Saturday, 27 April 2024
NEWS

บนพื้นที่ 5 ไร่ทางตอนกลางของอังกฤษ แกวิน และ อลิซ มันโร สองสามีภรรยา กำลังช่วยกันทำให้คำว่า การทำธุรกิจแบบยั่งยืนที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ก้าวไปอีกระดับ

ด้วยการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ด้วยวิธีค่อยๆ “ดัดต้นไม้” จากต้น แล้วอดทนรอนานเป็นแรมปี กระทั่งต้นไม้นั้นมีรูปทรงตามต้องการ จึงตัดออกมาเพื่อวางจำหน่าย

สองสามีภรรยาคู่นี้มี “ฟาร์มเฟอร์นิเจอร์” อยู่ที่เมืองเดอร์บี้เชียร์ ที่ต้นไม้จำนวนมากกำลังเติบโต รอวันเปลี่ยนไปเป็น เก้าอี้ 250 ตัว, โคมไฟ 100 ดวง และ โต๊ะ 50 ตัว โดยเป็นวิธีผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ แกวิน และ อลิซ ต่างเห็นว่า สามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

“แทนที่เราจะปลูกต้นไม้ปล่อยให้โตไปสัก 50 ปี แล้วก็ตัดต้นไม้นำมาเลื่อย มาตัดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ สู้เรามาปลูกต้นไม้แล้วค่อยๆ ดัดทำให้มีรูปทรงตามที่เราต้องการเลยดีกว่า”

แกวิน เล่าว่า ส่วนหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจทำให้เกิดไอเดียนี้ เริ่มจากตอนเด็กๆ เขาเคยเห็นต้นบอนไซที่มีรูปทรงคล้ายเก้าอี้ ส่วนแรงบันดาลใจอีกอย่างมาจาก เขามีปัญหากระดูกสันหลังคดมาตั้งแต่เกิด ทำให้ตอนเด็กต้องใส่เสื้อเกราะเพื่อดัดกระดูกสันหลังอยู่นานหลายปี

“ทีมแพทย์ พยาบาล ที่ดูแลผมสุดยอดมาก การได้เห็นการทำงานที่เต็มไปด้วยความสามารถ และความมีเมตตาของพวกเขา ทำให้ผมประทับใจมาก แล้วผมก็อยากนำความสามารถของผม บวกกับความห่วงใยที่ผมมีต่อโลก มาทำสิ่งที่ผมกำลังทำอยู่นี้”
 

แกวิน เล่าว่า เขาเริ่มทดลองปลูกต้นไม้บนที่ดินแปลงเล็กๆ ของเขาในพีกดิสทริกต์ ซึ่งตั้งอยู่ในตอนกลางของอังกฤษ เมื่อปี 2549 แล้วค่อยๆ ฝึกดัดเป็นเก้าอี้ แต่พอแต่งงานกับ อลิซ เมื่อปี 2555 หลังจากนั้น 1 ปีต่อมา ทั้งสองจึงตั้งบริษัท Full Grown เพื่อทำเป็นธุรกิจอย่างเต็มตัว
.
ซึ่งในช่วงแรกๆ แกวิน เล่าว่า ก็เจออุปสรรค เจอความเสียหายไม่น้อย เพราะต้นไม้ที่ปลูกไว้ บางทีก็มีวัวเป็นฝูงเข้ามาเหยียบย่ำ หรือไม่ก็ถูกกระต่ายเข้ามากินบ้าง ระหว่างเรียนรู้ ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ

แกวินและภรรยา ก็ค้นพบวิธีที่เวิร์กที่สุดที่จะดัดต้นไม้ โดยไม่ขัดขวางการเจริญเติบโตของมัน ว่า คือการลงมือดัดกิ่งก้านของต้นไม้ หลังจากปล่อยให้กิ่งก้านเหล่านั้นได้เลื้อย หรือชี้ไปในทิศทางตามธรรมชาติของมันก่อน ซึ่งดีกว่าจะไปบังคับ หรือฝืนทิศทางตามธรรมชาติของกิ่งก้านเหล่านั้น

ด้วยความที่กว่าจะได้เก้าอี้สักตัว เฟอร์นิเจอร์สักชิ้น ต้องใช้ทั้งแรงงาน ฝีมือ และเวลา ดังนั้น เฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นของ Full Grown จึงมีราคาสูง อย่างเช่น เก้าอี้ มีราคาขายตัวละ 10,000 ปอนด์ โคมไฟ ราคาตั้งแต่ 900-2,300 ปอนด์ โต๊ะ ราคาตั้งแต่ 2,500-12,500 ปอนด์

แกวิน เล่าว่า กว่าจะได้เก้าอี้แต่ละตัว ต้องใช้เวลาในการปล่อยให้ต้นไม้เติบโตโดยเฉลี่ยราว 6-9 ปี จากนั้นต้องใช้เวลาอีก 1 ปี เพื่อปล่อยให้แห้ง โดยงานที่ใช้เวลานานที่สุดที่บริษัทเคยรับมาก็คือ งานที่มีกำหนดส่งมอบให้ลูกค้าในปี 2573 เป็นเก้าอี้ที่ลูกค้าสั่งทำเอาไว้นั่ง ในวันที่เกษียณงาน

จากข่าวไฟไหม้ป่าอะเมซอน และประเด็นปัญหาโลกร้อน แกวิน บอกว่า

“คุณรู้ถึงความเสียหายที่พวกเราทำต่อป่า แต่ตอนนี้พวกเราเพิ่งเริ่มเข้าใจมันจริงๆ และวิธีที่เราทำเฟอร์นิเจอร์ของเราก็เป็นวิธีที่ตรงข้าม เพราะเราใช้วิธีแบบโบราณในยุคหิน”

ทั้งนี้ ชาวโรมันโบราณ คนจีน คนญี่ปุ่น ต่างเป็นที่รู้กันดีว่า สามารถดัดต้นไม้เป็นรูปทรงต่างๆ แกวินและอลิซ ตั้งเป้าว่า จะสามารถปลูกต้นไม้ที่สามารถใช้งานได้ภายในปีนี้

ส่วนในระยะยาว พวกเขาอยากจะซื้อฟาร์มอีกสักแห่ง ที่สามารถใช้เป็น ศูนย์กลางทดลอง ที่พวกเขาสามารถเผยแพร่ความรู้ของเขาแก่ผู้อื่น ด้วยการให้คำแนะนำ ปรึกษา
 

Business Traveller เผย “กรุงเทพฯ” ครองแชมป์เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิกต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และเข้ามาเป็นอันดับ 3 ในสาขาเมืองธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชียอีกด้วย

Business Traveller สื่อธุรกิจท่องเที่ยวชื่อดัง ประกาศรายชื่อ ผู้ชนะรางวัลด้านการท่องเที่ยวรางวัล Business Traveller Asia-Pacific ที่จัดขึ้นเป็นปีที่ 31 ซึ่งได้รับการโหวตจากผู้อ่าน Business Traveller Asia-Pacific โพลสำรวจเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา โดยผลลัพธ์ที่รวบรวมโดยหน่วยงานวิจัย Business Intelligence

