Friday, 3 May 2024
NEWS

‘น้องต้นไม้’ นักเรียนนิวตัน Year 11 คว้า 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน ในการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก 2023 ที่เมืองปักกิ่ง ประเทศจีน

ขอแสดงความยินดีกับ ‘น้องต้นไม้’ นักเรียนนิวตันจาก Year 11 ที่สามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขัน The Robot Challenge 2023 Global Robotic Competition ที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มาได้ถึง 4 รางวัลด้วยกัน 👏🏻🏆

A hearty CONGRATULATIONS to N'Tonmai, Kittipat Srilekarat, from Year 11! He has truly showcased his robotic prowess by securing an impressive array of awards at the Robotchallenge 2023 Global Robotic Competition in Beijing, China! 🇨🇳🤖

N'Tonmai's achievements include :
🥈Silver Award in both the Line Follower Senior and Line Follower Adult categories
🥇First Prize in the Line Follower Enhanced Senior category
🥈Second Prize in the Line Follower Enhanced Adult category! 🌟🏆

Let's celebrate N'Tonmai's exceptional talent and his incredible success on the global robotics stage. These achievements are a testament to his dedication and the innovative spirit fostered at Newton Sixth Form! 🚀👏🌟

#CharacterMatters #TheNewtonSixthForm #Newtonians 
--------------
THE NEWTON SIXTH FORM
การแบ่งระดับชั้นเรียน⁣
NEWTON Junior : ป.1-ป.6
เทียบเท่า Year 2-7 หรือ GRADE 1-6

NEWTON Senior : IGCSE, A-LEVEL :⁣ ม.1-ม.6 ⁣
เทียบเท่า Year 8-13 หรือ GRADE 7-12⁣

'กองทุนดี' จัดอบรมเติมความรู้บุคลากรต่อเนื่อง เตรียมพร้อมประเมินผลงานทุนหมุนเวียน ปี 67

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เติมความรู้ให้กับบุคลากรของกองทุน จัดฝึกอบรมในหัวข้อ ‘การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนและแนวทางการปรับปรุง และพัฒนาดำเนินงาน’ ภายใต้โครงการกำกับ ติดตาม บริหารจัดการแผนงานและตัวชี้วัดของกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีคณะที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมการอบรม

นางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการกองบริหาร กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 
กล่าวถึงการฝึกอบรมในครั้งนี้ว่า เนื่องจากพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 มาตรา 31 กำหนดให้กรมบัญชีกลางมีหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนที่ไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลเป็นประจำทุกปี ซึ่งกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะต้องดำเนินการตามตัวชี้วัด พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน เป็นรายไตรมาส และรายงานผลประจำปีงบประมาณ ซึ่งผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2565 ของกองทุนฯ ในภาพรวมมีผลการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 3.6595 คะแนน 

ทั้งนี้ สำหรับปีบัญชี 2566 กองทุนฯ อยู่ระหว่างการรวบรวมและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตัวชี้วัดภายในสิ้นปีบัญชี พร้อมทั้ง กองทุนฯ ได้มีการกำหนดตัวชี้วัดร่วมกับกรมบัญชีกลาง และบริษัทที่ปรึกษา (บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด) เพื่อเป็นกรอบการประเมินผลการดำเนินงาน ประจำปีบัญชี 2567 ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมิน ในปีถัดไป ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้กำหนดจัดอบรมการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของกองทุนฯ ในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ให้กับบุคลากรของกองทุน นำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งประกอบไปด้วยหัวข้อ ‘แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานเพื่อยกระดับการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนของกองทุนฯ’, ‘การบริหารจัดการความเสี่ยงและการควบคุมภายใน’ และ ‘หลักเกณฑ์การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปี 2567’   

นางสุรีพร พรโสภณวิชญ์ ผู้อำนวยการกองบริหาร กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรของกองทุน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมตามหลักเกณฑ์และตัวชี้วัดที่กำหนด นำไปสู่การปฏิบัติ  ได้อย่างเหมาะสมตามหลักเกณฑ์ และเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการประเมินผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพในปีถัดไป

