้าวในซอสมะพร้าวเข้มข้นอีกด้วย

.

ดีต่อใจ : ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตา ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากดอกบัวในสระโบกขรณีจากวรรณคดีไทย นอกจากนี้ยังมีกลิ่นรส รสชาติ และเนื้อสัมผัสที่อร่อยและหลากหลายในจานเดียว เริ่มตั้งแต่เนื้อขนมชั้นที่นุ่มหนึบ หอมกลิ่นน้ำตาลสด เสริมด้วยซอสมะพร้าวเข้มข้นรสเค็ม-หวาน และครัมเบิ้ลมะพร้าวที่กรุบกรอบและหอมมันคล้ายมะพร้าวคั่ว ซึ่งเข้ากันได้อย่างลงตัว และยังคงเอกลักษณ์ของขนมไทยได้อย่างครบถ้วน

.

ดีต่อโลก : สีชมพูของดอกบัวได้มาจากสารสกัดของเปลือกผลแก้วมังกร ส่วนครัมเบิ้ลมะพร้าวถูกเตรียมจากผลพลอยได้จากการเคี่ยวหัวกะทิให้แตกมัน จึงเป็นการนำ food waste มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยิ่งไปกว่านั้น 

.

เมนูนี้ใช้วัตถุดิบจากพืชทั้งหมด (plant-based raw materials) ซึ่งเป็นการลดการปลดปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้มากกว่าการใช้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ และใช้วัตถุดิบหลักซึ่งผลิตในประเทศไทย จึงช่วยสนับสนุนเกษตรกรไทยได้อย่างเต็มที่

.

ที่มา: https://www.pptvhd36.com/health/news/2535

.

นักศึกษาปริญญาโท สหเวชฯ มธ. สร้างแอปฯ และอุปกรณ์ทดสอบการเดิน ประเมินการทำงานหัวใจ-หลอดเลือด

นักศึกษาปริญญาโท สหเวชฯ มธ. สร้างแอปฯ และอุปกรณ์ทดสอบการเดิน ประเมินการทำงานหัวใจ-หลอดเลือด

.

นักศึกษาปริญญาโท สหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ประดิษฐ์อุปกรณ์ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด คว้ารางวัลจาก SIFF 2022

มื่อเร็ว ๆ นี้ ผลงาน "Application and walking test device for cardiovascular endurance evaluation" แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ทดสอบการเดินเพื่อประเมินความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด โดย นัฐวุฒ เมฆฤทธิไกร นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Gold Prize จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์ในงาน Seoul International Invention Fair 2022 (SIFF 2022) ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี

นัฐวุฒ เมฆฤทธิไกร นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

.

เล่าถึงแนวคิดของนวัตกรรมนี้ว่า จากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ส่งผลให้มีปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น อย่างความสามารถในการทำกิจกรรมทางกาย ความทนทานของปอด หัวใจ และหลอดเลือด โดยจะมีการประเมินด้วยการเดิน 6 นาที หรือ 6MWT รวมถึงติดตามการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคทางระบบประสาท ผู้สูงอายุ และบุคคลทั่วไป เพื่อประเมินสมรรถภาพร่างกายเบื้องต้น

.

อย่างไรก็ตาม มักเกิดปัญหาจากการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการทดสอบ และการประเมินยังมีความคลาดเคลื่อน ดังนั้น เราจึงออกแบบและสร้างอุปกรณ์วัดระยะทางการเดิน โดยพัฒนาอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ทำงานร่วมกับแอปพลิเคชัน มาใช้ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด

.

นัฐวุฒ กล่าวต่อไปว่า Application and walking test device for cardiovascular endurance evaluation เป็นอุปกรณ์เซนเซอร์ที่สามารถวัดความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดได้ และมีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยและความแม่นยำสูงเมื่อเทียบกับวิธีการวัดแบบมาตรฐานด้วยการเดิน 6 นาที และยังพกพาสะดวก ใช้งานง่าย เชื่อมต่อด้วยวิธีไร้สาย ทำงานคู่กับโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ด้วยระบบปฏิบัติการ Android โดยทำการเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ และสามารถดูข้อมูลสถิติย้อนหลังเพื่อนำไปวิเคราะห์ได้ทันที

.

อุปกรณ์ประกอบด้วย 1. สายรัดข้อมือหรือข้อเท้า โดยมีเซนเซอร์วัดการเคลื่อนไหว ทำหน้าที่เปรียบเทียบกับแรงดึงดูดของโลกและให้ข้อมูลการวัดเป็นค่ามุมหรือค่ามุมเอียงเมื่อเทียบกับระนาบของโลก 2. วงจรไมโครคอนโทรลเลอร์ มีหน่วยประมวลผลอยู่ภายในจากเซนเซอร์วัดการเคลื่อนไหว 3. วงจรโมดูลสื่อสารบลูทูธระบบไร้สาย ใช้ในการส่งข้อมูลจากไมโครคอนโทรลเลอร์ ไปยังแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์ที่ใช้ระบบแอนดรอยด์

.

ซึ่งสามารถกรอกข้อมูลเบื้องต้น ตั้งค่าระยะทางเดิน แจ้งระยะเวลาที่เหลือ แสดงผลทางหน้าจอระยะทางการเดินได้

.