สำหรับในปีนี้ “กรุงเทพฯ” สามารถคว้าอันดับหนึ่ง รางวัล Business Traveller Asia-Pacific Awards 2022 ในสาขา “เมืองท่องเที่ยวพักผ่อนที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก” (Best Leisure City in the Asia-Pacific) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 และเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 3 ในสาขา เมืองธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชีย

 

นอกจากนั้น “การบินไทย” ยังได้รับเลือกเป็นอันดับสามในรายการ “สายการบินยอดเยี่ยมแห่งเอเชียแปซิฟิก” รองจากสิงคโปร์แอร์ไลน์และคาเธ่ย์แปซิฟิค โดยทั้งสามอันดับเป็นสายการบินสามอันดับแรกที่ยังรักษาตำแหน่งไว้ได้คงที่ในปีที่ผ่านมา
 

รวมถึง “โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ” ยังได้รับรางวัลโรงแรมธุรกิจที่ดีที่สุดในเอเชียแปซิฟิก และได้รับรางวัลโรงแรมธุรกิจยอดเยี่ยมอันดับสองของโลกอีกด้วย โดยโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ อยู่ในอันดับต้น ๆ ของ “โรงแรมธุรกิจที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ” รองลงมาคือแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ในอันดับที่สอง และโรงแรมเจดับบลิวแมริออท กรุงเทพฯ ในอันดับสาม

 วันที่ 23 ต.ค 65 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษก ตร. เปิดเผยว่า พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ชื่นชมผลงานของ “นักเรียนนายร้อยตำรวจ”

ตัวแทนจากชมรมไซเบอร์ จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่คว้ารางวัลชนะเลิศ Thailand Cyber Top Talent 2022 การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับประเทศ รายการ Thailand Cyber Top Talent 2022 ที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซากรุงเทพมหานคร 
.
เมื่อวันที่  22 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีทีมนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปจากทั่วประเทศ เข้าร่วมการแข่งขัน 393 ทีม และมีทีมที่เข้ารอบสุดท้าย 30 ทีม 
.
โฆษก ตร. เผยว่า การแข่งขันแบบ CTF Jeopardy ในรูปแบบ Attack The Virtual World โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลองด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องรอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี 
.
โดยทีมจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และโรงเรียนนายร้อยตำรวจผ่านเข้ารอบสุดท้าย 3 ทีม
 “ผลการแข่งขันในระดับอุดมศึกษา หรือ Senior ทีม Rebooster ตัวแทนจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ คว้าแชมป์ประเทศไทย ทำคะแนนได้ 2,100 คะแนน ได้รับโล่รางวัล เหรียญรางวัล และเงินรางวัล 90,000 บาท โดยสมาชิกในทีมประกอบด้วย นรต.ทัศไนย มานิตย์ หรือ ต้น ชั้นปีที่ 3 , 
.
นรต.วรรณกร นุ่นประดิษฐ์ หรือ เอิร์ธ ชั้นปีที่ 3 และ นรต.สุดฤทธิ์ วงษ์สุวรรณ หรือ สุดริด ชั้นปีที่ 2” พล.ต.ต.อาชยน กล่าวต่อว่า ทีม blueberry จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้อันดับที่ 2 ทำคะแนนได้ 1,900 คะแนน ทีม RedCheep จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้อันดับที่ 3 ทำคะแนนได้ 1,870 คะแนน ทีม Chicken Field จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้อันดับที่ 4 ทำคะแนนได้ 1,590 คะแนน และ ทีม 4ucky จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้อันดับที่ 5 ทำคะแนนได้ 1,380 คะแนน 
.
โดยทีม Rebooster จาก รร.นรต. จะเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2022 หรือ การแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ในระดับอาเซียน ที่ประเทศญี่ปุ่น ต่อไป
.

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา) ในฐานะประธานเครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (Thailand Carbon Neutral Network หรือ TCNN) เป็นประธานการประชุมคณะผู้บริหารกรรมการ

เครือข่ายฯ (Council Board) ประจำปี 2565 โดยมี นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (กลาง) นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กรและความยั่งยืน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ขวา) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรรมการเครือข่ายฯ และผู้บริหารกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมการประชุม เพื่อสรุปผลความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา โดยคณะกรรมการฯ ได้หารือถึงแผนการดำเนินงานให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของ TCNN ในการเป็น “เครือข่ายแกนนำของประเทศไทยสู่การบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero” อีกด้วย

นาซา (NASA) เตรียมใช้ “หุ่นยนต์ผ่าตัด” ชื่อว่า “MIRA” บนดวงจันทร์ในสถานีอวกาศปี 2024 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาในพื้นที่ห่างไกล

แม้ว่านักบินอวกาศจะเตรียมตัวเป็นอย่างดีก่อนออกนอกโลก ทั้งน้ำ อาหาร และอุปกรณ์หยูกยาต่าง ๆ แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพวกเขายังคงเป็นมนุษย์ที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย ยามเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นผู้บุกเบิกเหล่านี้อาจต้องการการรักษาพยาบาล แต่บางเรื่องก็ทำได้ยากเพราะเราไม่มีโรงพยาบาลในอวกาศ

 

เราเคยเห็นในภาพยนตร์ Sci-Fi ที่ใช้ AI หรือหุ่นยนต์ เทคโนโลยีที่ล้ำหน้ารักษานักบินอวกาศ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ได้เกิดขึ้นแล้ว เนื่องจาก นาซา (NASA) เพิ่งเซ็นสัญญากับบริษัทสตาร์ตอัปที่ผลิต “หุ่นยนต์ผ่าตัด” เพื่อจะเอาหุ่นยนต์ผ่าตัดไปประจำภารกิจระยะยาวที่ดวงจันทร์ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ขั้นตอนการพัฒนาและจะเริ่มใช้ในปี 2024 แทนบุคคลากรทางแพทย์ที่เป็น “มนุษย์” 

 

หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้เป็นของบริษัท Virtual Incision Corporation ชื่อรุ่นว่า “MIRA” ย่อมาจาก Miniaturized In-Vivo Robotic Assistance ซึ่งมีความพิเศษกว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดที่ใช้ในกันหลายปีมานี้ ตรงที่ เจ้า MIRA มีขนาดเล็กกว่าหุ่นยนต์ของบริษัทอื่น ๆ 

 

กล่าวคือ องค์ประกอบของหุ่นยนต์เป็นเพียงแค่แขนชิ้นเล็ก ขนาดกะทัดรัด มีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม เหมาะแก่การไปอยู่บนสถานีอวกาศกว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดรุ่นอื่น ๆ ที่ตัวใหญ่และเทอะทะ ไม่เหมาะจะทำงานในที่แคบ 

 

การทำงานของ MIRA จะทำงานจากระยะไกล ผ่านการควบคุมการผ่าตัดของศัลยแพทย์ที่อยู่ในโลก ทางด้านบริษัท Virtual Incision Corporation ยืนยันว่า MIRA ที่กำลังพัฒนาจะไปอยู่บนสถานีอวกาศเป็นแบบอัจฉริยะ ซึ่งสามารถทำหน้าที่ผ่าตัดเองได้แบบไม่ต้องควบคุม เพียงแค่ป้อนคำสั่งก็ทำงานได้เลยดังเช่นในภาพยนตร์ที่เราเห็น 

 

ขณะเดียวกันการสร้าง “หุ่นยนต์ผ่าตัด” ที่สามารถควบคุมระยะไกลได้ในอวกาศนั้นก่อให้เกิดข้อถกเถียงขึ้นมาว่า 

 

อีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ช่วยโลกกับการ "ต่ออายุหลอดพลาสติก" ที่ต่อยอดจากการนำ "หลอด" ที่ใช้แล้วไปผลิตเป็น "หมอนไส้หลอด" เพื่อผู้ป่วยแผลกดทับของ

"มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน" และ "ศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม" ไปสู่ความร่วมมือกับ "สถาบันนวัตกรรม ปตท." นำมา Upcycling กลายเป็นสินค้าฝีมือชุมชน เพื่อหวังกระจายรายได้ และช่วยลดขยะหลอดได้ถึง 646 กก.