ม.อ. - อินโนบิก ผนึกกำลังต่อยอดการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการแพทย์ เสริมความมั่นคงด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ดร.ณัฐ อธิวิทวัส กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด พร้อมด้วย รศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และ ผศ.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ ระหว่าง บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เพื่อมุ่งต่อยอดผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์จริงเชิงพาณิชย์ โดยจะนำผลงาน ที่มีศักยภาพมาวิเคราะห์และทดสอบการใช้งานจริงผ่านคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผสานความเชี่ยวชาญด้านการตลาดของอินโนบิก เพื่อสนับสนุนให้นวัตกรรมจากการวิจัยของคนไทยสามารถเข้าสู่ตลาดที่เพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ ลดการพึ่งพาการนําเข้า สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน 

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการจัดหาระบบ 5G Smart City ร่วมผลักดันพื้นที่ EEC ก้าวสู่เมืองอัจฉริยะน่าอยู่

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลในการดำเนินงาน โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ 5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่ ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26 (1) ภายใต้กรอบนโยบาย Digital Government and Infrastructure

วันที่ 5 กันยายน 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ ผู้อำนวยการกองทุนฯ และเจ้าหน้ากลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน 'โครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์ 5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่' ของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ขอทุนสนับสนุนในการดำเนินโครงการจัดหาระบบและอุปกรณ์5G Smart City สำหรับพื้นที่ EEC เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการเมือง และ ส่งเสริมความเป็นเมืองน่าอยู่ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในพื้นที่ EEC ได้แก่ การสร้างเครือข่าย Internet of Things และ CCTV พร้อม ทั้งต่อยอดการพัฒนาเครือข่าย 5G Mobile และสร้างให้มีการใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล รวมทั้งการสร้างความพร้อมในการพัฒนา Service Platforms ควบคู่กับการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อให้เกิดธุรกิจ ใหม่ในด้านเมืองอัจฉริยะ และสร้างงานสร้างรายได้ให้กับเมือง ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร เพื่อความยั่งยืนในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะที่นักพัฒนาเมืองจะสามารถ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ปัญหา และต่อยอดการพัฒนาพื้นที่ EEC ได้

โดยผลการดำเนินงานในโครงการ ประกอบด้วย การติดตั้งเสา Smart Pole จำนวน 90 ต้นในเขตเมือง ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองพัทยา เพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้าน IoT และระบบ CCTV ผ่านเครือข่ายสัญญาณ 5G ในการส่งเสริมการบริหารจัดการเมืองและความปลอดภัยของประชาชนและนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ Intelligent Operation Center (IOC) ตั้งอยู่ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา ในการบริหารจัดการและดูแลระบบในการให้บริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเริ่มใช้งานจริง เพื่อยกระดับการพัฒนาเมืองพัทยาให้เป็น Smart City เมืองอัจฉริยะอย่างแท้จริง

‘ปตท.’ จับมือ ‘RINA’ พัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนภาคเศรษฐกิจ สร้างโอกาสทางธุรกิจ รองรับการเติบโตของพลังงานแห่งอนาคต

เมื่อไม่นานนี้ ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ร่วมแสดงความยินดีในพิธีลงนามความร่วมมือพัฒนาเชื้อเพลิงไฮโดรเจนในภาคเศรษฐกิจระหว่าง ปตท. โดย นายคมกฤช โล่ห์เพ็ชร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่วางแผน ปตท., นายยุทธนา สุวรรณโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สถาบันนวัตกรรม ปตท. และ ‘RINA’ โดย Mr. Andrea Bombardi, Executive Vice President, Carbon Reduction Excellence, RINA Mr. Enrico Beccaceci, Senior Technical Manager, ASEAN Engineering Integration, RINA เพื่อความร่วมมือในโครงการนำร่องการทดสอบการผสมก๊าซไฮโดรเจนในก๊าซธรรมชาติ ซึ่งครอบคลุมถึงการประเมินประสิทธิภาพการใช้งาน รองรับการพัฒนาการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงในอนาคต

นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของสถาบันนวัตกรรม ปตท. ให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการการให้บริการเชิงเทคนิค ในการใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงของประเทศไทยด้วย ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการเติบโตในธุรกิจพลังงานแห่งอนาคต และเป้าหมาย Net Zero Emissions ของกลุ่ม ปตท. และประเทศไทยต่อไป