ในส่วนของแอปพลิเคชันทดสอบการเดิน จะต้องใช้ระบบ Android 4.3 ขึ้นไป โดยสามารถบันทึกข้อมูลของอาสาสมัครได้ อาทิ ชื่อ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง สัญญาณชีพ และระดับความรู้สึกเหนื่อย ระยะทางที่เดินได้ภายใน 6 นาที หลังเดินครบ 6 นาที ผู้ถูกประเมินจะทราบความสามารถในการทำกิจกรรมที่เป็นทางการ ความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดว่าอยู่ในระดับใด

.

ทั้งนี้ Application and walking test device for cardiovascular endurance evaluation ได้รับทุนจากโครงการพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) 2/2564 โดยได้นำเสนอในงาน 2022 The Joint symposium ระหว่างเครือข่ายความร่วมมือนานาชาติ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, Catholic University of Korea ประเทศเกาหลีใต้ และ National Defense Medical Center ไต้หวัน และ Oral presentation - proceedings งานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022)

.

#THESTUDYTIMES #TeenAgeNewsAgency #สำนักข่าววัยเรียน #GuidetoLearning #NewsFeed #KitNew #คิดนิว #ความคิดใหม่เริ่มได้ที่นี่

ศรุดา มาแรง เข้าตัดเชือก เทนนิสเยาวชน รายการ PTT – NSDF ประเภทหญิงเดี่ยว รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี

การแข่งขันเทนนิสเยาวชน รายการ “PTT – NSDF ลอนเทนนิสพัฒนาฝีมือ” ที่คัดเอาสุดยอดนักหวดเข้ามาแข่งขันในรอบมาสเตอร์ ประจำปี 2565 ณ ศูนย์พัฒนากีฬาเทนนิสแห่งชาติ เมืองทองธานี จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา เป็นรอบก่อนรองชนะเลิศ

.

ประเภทหญิงเดี่ยว รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ศรุดา สุดตา นักเทนนิสจากกรุงเทพฯ มืออันดับ 7 ของประเทศไทย และเป็นมือวางอันดับ 2 ของรายการ โชว์ฟอร์มการเล่นที่ดี ระเบิดฟอร์มเก่งออกมาหวดเอาชนะจาก ธมลพรรณ ก้อนเพชร จากสงขลา มืออันดับ 5 ของประเทศไทย ได้ 2-0 เซต 4-1 และ 4-0 ศรุดา ตีตั๋วสู่รอบตัดเชือกไปพบกับ ณิชากร บุญวิริยะ จากสงขลา ที่หวดชนะ จันทรรัตน์ ธรานิศร จากเชียงราย 2-0 เซต 4-0 และ 4-1

.

ด้านชายเดี่ยว รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ปัณณพรรธน์ นิ่มนวลกุล นักเทนนิสจากกรุงเทพฯ มืออันดับ 6 ของประเทศไทย (จัดอันดับรุ่น 10 ปี) เรียกฟอร์มเก่งออกมาหวดเอาชนะ กาญจน์นเรศร์ ครูศากยวงศ์ นักเทนนิสจากชุมพร มืออันดับ 7 ของประเทศไทย ได้ 2 เซตรวด 4-1 และ 4-0 ปัณณพรรธน์ ควงแร็กเกตคู่ใจทะยานสู่รอบรองชนะเลิศ ไปพบกับ ณัทกร ศิลปรัตน์ จากสุพรรณบุรี ที่เอาชนะ ฌาน เลาอมรพาณิชย์ จากกรุงเทพฯ 2-0 เซต 4-2 และ 5-4 ไทเบรก 7-3

.

ในส่วนผลการแข่งขันรอบก่อนรองชนะเลิศ คู่อื่น ๆ มีดังนี้ รุ่นอายุไม่เกิน 10 ปี ชายเดี่ยว ก้องภพ แซ่ลิ้ม (นครปฐม) ชนะ ธนดล เอี่ยมประเสริฐ (ชลบุรี) 4-1, 4-2 วริษฐ์ เลิศสินธพานนท์ (กทม.) ชนะ ขุน หวั่งหลี (กทม.) 4-0, 4-1 ส่วนหญิงเดี่ยว จิโฮะ ชิราอิ (ภูเก็ต) ชนะ ยูซูนะ ทานินากะ (ญี่ปุ่น) 4-1, 4-1 ลัลน์ลลิน วโรทยานนท์ (กทม.) ชนะ อาร์ภรนันท์ โซเฟีย แสงสุชาติ (กทม.) 5-4(2), 4-1

 

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า จัดทุนส่งเสริมการศึกษา (ประเภทเรียนดี) ให้แก่นักศึกษาใหม่ ทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ ที่เข้ามาศึกษาในหลักสูตรต่าง ๆ ของสถาบันฯ ทั้งหลักสูตรภาษาไทย หลักสูตรภาษาอังกฤษ และหลักสูตรนานาชาติ

.

สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ : https://tour.nida.ac.th/

.

ที่มา : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

.

โอกาสสำหรับนักประดิษฐ์หน้าใหม่ มาถึงแล้ว!!

โอกาสสำหรับนักประดิษฐ์หน้าใหม่ มาถึงแล้ว!!

.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา : Smart Invention & Innovation เพื่อเสริมสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นตลอดจนการเขียนข้อเสนอโครงงานสิ่งประดิษฐ์ได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้นักประดิษฐ์สายอาชีวศึกษาได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการวิจัยและ การประดิษฐ์คิดค้นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานในเชิงนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มสู่การใช้ ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และสังคมได้

.

ซึ่งเริ่มเปิดรับสมัครแล้ว ในละภูมิภาค สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมโครงการ บ่มเพาะนักประดิษฐ์ใน 4 ภูมิภาค ได้ที่ : https://www.nrct.go.th/fund/

.

ที่มา : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

.


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top