"หลอดพลาสติก" ขยะชิ้นเล็กที่กลายเป็นปัญหาใหญ่ไปทั่วโลก จากการใช้งานราว 500 ล้านชิ้นต่อวันด้วยเวลาอันสั้นก่อนกลายเป็นของเสียที่ถูกทิ้งและยังย่อยสลายช้ากว่า 200-300 ปี นั่นจึงทำให้ "มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน" จับมือกับ "สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)" และ "ศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม คณะสถาปัตยกรรม ม.เกษตรศาสตร์" ร่วมกันคิดหาทางยืดเวลาการใช้งานของ "หลอด" จนกลายเป็น "โครงการต่ออายุหลอดพลาสติก" นำหลอดที่ใช้แล้วมาปรับปรุงคุณสมบัติให้เกิดความยืดหยุ่นในรูปแบบวัสดุใหม่ (Upcycling) และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้เป็นวัสดุทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ

ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อจากโครงการที่ "มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน" ได้รณรงค์นำขยะหลอดพลาสติกใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เพื่อสร้างความรู้ความตระหนักและช่วยลดปัญหา ไปสู่การเปิดรับบริจาคหลอดเพื่อจัดทำหมอนไส้หลอดในการป้องกันแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง ตั้งแต่ปี 2563 จนสามารถลดขยะหลอดพลาสติกได้ราว 1,276,000 หลอด หรือ 646 กิโลกรัม และยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 93 ต้นเลยทีเดียว

 

ดร.จิระวุฒิ จันเกษม นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. เล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้เกิดมาจากปัญหาหมอนไส้หลอดที่ทางมูลนิธิพลังที่ยั่งยืนได้ผลิตไปก่อนหน้านี้เสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้อีก จึงได้มีการคุยกันและทางสถาบันฯ ซึ่งเป็นหน่วยที่ทำการวิจัยและพัฒนาก็เล็งเห็นถึงความตั้งใจของผู้ที่อยากบริจาคหลอดมาเพื่อลดขยะและอยากทำให้เกิดประโยชน์ จึงเห็นว่ามันน่าจะทำประโยชน์ได้ต่อจนนำเอาหลอดเหล่านั้นมาพัฒนาให้กลายเป็นวัตถุดิบอื่นๆ

"ในส่วนของงานวิจัยมันคือการเปลี่ยนของเสียที่มองว่าเป็นวัตถุดิบ พยายามทำให้เกิดเป็นวัสดุหรือของที่เอาไปใช้ประโยชน์ต่อ ถ้าเราเปลี่ยนมาเป็นแค่แผ่น หรือเส้นพลาสติกธรรมดามันยากมากที่คนจะเอากลับไปใช้ สิ่งที่ขาดอยู่ก็คือการออกแบบและเปลี่ยนให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์จริงๆ เพื่อให้สามารถที่จะเอาไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องมีคนที่ช่วยพัฒนา" ดร.จิระวุฒิเล่าถึงความร่วมมือกับศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

นักวิจัยอาวุโส สถาบันนวัตกรรม ปตท. ยังมองถึงปัญหาของขยะหลอดพลาสติกที่เป็นเพียงขยะชิ้นเล็ก หลอด 1 ชิ้น มีขนาดแค่ไม่กี่กรัม หากจะนำไปรีไซเคิลจะไม่คุ้ม และยังยากในกระบวนการ ทั้งการแยก ทำความสะอาด และรวบรวม จึงกลายเป็นของเสียตัวหนึ่งที่ถูกละเลยจนเกิดผลกระทบต่อสัตว์ในทะเลและพื้นดินเป็นวงกว้าง

"เราไม่ต้องมาผลิตพวกนี้ก็ได้นะ ถ้าคุณใช้หลอดแล้วล้างเก็บไว้ใช้อีกเพราะการแก้ปัญหาขยะจริงๆ มันควรจะเป็นการลดใช้ มากกว่าเปลี่ยนรูป แต่ยังไงก็ตามเราก็ไม่มีทางที่จะลดจนหมดไปได้ อันนี้เราเสนอทางเลือกเสริมขึ้นมาว่า ในขณะที่ถ้าทุกคนจะยังรณรงค์ลดขยะ การใช้ซ้ำ แต่มันก็ยังมี เราก็เลยเอาอันนี้มาเปลี่ยนมาเป็นวัตถุดิบใหม่แทนการทิ้งเป็นขยะไป แต่ก็ต้องยอมรับว่าอายุการใช้งานอาจไม่เท่ากับพลาสติกใหม่"

ส่วนกระบวนการแปรรูปนั้น ดร.จิระวุฒิเล่าว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติกทุกตัวเริ่มต้นก็ต้องทำให้เกิดเป็นเม็ดพลาสติกก่อนนำไปสู่กระบวนการขึ้นรูป หลอดก็เช่นกัน ระยะเวลาการผลิตมันไม่ใช่ 5 นาที แต่เวลาเราใช้งานเราดูดน้ำเสร็จก็ทิ้งแล้ว อายุการใช้งานมันสั้นมาก ซึ่งในส่วนของทีมพัฒนาและวิจัย รับผิดชอบในการเปลี่ยนหลอดให้เป็นวัสดุ ทั้งแผ่นพลาสติกขนาดบาง และขนาดหนา รวมทั้งวัสดุที่เป็นเส้น เพื่อให้ฝ่ายออกแบบลองพิจารณาว่าชิ้นนี้มีความเหมาะสม น่าสนใจพอที่จะไปทำเป็นผลิตภัณฑ์แล้วหรือยัง ถ้ามีจุดไหน เช่น แข็ง-นิ่มมากเกินไป ก็จะนำกลับมาพัฒนาต่อในงานวิจัย

 

นอกจากนี้ ทางโครงการยังได้ร่วมมือกับหลายชุมชนใน จ.พระนครศรีอยุธยา และนราธิวาส ในการผลิตเป็นงานฝีมือต่างๆ ซึ่งทางสถาบันนวัตกรรม ปตท.ได้ส่งวัสดุไปยังทีมออกแบบเพื่อให้สื่อสารกับชุมชนต่างๆ เพื่อดูผลก่อนส่งกลับมาให้ทีมวิจัยได้ทำการบ้านเพื่อพัฒนาต่อ โดย ดร.จิระวุฒิอธิบายถึงความร่วมมือนี้ว่า เรื่องขยะเป็นเรื่องใกล้ตัว ถ้าชาวบ้านเห็นถึงปัญหามันอาจจะเกิดการรณรงค์ในเรื่องของการแยกและการจัดการขยะ นอกจากนี้ยังอยากให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่หลายๆ ชุมชนด้วย มันก็จะเพิ่มโอกาสและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดได้