‘สาวกิมจิ’ ชี้!! ชีวิต นร.เกาหลีใต้หดหู่ ต้องเรียน ‘เช้าจรดดึก’ เทียบ นร.ไทย ‘ดีกว่า’ เลิกเรียนเวลาปกติ แถมมีชีวิตอิสระ

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีวิดีโอที่เป็นไวรัลอยู่ในโลกออนไลน์ เป็นวิดีโอของหญิงสาวชาวเกาหลีใต้ที่ออกมาเล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนในเกาหลีใต้ และเน้นย้ำว่าชีวิตนักเรียนเกาหลีใต้น่าสงสาร แตกต่างจากนักเรียนไทยที่ดีและมีอิสระมากกว่า…

หญิงสาวชาวเกาหลีใต้เจ้าของวิดีโอมีชื่อว่า ‘ริซชี่’ ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยมาแล้ว 15 ปี โดยเธอได้ระบุในวิดีโอว่า เรื่องที่ไทยดีกว่าเกาหลีใต้ มีหลายเรื่องมาก ๆ หนึ่งในนั้นคือเรื่องชีวิตประจำวันของนักเรียน โดยที่เกาหลีใต้จะมีตารางเรียนให้นักเรียน ซึ่งเรียนตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม ใน 1 วันเรียนทั้งหมด 7 วิชา และต้องกินข้าวกลางวันและข้าวเย็นที่โรงเรียน

เธอยังระบุอีกว่า วิชาสุดท้ายเรียนจบตั้งแต่ช่วงห้าโมงเย็นแล้ว แต่ทางโรงเรียนบังคับนักเรียนให้อ่านหนังสือต่อจนถึงสี่ทุ่ม หลังจากอ่านหนังสือเสร็จก็ยังไม่ได้กลับบ้าน เพราะต้องไปเรียนพิเศษต่อ โดยจะมีรถบัสเรียนพิเศษมารอรับที่โรงเรียนเลย และเรียนพิเศษจนถึงเที่ยงคืน สำหรับการเรียนพิเศษ ต้องไปทุกวัน เสาร์อาทิตย์ก็ไม่ได้หยุด ทำให้เด็กนักเรียนเจอคุณครูมากกว่าพ่อแม่เสียอีก

สาวเกาหลีใต้รายนี้ยังระบุอีกว่า จริง ๆ ก็เรียนไหว ไม่ได้แย่ขนาดนั้น เพราะตอนที่เรียนมีเพื่อนอยู่ด้วยทุกคน เธอยังบอกอีกว่าสาเหตุที่ต้องเรียนโหดขนาดนี้ เพราะว่าการแข่งเกาหลีสูงมาก ๆ เพื่อให้ได้งานดี ๆ ก็ต้องเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ให้ได้ก่อน ซึ่งแตกต่างจากฝั่งตะวันตกที่สอนว่าความสามารถของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต่อให้เรียนไม่เก่งก็ยังสามารถมีความสุขได้ แต่สำหรับที่เกาหลีใต้นั้นมีทรัพยากรไม่มากพอ ทำให้โรงเรียนและผู้ปกครองพยายามสอนนักเรียน ต้องเรียนให้เก่ง เพื่อหางานดี ๆ จะได้มีชีวิตที่ดีในอนาคต 

ริซชี่ระบุทิ้งท้ายว่า ตัวเธอเองไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเกาหลี และหวังว่าในอนาคตอยากเห็นนักเรียนที่เกาหลีใต้มีชีวิตที่ดี และสามารถเลิกเรียนได้ตามเวลาปกติเหมือนเด็กนักเรียนไทย 

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการโดรนสำรวจความสมบูรณ์ของป่าไม้ ชี้ ผลสำเร็จตามเป้า หลังเก็บข้อมูล 11 อุทยาน กว่า 10 ล้านไร่

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามผลสำเร็จในการดำเนินงาน โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26(1) ภายใต้กรอบนโยบาย Digital Government and Infrastructure

วันที่ 4 กันยายน 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ ผู้อำนวยการกองทุนฯ และเจ้าหน้าที่กลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงาน “โครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ของ กองการบิน สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กองการบินฯ ได้ขอทุนสนับสนุนในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่มีภารกิจในการดูแลทรัพยากรป่าไม้ของประเทศและการดูแลประชาชน ในการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศ การบินลาดตระเวนทางอากาศด้วยอากาศยานไร้คนขับ ในการสนับสนุนภารกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาจัดทำฐานข้อมูลแผนที่ป่าอุทยาน และพัฒนาระบบจัดเก็บ แลกเปลี่ยน และแสดงผลข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศความละเอียดสูงสำหรับสนับสนุนการจัดการพื้นที่ทำกิน ให้บริการแก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงระบบแสดงผลข้อมูลสถานการณ์ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์ด้านไฟป่าและน้ำป่าไหลหลากในรูปแบบ real time บน web map service และ mobile application เพื่อแจ้งเตือนประชาชน

โดยกองการบินฯ ได้รายงานผลการดำเนินงานของโครงการที่มีผลสัมฤทธิ์ในโครงการตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ สามารถพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับแบบขึ้นลงแนวดิ่ง จำนวน 14 ระบบ แบ่งเป็น อากาศยานขนาดใหญ่ใช้ในการลาดตระเวนทางอากาศ จำนวน 4 ระบบ อากาศยานขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 10 ระบบที่ใช้ในการจัดทำภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายทางอากาศแบบหลายช่วงคลื่น แล้วนำไปเก็บข้อมูลทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าจำนวน 11 อุทยาน บนพื้นที่กว่า 10 ล้านไร่ และพัฒนาระบบบริหารจัดการในการใช้งาน ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ในโครงการ เป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติงานและบูรณาการการใช้งานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการลดการบุกรุกพื้นที่ป่า การบริหารจัดการพื้นที่ทำกิน รวมถึงการแจ้งเตือนสถานการณ์ไฟป่า น้ำป่าไหลหลากให้ประชาชนได้ทราบอย่างทันท่วงที โดยกองการบินได้สาธิตการทำงานของอากาศยานไร้คนขับในแต่ละระบบ โดยจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ณ สนามบินเล็กพัทยา จ.ชลบุรี มีผลความสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี

‘ปตท.’ ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ ประลองไอเดียขายสินค้าชุมชน ในโครงการ ‘Young Influencer Challenge Thailand 2023’

เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 66 นางกนกพร รอดรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานปฐมนิเทศ โครงการ ‘Young Influencer Challenge Thailand 2023 : ชวน U สร้างรอยยิ้ม’ กิจกรรมที่เปิดพื้นที่ให้เยาวชนได้แสดงพลังและไอเดียความคิดสร้างสรรค์ แข่งขันจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนใน ‘โครงการชุมชนยิ้มได้ โดย กลุ่ม ปตท.’ ผ่าน 30 ทีมเยาวชนจาก 10 มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นด้วยความร่วมมือของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีระยอง (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เทลสกอร์ จำกัด โดยมีคณาจารย์ และนิสิตนักศึกษา กว่า 200 คน ร่วมงาน ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ

นางกนกพร เปิดเผยว่า ปตท. เล็งเห็นถึงศักยภาพและพลังความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถช่วยสนับสนุนให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเข้าถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น จึงจัดโครงการ ‘Young Influencer Challenge Thailand 2023 : ชวน U สร้างรอยยิ้ม’ เพื่อเฟ้นหาทีมสุดยอดนักขายผลิตภัณฑ์ชุมชน ผ่าน  www.ชุมชนยิ้มได้.com ซึ่งนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับประสบการณ์จริง จากการนำทักษะความรู้มาใช้ในการจัดทำแผนการตลาดและเทคนิคการขายสินค้าชุมชนออนไลน์ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเจ้าของสินค้า อันจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายอินฟลูเอนเซอร์รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนให้เติบโตต่อไป 

อนึ่ง ‘โครงการชุมชนยิ้มได้ โดย กลุ่ม ปตท.’ เป็นหนึ่งในโครงการ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ชุมชนมีความยากลําบากด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ปตท. จึงพัฒนา Platform www.ชุมชนยิ้มได้.com ร่วมกับ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด เพื่อเป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทำให้ผลิตภัณฑ์ของชุมชนสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น และยังคงเปิดช่องทางจําหน่ายนี้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเปิด ‘ร้านชุมชนยิ้มได้ Official Store’ แห่งแรก ณ ปตท. สำนักงานใหญ่ เพื่อเป็นจุดจำหน่ายสินค้าชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ตลอดระยะเวลา 45 ปี ปตท. มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานประเทศ ควบคู่ไปกับการดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้จึงเป็นอีกหนึ่งโครงการที่ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการรถโมบายสโตรคยูนิต ช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้รักษารวดเร็ว