"เวลาเราทำพวกนี้คนจะถามว่าทำไมมันแพง ก็อย่าลืมว่า หลอด 1 อันมีขนาด 0.2 กรัม กว่าจะรวบรวม มาทำความสะอาด หาวิธีแปลงกลับมาเป็นเส้นเพื่อที่จะเอากลับมาสาน มันมีขั้นตอนมีกระบวนการที่บางครั้งคนอาจจะลืมไป คิดแค่ว่ามันเป็นขยะ"

 

ด้าน รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ซึ่งได้ร่วมมือกับมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน มาตั้งแต่ต้นของการทำหมอนไส้หลอดในการป้องกันแผลกดทับผู้ป่วยติดเตียง จนมาถึงโครงการนี้ที่ได้ร่วมงานกับทางสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ก็เล่าถึงโจทย์ที่ท้าทายจากการแปลงหลอดเป็นวัตถุดิบใหม่ที่ชุมชนทำได้ว่า ในช่วงต้นได้ให้ลองทำเทคนิคทั้ง การตัด การป่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ การรีดเอง การเอาแผ่นวัสดุมาซ้อนทับกันแล้วอัดขึ้นรูปใหม่ (Laminate)

"พอทำไปสักพักแล้ววัสดุที่ทำขึ้นมามันเย็บยาก ไม่แข็งแรง แม้ทำได้แต่การยืดอายุมันก็ได้อีกแค่นิดเดียว จึงเริ่มคิดว่า จริงๆ แล้วเราควรทำอะไรที่ไม่ให้ชุมชนทำ 100% เลยได้ไหม จากความร่วมมือของมูลนิธิพลังที่ยั่งยืน กับสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แล้วทางศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมเป็นตัวเชื่อมในการออกแบบชิ้นงานขึ้นมา"

นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการแปลงพลาสติกที่มาจากการรีดด้วยชุมชนแล้วเอาไปเป็นวัสดุที่แข็งแรงขึ้นแล้วเอาไปทำทั้งเส้น และ แผ่นหลายรูปแบบ โดย รศ.ดร.สิงห์เล่าว่า ได้นำไปทดลองที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อหาชุมชนที่ทำได้ มีการศึกษากันราว 2-3 ปี มีการปรับขนาดเส้นพลาสติก ความนุ่ม เหนียว เบา มาเรื่อยๆ แล้วแต่ที่ทางทีมวิจัยจะลองทดสอบลงมา รวมถึงเรื่องสี และการทำหวายเทียม ก็มีการทดลองหลายอย่างให้ชุมชนได้เห็นด้วยกัน


"เรามีการปรับการออกแบบให้เข้ากับชุมชนตลอดเวลา เพราะบางที่ถึงเขาจะถนัดสาน แต่พอเปลี่ยนรูปแบบเส้นพลาสติกแล้วเขาควบคุมไม่ได้ให้แบบที่เขาเคยถนัด เราจึงเปลี่ยนวิธีมาใช้ชุมชนที่ถนัดการสานหลายๆ ชุมชนเพื่อให้แต่ละแห่งดูว่ามีที่ใดจะค้นพบเทคนิคที่น่าสนใจบ้าง เพื่อมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป"

 

ในส่วนของการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ อธิบายว่า เดิมชุมชนนั้นๆ ทำกระเป๋าอยู่แล้ว จึงเริ่มให้นำไปสานเป็นกระเป๋าก่อนเพื่อดูว่าถ้าเปลี่ยนวัสดุแล้วยังทำได้สวย มีคุณภาพได้อยู่หรือไม่ ในขณะเดียวกันก็มีทีมออกแบบสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับของตกแต่งบ้านขึ้นมา เช่น ตะกร้าขนาดใหญ่ กระถางต้นไม้ ที่สวมแจกัน เพื่อให้ชุมชนเห็นว่าจากกระเป๋ามันแปลงเป็นอะไรได้บ้างในเทคนิคเดียวกัน

โดย รศ.ดร.สิงห์บอกว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการนำผลงานเหล่านั้นมาขาย เพราะเพิ่งจะปิดโครงการในการฝึกฝนชุมชน ซึ่งกำลังปรึกษากันว่าจะต่อยอดทำอะไรให้กลายเป็นรายได้เสริม แต่ตอนนี้ชุมชนต่างๆ เริ่มคุ้นกับการใช้งานเส้นพลาสติกแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะมีการออกแบบจริงๆ และน่าจะมีดีไซเนอร์หลายคนมาร่วมงานมากขึ้น ส่วนในแง่ของราคานั้น มันเป็นช่วงต้น จึงยังไม่ได้สรุปกัน แต่เท่าที่พบมาด้วยความที่ทุกอย่างเป็นต้นแบบหมด ราคาจะสูงกว่าปกติอยู่ จึงคาดหวังว่าเมื่อเขาคุ้นกับเส้นเหล่านี้ในปีที่ 2-3 ราคาน่าจะเป็นปกติเหมือนผลิตภัณฑ์ทั่วไป

 

รวมไปถึงกลุ่มผู้ซื้อที่สนใจสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นวัยรุ่น หรือคนทำงาน แม้ว่าจะสนใจในเรื่องราวที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การเก็บหลอดล้างและยอมเสียเงินส่งมาให้ชุมชนไปผลิตต่อ แต่ปัจจุบันหน้าตาของผลิตภัณฑ์มันยังคล้ายกับของเดิมอยู่ ซึ่ง หัวหน้าศูนย์สร้างสรรค์สิ่งแวดล้อม ม.เกษตรศาสตร์ ก็ยอมรับว่าถ้าเป็นเช่นนี้ก็อาจจะยังไม่ถึงเวลาที่จะเปิดตลาดออกมาขายจำนวนมาก
 

"ต้องเข้าใจก่อนว่า เราต้องการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ซึ่งถ้าจะไปให้เร็วกว่านี้ เราเอาดีไซเนอร์, SMEs มาเข้าสู่กระบวนการใช้เศษวัสดุ ใช้เส้นพลาสติกแบบนี้ ก็จะเห็นผลงานที่เป็นมืออาชีพและสวยงามอย่างรวดเร็วมาก แต่ด้วยกระบวนการเราก็จะเน้นให้ชุมชนทำได้เป็นหลักแล้วค่อยเรียนรู้จักวัสดุ เปลี่ยนแนวความคิด เปลี่ยนวิธีการ ซึ่งต้องใช้เวลา"

 

นายณรงค์ไชย  ปัญญไพโรจน์  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction  Program : T-VER) กับ  ดร.พฤกษ์  อักกะรังสี  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ  คุณอานนท์ ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด

.

การลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของบริษัท ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV  ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือเพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER  ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2565 ที่ ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น

ประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม ประจำปี พ.ศ. 2565 ให้แก่ นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  ในโอกาสที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยองผ่านการตรวจประเมินและได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากกระทรวงอุตสาหกรรม

 

โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง นับเป็นส่วนการผลิตที่สำคัญยิ่งต่อวงจรอุตสาหกรรมด้านพลังงานในประเทศ ทั้งยังสร้างนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกภาคส่วน โดยล่าสุดได้ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมนำความเย็นที่เกิดจากกระบวนเปลี่ยนสถานะของก๊าซฯ จากกระบวนการผลิตมาปรับใช้เพาะปลูกพืชเมืองหนาว คือสตรอว์เบอรี่พันธ์ “Akihime” ที่โรงเรือนอัจฉริยะ  ณ  สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพฯ จ.ระยอง ซึ่งให้ผลผลิตตลอดทั้งปี

 

ด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ของ ปตท. คือ “ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” หรือ “Powering Life with Future Energy and Beyond” กล่าวได้ว่า ปตท. ได้สนับสนุนนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและสร้างคุณค่าต่อสังคมไทยและประเทศอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด

นักวิทย์ประณาม ห้องแล็บในสหรัฐฯ 'เล่นกับไฟ' เอาเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่นแบบดั้งเดิม มาผสมกับโอมิครอน จนเกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ล่าสุด ที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอัตราการเสียชีวิตถึง 80%

เมื่อวันที่ 18 ต.ค. 65 เว็บไซต์ข่าวเดลี่เมล รายงานอ้างคำเปิดเผยของศาสตราจารย์ชามูเอล ชาปีรา นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของรัฐบาลอิสราเอล ที่กล่าวประณามนักวิจัยของห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบอสตัน ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ ของสหรัฐฯ ที่ทำการทดลองเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ไฮบริด ที่เกิดจากการสกัดหนามโปรตีนของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมิครอน ที่มีอัตราการแพร่เชื้อเร็วสูงสุด มาตัดแต่งเข้ากับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ดั้งเดิมที่พบในเมืองอู่ฮั่น โดยใช้ชื่อว่า 'โอมิครอน-เอส'
.
นักวิทยาศาสตร์ของอิสราเอลระบุว่า การทดลองนี้เรียกได้ว่าเป็นการ 'เล่นกับไฟ' ที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นเลย เพราะจากการทดลองกับหนูจำนวน 10 ตัวที่ได้รับเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่เพาะออกมาในห้องทดลองนี้ ปรากฏว่าหนูตายไป 8 ตัวจากจำนวนทั้งหมด 10 ตัว คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 80% 
.
รายงานข่าวระบุว่า การเปิดเผยครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงอันตรายที่ยังคงดำเนินต่อไปจากการทดลองในห้องแล็บสหรัฐฯ ท่ามกลางความหวาดวิตกว่าอาจเกิดการหลุดรอดออกมาของเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการแพร่ระบาดครั้งใหญ่อีกรอบ แม้ว่าการทดลองเพาะเชื้ออันตราย อย่างงานวิจัยที่พยายามสร้างซูเปอร์ไวรัสขึ้นมาเพื่อศึกษาว่ามันจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้อย่างไรได้บ้าง (Gain of Function research) ได้ถูกสั่งห้ามในสหรัฐฯ นับตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา ขณะที่มีความเชื่อกันว่า เชื้อไวรัสโคโรนาที่ทำให้เกิดการระบาดไปทั่วโลก มีต้นตอมาจากตลาดค้าสัตว์ป่า ที่อยู่ไม่ไกลจากห้องทดลองวิจัยเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ของจีน
.
นายแพทย์ริชาร์ด อีไบร์ท นักเคมีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส ในเมืองนิว บรันสวิก รัฐนิวเจอร์ซีย์กล่าวว่า หากโลกต้องการปกป้องไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากห้องแล็บครั้งใหม่ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องสอดส่องไม่ให้เกิดการวิจัยซูเปอร์ไวรัสอันตรายขึ้นมาอีก
.
ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2529533
https://ch3plus.com/news/international/frontpagenews/315895

สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผยผลการศึกษาจากสถาบันวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NIEHS) ที่เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ (17 ต.ค.) พบว่า น้ำยายืดผมอาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หากใช้บ่อยครั้ง

อเล็กซ์ซานดรา ไวท์ หัวหน้าทีมวิจัยจาก NIEHS เผยว่าทีมวิจัยคาดว่าผู้หญิง 1.64% ที่ไม่เคยใช้น้ำยายืดผมมีควาเสี่ยงเกิดมะเร็งปากมดลูกช่วงอายุ 70 ปี แต่หากใช้บ่อยจะเกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก 4.05%

ทั้งนี้ ทีมวิจัยได้ติดตามผู้หญิงจากหลากหลายเชื้อชาติทั้งหมด 33,947 คน เป็นระยะเวลาเกือบ 11 ปี มีช่วงอายุระหว่าง 35-74 ปี และพบว่าผู้หญิง 378 คนเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก
 
หลังจากสำรวจปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ในผู้เข้าร่วมทดสอบ พบว่า อัตราการเกิดมะเร็งปากมดลูก จากน้ำยายืดผมมีมากกว่าปัจจัยอื่นถึง 2 เท่า และเสี่ยงสูงเป็น 4 เท่าเมื่อปีก่อน และแม้ใช้ยายืดผมน้อยครั้ง เมื่อปีก่อน พบว่ามีความเสี่ยงเกิดมะเร็งปากมดลูกสูง แต่ทางสถิติไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้ใช้งานน้อยกับผู้ใช้งานบ่อยครั้ง นั่นหมายความว่า ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งได้อยู่

นอกจากนี้ งานวิจัยล่าสุดยังชี้ให้เห็นว่า น้ำยายืดผมมีสารเคมีที่มีผลต่อต่อมไร้ท่อ และผลวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า น้ำยายืดผมมีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ด้วย

ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ ระบุว่า (ซีดีซี) มะเร็งปากมดลูกยังคงเป็นมะเร็งทางนรีเวชที่พบมากที่สุดในสหรัฐ มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉพาะผู้หญิงผิวดำ เนื่องจากผู้หญิงผิวดำใช้น้ำยายืดผมหรือครีมยืดผมบ่อยครั้ง และมีแนวโน้มที่จะใช้ตั้งแต่อายุยังน้อยมากกว่าคนเชื้อชาติอื่นหรือชาติพันธุ์อื่น การค้นพบนี้ อาจมีความเกี่ยวข้องกับพวกเธอมากขึ้น

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  พร้อมผู้บริหารและพนักงานกลุ่ม ปตท. ในนาม “ชมรมพลังไทยใจอาสา กลุ่ม ปตท.”