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ติดตามผลการดำเนินงานในโครงการพัฒนาการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตเชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสำหรับทุกคน ของศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26(1)

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน “โครงการพัฒนาการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน โดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตเชื่อมต่อกับระบบปรึกษาทางไกลและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจรสำหรับทุกคน” ของ ศูนย์โรคหลอดเลือดสมองศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

โครงการมีวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบที่ใช้ในการรักษาบนรถโมบายสโตรคยูนิตรวมทั้งระบบการปรึกษาทางไกลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบ Telestroke ให้กับพื้นที่เป้าหมายใน 6 จังหวัดนำร่อง คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ราชบุรี กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงราย และนครพนม และพัฒนาระบบส่งต่อข้อมูลทางการแพทย์ ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล หรือหน่วยรักษาอัมพาตเคลื่อนที่ในเขตพื้นที่บริการ ให้เป็นต้นแบบในการให้บริการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยใช้รถโมบายสโตรคยูนิตและการส่งต่อผู้ป่วยแบบครบวงจร เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและลดอัตราความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอ

ปัจจุบันมีผลการดำเนินงานในโครงการในการพัฒนาระบบเสร็จสิ้นและอยู่ระหว่างการเก็บผลการให้บริการจริงในพื้นที่เป้าหมายต่าง ๆ พบว่า ผลเป็นที่น่าพอใจ การดำเนินการให้บริการของรถโมบายสโตรคยูนิตในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยประสานกับหน่วยส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน สพฉ. ในการนำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินมาที่รถโมบายสโตรคยูนิต ที่สามารถให้การรักษาได้อย่างทันท่วงที ในวินิจฉัยโรคและการตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านระบบ Telestroke ตลอดจนการส่งต่อข้อมูลภาพถ่ายผลการสแกนสมองที่แม่นยำเพื่อให้การรักษาผู้ป่วยในการใส่สายสวนหรือการให้ยาสลายลิ่มเลือดได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อลดอัตราการสูญเสียชีวิตและลดอัตราความพิการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ ก่อนนำส่งตัวไปรักษาต่อยังโรงพยาบาลเครือข่ายต่อไป 

‘4 หนุ่มสายไอที’ คว้า 2 เหรียญทองแดง-2 เกียรติบัตร จากการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ที่ประเทศฮังการี

ผลการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2566 (35th IOI 2023) ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม – 4 กันยายน 2566 โดยมีสาธารณรัฐฮังการีเป็นประเทศเจ้าภาพ
ผู้เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 351 คน จาก 88 ประเทศ ผู้เข้าแข่งขันจากประเทศไทย จำนวน 4 คน มีผลการแข่งขัน ดังนี้

1.)  นายภัครินทร์ ลีไตรรงค์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง 🥉
2.)  นายธีธัช ธำรงลักษณ์ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ได้รับรางวัล เหรียญทองแดง 🥉
3.)  นายภัทรกร สุทธจรรยา โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร เกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน
4.)  นายปุญญพัฒน์ ศรีรอต โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน

และคณะอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ประกอบด้วย
1.) ผศ.ดร.นัทที นิภานันท์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (หัวหน้าทีม)
2.) ดร.พิชญะ สิทธีอมร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รองหัวหน้าทีม)
3.) ดร.ธนะ วัฒนวารุณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม)
4.) อ.วาโย ปุยะติ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม)
5.) นายจักรพรรดิ สุวรรณกูฏ สสวท. (ผู้จัดการทีม)

‘OKMD’ ผนึก ‘ธรรมศาสตร์’ ปั้นโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัป พัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษา ยกระดับไทยเท่าทันสากล

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับ 88 SANDBOX มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาองค์ความรู้ สร้างโอกาสในการพัฒนา นวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาไทย เพื่อยกระดับความสามารถและศักยภาพในการประกอบอาชีพของประชาชน ภายใต้ ‘โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program)’ พร้อมระดมกูรูในระบบนิเวศการศึกษา และเทคโนโลยีร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ต่อยอดไอเดียตั้งแต่เริ่มต้น สู่เป้าหมาย เชื่อมต่อนักลงทุนคู่ค้า ที่มีศักยภาพต่อไป  