ร่วมบรรจุถุงยังชีพจำนวน 1,500 ถุง เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจากอิทธิพลพายุโนรู ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ได้แก่ เทศบาลตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1,000 ถุง พร้อมส่งทีมปฏิบัติการชมรม PTT Group SEALs เจ้าหน้าที่พร้อมเรือท้องแบนและอุปกรณ์กู้ภัยเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ และนำส่งที่ตำบลท่ามะนาว อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี จำนวน 500 ถุง

 

โดยในปี 2565 นี้ ปตท. มีแผนการดำเนินการแจกจ่ายถุงยังชีพเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวนกว่า     10,000 ถุง โดยถุงยังชีพประกอบด้วย อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและสามารถใช้ได้ทันที เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเบื้องต้น

สหรัฐอเมริกา สนใจลงนาม MOU  Cyber  ไทย หวังดึงกลุ่มลงทุน เข้าไทย

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม และ นาย อะเลฮันโดร มาโยกัส  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา  ร่วมหาลือ เเลกเปลี่ยนทางด้าน ความปลอดภัย ไซเบอร์ระหว่างร่วมงาน Singapore international Cyber week ณ.ประเทศสิงคโปร์  ซึ่ง นายอะเลฮันโดร มาโยกัส  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่า ทางสหรัฐอเมริกา สนใจ ที่จะ ลงนาม MOU กับประเทศไทย ในเรื่อง ความร่วมมือ ด้านการป้องกันภัย ไซเบอร์ หรือ Cyber security  เเละมุ่งเน้นไปที่วิธีจัดการอาชญากรรมออนไลน์ที่เกี่ยวกับเยาวชน และควรช่วยกันความรู้ร่วมถึงต้องการให้ คนไทย  ได้รับการฝึกอบรมเรียนรู้เรื่อง Cyber Security โดยเรียนรู้จากสถาบัน  Idaho National Laboratory ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียง ของสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังเน้นย้ำเรื่องการป้องกัน Scams ซึ่งทางสหรัฐอเมริกามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้เลย เพื่อไม่ให้คนตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมออนไลน์เหล่านี้อีก ขณะที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม ได้กล่าวเชิญให้บริษัทในสหรัฐอเมริกามาลงทุนเรื่องการตั้งธุรกิจดิจิทัลในประเทศไทยซึ่งตอนนี้กำลังเติบโตไปได้ด้วยดี ทั้งนี้ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม ยังพบกับการหอการค้าสหรัฐอเมริกาพร้อมกับบริษัททางด้าน Cyber Security ประมาณ 40 บริษัทที่ให้ความสนใจ ลงทุนในไทยด้วย

กลุ่ม ปตท. มอบบัตรเติมน้ำมัน สนับสนุน กทม. บรรเทาเหตุน้ำท่วม

เมื่อเร็ว ๆ นี้ - นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (กลางซ้าย) มอบบัตรเติมน้ำมันมูลค่า 200,000 บาท ในนามกลุ่ม ปตท. แก่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กลางขวา) เพื่อสนับสนุนการทำงานของกรุงเทพมหานครในการช่วยเหลือเหตุอุทกภัย และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ อาคาร ปตท. สำนักงานใหญ่ ถ.วิภาวดีรังสิต กทม.

 

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

กล่าวว่าเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา กระทรวง อว.ได้ประกาศระบบการเทียบโอนหน่วยกิต และระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญภายใต้นโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษา ของ รมว.อว.ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์

โดยระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติมีเป้าหมายในการส่งเสริมการพัฒนากำลังคนของประเทศผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) เป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนในทุกช่วงวัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักศึกษาสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา ภายใต้ระบบคลังหน่วยกิต ซึ่งผู้เรียนสามารถสะสมหน่วยกิตผ่านในระบบคลังหน่วยกิตได้ผ่าน 3 รูปแบบ ได้แก่

1.หลักสูตรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย ทุกวิชาสามารถเปิดให้คนทุกช่วงวัยเข้ามาเรียนเพื่อสะสมหน่วยกิตได้

2.หลักสูตรจากสถาบันอบรมต่าง ๆ ที่ได้รับการรับรองจาก อว.โดยต้องร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งใดแห่งหนึ่งในการเปิดหลักสูตรร่วมกัน ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว

3.ประสบการณ์การทำงาน ทุกคนสามารถเอาประสบการณ์การทำงานมาเป็นเครดิตตนเองได้ แต่ทั้งนั้นก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของแต่ละมหาวิทยาลัยว่าจะกำหนดแบบใดถึงจะมีการนำเอาประสบการณ์มาเทียบเป็นหน่วยกิตได้

โดยจะมีคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา สถานประกอบการไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เมื่อเทียบโอนและสะสมไว้ที่คลังหน่วยกิตแห่งชาติแล้วสามารถนำขอรับปริญญาบัตรจากสถาบันอุดมศึกษาได้ หรือเพื่อเป็นรายงานผลลัพธ์การเรียนรู้สะสมของผู้เรียน ประเดิมนำร่อง กับ 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยในช่วงกลางปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ศ.ดร.ศุภชัยกล่าวต่อว่าที่ผ่านมา อว.ได้ดำเนินโครงการ Thailand Cyber University ที่มีหลักสูตรออนไลน์ ผ่าน Thai MOOC ซึ่งช่วยในการส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่ผู้เรียนนอกมหาวิทยาลัยมาก่อนแล้ว ในขณะที่ระบบคลังหน่วยกิตใหม่นี้จะเป็นการต่อยอด และขยายโอกาสการเรียนรู้ของผู้เรียนออกไปอีกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ระบบคลังหน่วยกิตเกิดผลอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ อว.จึงได้ร่วมกับ SkillLane และอีก 4 มหาวิทยาลัย ในการนำร่องการทดลองระบบคลังหน่วยกิตทั้งในการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการตามประกาศ และทางเทคนิคที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศข้อมูล และจะขยายรูปแบบตามโครงการนำร่องไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อให้ระบบคลังหน่วยกิตเกิดประโยชน์สูงสุด

ด้านนายฐิติพงศ์ พิสิฐวุฒินันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สกิลเลน เอดูเคชั่น จำกัด กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือในโครงการนำร่องจัดทำคลังหน่วยกิตแห่งชาตินี้ได้จะใช้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของเราเข้ามาช่วยพัฒนาระบบสารสนเทศของคลังหน่วยกิตแห่งชาติโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมต่อคลังหน่วยกิตของแต่ละสถาบันเข้าไว้ด้วยกัน

รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า คลังหน่วยกิตแห่งชาติจะเชื่อมต่อกับ TUXSA ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์ของธรรมศาสตร์ได้อย่างลงตัวในอนาคตแล้ว ยังจะช่วยให้ธรรมศาสตร์กลับไปทำหน้าที่ตลาดวิชายุคดิจิทัลที่ส่งเสริมการ Upskill และ Reskill ให้กับคนในทุกเจเนอเรชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ม.ธรรมศาสตร์ได้ปรับตัวในเรื่องการเรียนการสอนหลายด้าน เมื่อไม่นานมานี้เพิ่งประกาศกฎระเบียบใหม่ คือเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่ไปประกวดหรือแข่งขันโครงการใด ๆ ก็ตามสามารถนำเอาผลสำเร็จตรงนั้นมาเทียบเป็นหน่วยกิตได้เป็น 6 หน่วยกิต หรือถ้าเป็นสตาร์ตอัพก็สามารถนำมาเทียบเป็นหน่วยกิตได้ถึง 16 หน่วยกิต เพราะการที่เป็นสตาร์ตอัพได้นั้น แปลว่ามีความรู้ความสามารถ มีบริษัทที่เข้ามาร่วมลงทุนด้วย ซึ่งการปรับตัวในลักษณะนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสแก่นักศึกษา ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์ตั้งแต่เรียนในห้องเรียน เพราะตอนนี้การเรียน 4 ปีในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวอาจช้าไป นักศึกษาธรรมศาสตร์ต้องมีความรู้ มีประสบการณ์ตั้งแต่ในห้องเรียน”

รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อว่าคลังหน่วยกิตแห่งชาติ (NCBS) เป็น Ecosystem สำคัญของกระทรวง ที่ขยายโอกาสให้กับนิสิตนักศึกษาในระบบ Formal Informal และ Non-Formal Education ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนความรู้ใหม่ ๆ ผ่านหลากหลายแหล่งเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานจริง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ของจุฬาฯ ในศตวรรษใหม่ที่พร้อมปรับตัวเข้ากับอนาคต ผ่านการมุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคมและประเทศ รวมถึงผลิตบัณฑิตสมรรถนะสูงที่ตอบสนองความเจริญก้าวหน้าของโลกยุคใหม่บนฐานของ Demand Driven

รศ.ดร.ปรารถนา ใจผ่อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าตอนนี้ ม.เชียงใหม่ มีหลักสูตรมากกว่า 200 หลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเข้ามาเรียนรู้ทั้งในรูปแบบออฟไลน์ ออนไลน์ ซึ่งเราทำมาสักระยะหนึ่ง และเพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2564 และคาดว่าในอนาคตจะมีการเปิดหลักสูตรมากขึ้น เพื่อรองรับกับระบบคลังหน่วยกิตแห่งชาติ และทำให้การเรียนในรูปแบบสะสมหน่วยกิต เป็นที่รับรู้และเข้าใจไปยังวงกว้างมากขึ้น

รศ.ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดีด้านวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่าเรามียุทธศาสตร์ ONE RMUT ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 9 แห่ง เพื่อร่วมกันพลิกโฉมแนวทางการผลิตกำลังคนยุคใหม่ เพื่อผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงและนวัตกรเพื่อพัฒนาประเทศไทยในระยะยาว คาดว่าระบบคลังหน่วยกิตจะช่วยซัพพอร์ตการพัฒนากำลังคนของกลุ่ม ONE RMUT ตอนนี้เรามีการวางหลักสูตรในระบบราว 45 หลักสูตร สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี และคนทั่วไป