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ หรือ OKMD กล่าวว่า “ในยุคปัจจุบันการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ ต้องควบคู่ไปกับการลงมือทำ ซึ่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามาช่วยให้กระบวนการเรียนรู้สะดวกขึ้น และทำให้การลงมือปฏิบัติสำเร็จง่ายขึ้นอย่าง Education Technology หรือ EdTech หรือนวัตกรรมการศึกษา จึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญและเหมาะสมกับโลกยุคใหม่ ในสมัยก่อนเรามี EdTech ในรูปแบบการศึกษาผ่านระบบดาวเทียม ต่อมาเป็นการเรียนรู้ผ่านโซเชียลมีเดีย ที่ผู้คนสามารถเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต ถัดมาเป็นเทคโนโลยีใหม่อย่าง Zoom Meeting จนมาถึงตอนนี้นักเรียนนักศึกษาสามารถทำ Report จาก AI กันได้แล้ว OKMD จึงต้องดำเนินงานส่งเสริมและสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ ที่ควบคู่ไปกับ EdTech เพื่อช่วยให้การเข้าถึงความรู้และการเรียนรู้เป็นเรื่องง่าย ๆ”  

ดร.ทวารัฐ กล่าวต่อไปว่า “ความร่วมมือระหว่าง OKMD และ 88 SANDBOX ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการบ่มเพาะกลุ่มสตาร์ตอัปด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และการศึกษา ให้มีโอกาสได้พัฒนาศักยภาพ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ และเท่าทันกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ รวมทั้งเกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เหล่านี้ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับประเทศไทย และเป็นก้าวที่สำคัญในการส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และทักษะในอนาคต รวมทั้งการส่งมอบประสบการณ์และการบูรณาการจุดเด่นของทั้ง 2 หน่วยงาน ในรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพต้นทุนมนุษย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับชาติและนานาชาติต่อไปครับ”

ด้าน รศ.ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยถึงความคาดหวัง ในการร่วม มือในโครงการ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program ว่า เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงความรู้อย่างกว้างขวางและรอบด้าน ด้วยโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านการเรียนรู้และการศึกษาให้กับประเทศไทย โดยการสร้างและส่งเสริมระบบนิเวศของสตาร์ตอัปด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ และการศึกษาในสังคมให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้งการบ่มเพาะผู้ประกอบการทุกคนที่ต้องการสร้างไอเดียจากศูนย์สู่ความสำเร็จ และพัฒนานวัตกรรมใหม่ให้กับประเทศไทย

“ปริญญาในโลกอนาคตไม่ค่อยมีความหมาย องค์กรยุคใหม่ไม่สนใจว่าเราจบอะไรมา เท่ากับทำอะไรเป็น เพราะฉะนั้นเวลาคัดเลือกคนเข้าทำงาน จะพิจารณาจากความสามารถในการแก้ปัญหา การจัดการสถาน การณ์ที่ยากซับซ้อน การทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program จะเป็นพื้นที่เปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ทุก ๆ คน ตั้งแต่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ไปจนถึงนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป ให้ได้รับการสนับสนุนต่อยอดไอเดียธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมและมีศักยภาพในการนำออกสู่ตลาดในระดับนานาชาติต่อไป” รศ.ดร.พิภพ กล่าว

ครงการ LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program จะเริ่มบ่มเพาะธุรกิจด้านการศึกษา ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ในรูปแบบของ 1) Training & Workshop เพื่อพัฒนาธุรกิจ ด้านต่างๆ รวมถึงการเพิ่มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาธุรกิจด้านการศึกษาของตนเอง โดยในกระบวนการจะมี Workshop จากวิทยากรทั้งด้านการศึกษา และด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง

2) Education Experts เพื่อเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญในด้านการศึกษา ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความต้องการของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ ในระบบนิเวศการศึกษา

และ 3) Community Activities เพื่อเชื่อมต่อกับนักลงทุน คู่ค้า และลูกค้าที่มีศักยภาพ ช่วยผู้ประกอบการสร้างความสัมพันธ์และทำให้ธุรกิจเติบโต 

โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนกว่า 100 ทีม (237 คน) และผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 20 ทีม (76 คน) โดยจะได้รับการบ่มเพาะทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและเปิดมุมมองทางด้านการศึกษาอย่างเข้มข้น จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ และนักลงทุนกว่า 30 คน อาทิ รศ.ดร.พิภพ อุดร, ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) วรุตม์ นิมิตยนต์ (Co-Founder,Deschooling Game) โตมร ศุขปรีชา (OKMD) และมีเงินรางวัลรวมกว่า 2 แสนบาท มอบให้กับ 5 ทีมสุดท้ายทีได้รับการคัดเลือก

ในวันร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน ‘โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้นนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการศึกษา (LEARN LAB: OKMD X 88 Learnovation Program)’ ระหว่าง 88 SANDBOX ภายใต้การดูแลของฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ OKMD ภายในงานยังมีกิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นที่น่าสนใจมากมาย อาทิ

• DMii, For Future Education Model โมเดลการจัดการเรียนรู้ในยุค ‘ความรู้อายุสั้น แต่คนอายุยาว’ โดย รศ. ดร. พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

• Learnovation to Learnlab จากนวัตกรรมการศึกษา สู่พื้นที่แห่งการสร้างโอกาสด้านการศึกษาแห่งอนาคต โดยโตมร ศุขปรีชา ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และนวัตกรรมการเรียนรู้, OKMD

• 88 SANDBOX พื้นที่ผลักดันขีดจำกัดการศึกษาไทย ให้มุ่งสู่ Better Life, Better Society

• Discover the Future of Education ค้นหา และค้นพบศักยภาพของการศึกษาแห่งอนาคต

• Innovative Edtech Lab Lab นอกห้องเรียน ที่พาคุณไปทดลอง และทำจริง กับนวัตกรรมการศึกษาแห่งอนาคต

• Integrated Education Platform บูรณาการของ 5 องค์กรนวัตกรรมชั้นนำ เชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับนวัตกรรม

• Master from Failure เชี่ยวชาญให้สุด จาก ‘ความล้มเหลว’ แบบเฮียๆ โดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

‘กองทุนดีอี’ ติดตามโครงการ Ai ลงรหัสโรค พบเพิ่มประสิทธิภาพเวชระเบียนได้ถูกต้อง – สมบูรณ์

กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ติดตามผลการดำเนินงานในโครงการการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยลงรหัสโรคทางการแพทย์ ของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนฯ ในปีประกาศ พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 26(1)

เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 กองบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำโดยคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลโครงการ ผู้แทนจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาโครงการ และเจ้าหน้าที่กลุ่มติดตามและประเมินผล ได้ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน โครงการการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยลงรหัสโรคทางการแพทย์ ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 

โครงการมีวัตถุประสงค์ ในการพัฒนาโปรแกรมต้นแบบสนับสนุนการใส่รหัสโรคด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความถูกต้องของการใส่รหัสโรคให้แก่ภาควิชาศัลยศาสตร์ และสามารถนำโปรแกรมต้นแบบไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ในระดับโรงพยาบาลและสาธารณสุขของประเทศต่อไป

โดยมีผลการดำเนินโครงการในการพัฒนาต้นแบบสนับสนุนการใส่รหัสโรคด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำงานร่วมกับนักลงรหัสโรคได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากการทดลองใช้งานระบบทดสอบกับเวชระเบียนจากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สามารถแนะนำการให้รหัสโรค (ICD-10) และรหัสหัตถการ (ICD-9) ในกระบวนการทำงานของนักวิชาการเวชสถิติผู้ให้รหัส (Coder) แพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดระยะเวลาในการทำงานต่อจำนวนเวชระเบียนได้อย่างมาก รวมถึงการแนะนำรหัสที่มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ตามข้อกำหนดของ สปสช. 

โครงการภายใต้การพัฒนา นำโดยคณะแพทย์ จากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ นักพัฒนาระบบ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศฯ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และคณะที่ปรึกษาจาก สปสช.