“ยะลา” จังหวัดผังเมืองสวย อันดับ 1 ของไทย อันดับ 23 ของโลก

“ใต้สุดแดนสยาม เมืองงามชายแดน” บ่งบอกถึงความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดยะลาได้เป็นอย่างดี ความงามประการแรกที่ใครหลาย ๆ คนคำนึงถึง คงไม่พ้นเมืองที่มีผังสวยที่สุดของประเทศไทย จากการที่เทศบาลนครยะลาได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนประเทศไทย ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการพิจารณาในส่วนของโซนเอเชียและแปซิฟิค เมื่อปี พ.ศ.2546 จนผ่านการตัดสินชนะเลิศจากกรรมการตัดสินชุดใหญ่ของ UNESCO ได้รับรางวัล UNESCO Cities และมีเว็บไซต์ชื่อดัง จัดอันดับ "ยะลา" ให้เป็นผังเมืองที่ดีที่สุด อันดับที่ 23 ของโลกในปี 2560 และนับได้ว่าเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย 
.
การวางแผนผังเมืองมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เป็นเครื่องมือหนึ่งในฐานะกฎหมายที่มีบทบาทในการกำหนดประเภทการที่ดินและกิจกรรมต่าง ๆของมนุษย์ และเป็นตัวกำหนดทิศทางการพัฒนาในอนาคตอีกด้วย หากไม่มีการวางผังเมืองก็จะทาให้เกิดปัญหาต่างๆ กับเมือง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเจริญเติบโตอย่างไร้ทิศทางของเมือง ปัญหาชุมชมแออัด ปัญหาทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาการป้องกันภัยธรรมชาติ และยังยากต่อการวางแผนนโยบายการพัฒนาต่อยอด เมืองในอนาคตอีกด้วย
.
วางผังเมืองก่อนจะเป็นเมือง :  เมืองยะลา เป็นหนึ่งในไม่กี่เมืองใหญ่ในประเทศไทยที่มีการวางผังเมืองตั้งแต่ก่อนเริ่มก่อร่างสร้างเมือง สมัยที่ชุมชนเมืองยะลายังเป็นชุมชนขนาดเล็กเกาะตัวอยู่ใกล้สถานีรถไฟ รายล้อมด้วยสวนยางและป่าไม้ การตัดถนนจึงดำเนินการไปในพื้นที่สวนและป่าเป็นส่วนใหญ่ จุดเริ่มต้นของการวางผังเมืองยะลา การวางผังเมืองยะลานั้นริเริ่มโดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) อดีตข้าหลวงคนที่ 10 ของจังหวัดยะลา (พ.ศ.2456-2458) ซึ่งเมื่อลาออกจากราชการแล้วได้รับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาล ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีเมืองยะลาถึงสองสมัย (พ.ศ.2480-2488)
.
พระรัฐกิจวิจารณ์ได้ร่วมกับสหาย ข้าราชการ วางผังเมืองยะลาโดยได้รับการเสนอแนะจากแผนกผังเมือง กรมโยธาเทศบาล วางผังเมือง ยะลา โดยเรียกว่า ผังเค้าโครงเมืองยะลา ปี 2485 โดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) มีการวางแผนการกำหนดพื้นที่การใช้ที่ดินในเขตเมือง และการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ภายในเมือง ในการริเริ่มดำเนินงาน พระรัฐกิจวิจารณ์และสหายข้าราชการ ได้ร่วมกันหาศูนย์กลางของเมืองแล้วจึงปักหลักก้อนใหญ่และมีก้อนหินไว้เป็นเครื่องหมาย ซึ่งภายหลังได้เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง และได้วางแผนผังเมืองเป็น วงเวียนรอบศูนย์กลางเมือง ทั้งสิ้น 3 วง โดยเตรียมที่ดินในบริเวณนี้ไว้เป็นสถานที่ราชการ คือ บริเวณวงในสุด เป็นสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น ศาลากลาง จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานที่ดิน สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย วงเวียนที่สอง คือ บ้านพักข้าราชการ และวงเวียนที่สาม ซึ่งเป็นวงเวียนสุดท้ายเป็นที่ตั้งของ โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล และที่อยู่อาศัยของประชาชน
.
มีการสร้างถนนเข้ามายังศูนย์กลางเมืองที่เรียกว่า กิโลศูนย์ และตัดถนนสายต่าง ๆ กว่าทั่วทั้งเมืองยะลา ถนนพิพิธภักดี เริ่มจากสถานีรถไฟยะลาไปยังกิโลศูนย์ ถนนสุขยางค์ จากหอนาฬิกาไปถึงกิโลศูนย์ ถนนสิโรรสจากสถานีรถไฟยะลาถึงหน้าโรงพยาบาล ปัจจุบันถนนพิพิธภักดีและถนนสิโรรสเป็นถนนสายเอกของเทศบาลเมือง มีความสวยงาม ถนนพิพิธภักดี ซึ่งเป็นถนนคู่ มีทางเดินเท้าและช่องทางจักยาน และปลูกต้นประดู่เรียงรายไว้ตามเกาะกลาง และมีการตัดถนนสายย่อย ๆเป็นรูปสี่เหลี่ยมหมากรุก ได้แก่ ถนนยะลา ถนนไชยจรัส ถนนรัฐกิจ ถนนประจิน ถนนพังงา และถนนรวมมิตร เป็นต้น การตัดถนนเหล่านี้ได้ยึดหลักเกณฑ์ที่ว่าในการวางผังเมืองและตัดถนนได้แบ่งตัดซอยให้หลังบ้านชนกันแต่ห่าง 4 เมตร สำหรับ เป็นที่วางขยะ ถังขยะและสะดวกต่อการดับเพลิง 
.
กำหนดรูปแบบการใช้ที่ดินไว้ตั้งแต่แรกเริ่ม : ผังเค้าโครงเมืองยะลา ปี 85 โดยพระรัฐกิจวิจารณ์ (สวาสดิ์ ณ นคร) ซึ่งถือว่า เป็นการวางแผนผังเมืองยุคแรกๆ ของประเทศไทยนั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า พระรัฐกิจวิจารณ์ ไม่ได้เน้นเพียงแค่รูปแบบที่มี ความสวยงามของ ผังเมืองเท่านั้น แต่ยังได้จัดสรร จัดประเภทการใช้ที่ดินเข้าเป็นหมวดหมู่เดียวกัน โยการกำหนดรูปแบบ และการใช้ที่ดินในเมืองยะลา แบ่งไว้อย่างชัดเจน เป็น 6 ประเภท ซึ่งเป็นแนวทางในการต่อยอดพัฒนาเมืองเรื่อยมาจนถึง ปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
.
ประเภทที่ 1 พื้นที่สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ พื้นที่สถาบันราชการของเมืองยะลานั้นจะวางอยู่ บริเวณศาลหลักเมือง และวงเวียนหลักทั้งสามวงเวียน และถนนสิโรรส
.
ประเภทที่ 2 พื้นที่โล่งและนันทนาการ และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เมืองยะลานั้นได้รับสมญานามว่า เมืองแห่งสวน  ซึ่งทั่วทั้งเมืองยะลา ประกอบด้วยสวนและนันทนาการต่าง ๆ ดังนี้
•    สวนขวัญเมือง (พรุบาโกย) สร้างบนพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 207 ไร่ ประกอบด้วย สวน สนามกีฬา สนามแข่งขันนกเขาชวาเสียง ซึ่งเป็นสนามมาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และชายหาดจำลอง 
•    สวนศรีเมือง เป็นสวนที่สร้างเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และคันกั้นน้าริมแม่น้ำปัตตานี เริ่มต้นจาก บริเวณตลาดเมือง ใหม่ถึงบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟ เป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร สร้างแล้ว เสร็จปี พ.ศ. 2546
•    สวนสาธารณะบ้านร่ม แหล่งพักผ่อนหย่อนใจริมน้ำบ้านสะเตง เป็นอีกหนึ่งสวนสาธารณะใจกลาง เมืองของเทศบาลนครยะลา ประกอบด้วยต้นไม้นานาพรรณและศาลาริมน้ำรูปทรงที่มีเอกลักษณ์ของ พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
•    สวนสาธารณะสนามช้างเผือก (สนามโรงพิธีช้างเผือก) มีพื้นที่ 80 ไร่ เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายช้างเผือก "พระเศวตสุรคชาธาร" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2511 ภายในสวนสาธารณะมีศาลากลางน้ำ รูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ และสนามกีฬาในร่มขนาดใหญ่ที่ใช้จัดกิจกรรม ต่าง ๆ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ 
•    สวนมิ่งเมือง สวนกิจกรรมเพื่อเยาวชนประกอบไปด้วยสวนย่อย ๆ 4 สวน ได้แก่ สวนมิ่งเมือง หรือ บาโร๊ะบารู 1-4 สวนสาธารณะมิ่งเมืองมีความยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร โดยสวนมิ่งเมือง 4 เป็นสวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  ภายในสวนประกอบด้วย สนามฟุตบอลหญ้าเทียม และสนามเด็กเล่น 
•    ศูนย์เยาวชนยะลา ประกอบไปด้วยสนามขนาดใหญ่เพื่อใช้รองรับการจัดงานสำคัญๆระดับจังหวัด ซึ่งในยาม ปกติชาวเมืองยะลาจะใช้เล่นฟุตบอล ออกกำลังกาย และยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฟิตเนสของเทศบาล นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK PARK YALA) ซึ่งเป็นอุทยานการเรียนรู้แห่งแรกในส่วนภูมิภาค
•    สนามกีฬาชุมชนจารู เป็นที่ตั้งของสนามฟุตบอลหญ้าเทียมขนาดมาตรฐานแห่งเดียวในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีสเตเดียม ถือว่าเป็นสนามกีฬาที่มีความพร้อมในการจัดการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับจังหวัด และภูมิภาค
•    บึงแบเมาะ บึงแบเมาะเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บริเวณชุมชนตลาดเก่า ติดกับเขาตูม และค่าย สิรินธร บึงแบเมาะถือว่าเป็นบึงที่มีความสำคัญของเมือง ในฐานะเป็นพื้นที่แก้มลิงรับน้ำขนาด ใหญ่ และนอกจากนี้ทางเทศบาลยังมีนโยบายพัฒนาบึงให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และนันทนาการ
.
ประเภทที่ 3 พื้นที่พาณิชยกรรม ตั้งรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน โดยมีถนนสายสำคัญๆ ของเมืองล้อมรอบ ได้แก่ ถนนสิโรรส ถนนพิพิธภักดี ถนนสุขยางค์ โดยชาวยะลามักเรียกพื้นที่พาณิชยกรรมว่า “สายกลาง” นอกจากนี้ เมืองยะลายังมีตลาดขนาดใหญ่อีกหลายแห่ง ได้แก่ ตลาดเมืองใหม่ ตลาด สดผังเมืองสี่ ตลาดนัดเสรี ตลาดเช้า และตลาดหลังสถานีรถไฟบริเวณถนนวิฑูรอุทิศ ย่านตลาดเก่ากระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง
.
ประเภทที่ 4 พื้นที่ที่อยู่อาศัย เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง ซึ่งประชากรจะอาศัยอยู่ หนาแน่นบริเวณเขตพาณิชยกรรม และลดลงเรื่อยๆ จนกระทั้งกระทั้งเข้าพื้นที่เมืองสะเตงนอก โดยพื้นที่ ประชากรหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) จะล้อมรอบพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)
.
ประเภทที่ 5 พื้นที่เกษตรกรรม อยู่บริเวณขอบนอกของเมือง และประเภทที่ 6 พื้นที่อุตสาหกรรมและคลังสินค้า ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตลาดเก่า และถนน เทศบาล 1 โดยพื้นที่อุตสาหกรรมและคลังสินค้านั้นพบได้น้อยมากในเขตเมืองยะลา


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top