‘โปรพราว’ ผงาดแชมป์ ‘พอร์ตแลนด์ คลาสสิก 2023’ ในวัย 19 ปี จารึกชื่อก้านเหล็กสาวไทยรายที่ 7 คว้าถ้วยแอลพีจีเอมาครอง

การแข่งขันกอล์ฟ ระดับแอลพีจีเอทัวร์ รายการ ‘พอร์ตแลนด์ คลาสสิก’ ที่โคลัมเบีย เอดจ์วอเตอร์ คันทรี คลับ เมืองพอร์ตแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันในวันสุดท้าย

ปรากฎว่า ‘โปรพราว’ ชเนตตี วรรณแสน ก้านเหล็กสาวดาวรุ่งจากไทยที่เพิ่งเริ่มเทิร์นโปรในปีนี้เป็นปีแรก ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม กวาดเพิ่ม 9 อันเดอร์พาร์ รวมสกอร์ 4 วัน 26 อันเดอร์พาร์ คว้าแชมป์ไปครอง ทิ้งอันดับ 2 อย่าง หลิน ซีหยู จากจีน 4 สโตรก รับเงินรางวัลไปนอนกอด 225,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 7.9 ล้านบาท

จากการคว้าแชมป์ในครั้งนี้ทำให้ ชเนตตี วรรณแสน ในวัย 19 ปี สร้างประวัติศาสตร์กลายเป็นนักกอล์ฟคนที่ 3 ของแอลพีจีเอทัวร์ ที่ผ่านรอบควอลิฟาย และสามารถคว้าแชมป์ได้สำเร็จ ซึ่งยังทำให้เธอกลายเป็นโปรกอล์ฟอายุน้อยสุดอันดับ 2 ที่ได้แชมป์ในปี 2023 ต่อจาก อเล็กซา ปาโน โปรกอล์ฟอเมริกัน

ขณะเดียวกัน ‘โปรพราว’ กลายเป็นก้านเหล็กหญิงจากไทยคนที่ 7 ที่สามารถคว้าแชมป์กอล์ฟระดับแอลพีจีเอมาครอง ต่อจาก เอรียา จุฑานุกาล, โมรียา จุฑานุกาล, ธิฎาภา สุวรรณปุระ, ปาจรีย์ อนันต์นฤการ, ปภังกร ธวัชธนกิจ และอาฒยา ฐิติกุล

ส่วนผลงานของโปรกอล์ฟสาวจากไทยคนอื่น ๆ ในรายการนี้ เอรียา จุฑานุกาล จบ 18 อันเดอร์พาร์ รั้งอันดับ 7 ร่วม เช่นเดียวกับ อาฒยา ฐิติกุล รับเงินรางวัล 38,536 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 1.3 ล้านบาท, ปวริศา ยกทวน จบ 14 อันเดอร์พาร์ รั้งอันดับ 18 ร่วม รับเงิน 18,333 เหรียญสหรัฐฯ

ด้าน ธิฎาภา สุวรรณปุระ จบ 13 อันเดอร์พาร์ รั้งอันดับ 21 ร่วม รับเงิน 15,840 เหรียญสหรัฐฯ, พรอนงค์ เพชรล้ำ จบ 11 อันเดอร์พาร์ รั้งอันดับ 34 ร่วม รับเงิน 9,075 เหรียญสหรัฐฯ, โมรียา จุฑานุกาล จบ 9 อันเดอร์พาร์ รั้งอันดับ 45 ร่วม รับเงิน 6,183 เหรียญสหรัฐฯ และ ปภังกร ธวัชธนกิจ จบ 8 อันเดอร์พาร์ รั้งอันดับ 49 ร่วม รับเงิน 5,319 เหรียญสหรัฐฯ

ปตท. ฉลองการนำเข้า ‘ก๊าซปิโตรเลียมเหลว’ ‘15 ปี 15 ล้านตัน’ ณ คลังก๊าซเขาบ่อยา

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และนายวรจักร สถาพรภิญโญ นายอำเภอศรีราชา ร่วมงานฉลองการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว 15 ปี 15 ล้านตัน สายงานแยกก๊าซธรรมชาติ ณ คลังก๊าซเขาบ่อยา ปตท. จ.ชลบุรี เพื่อร่วมแสดงความยินดีในโอกาสที่คลังก๊าซเขาบ่อยา ปตท. ได้พัฒนาเพิ่มขีดความสามารถการนำเข้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แก้วิกฤตการณ์ความต้องการที่เพิ่มสูงตั้งแต่ปี 2551 จวบจนปัจจุบันเป็นเวลา 15 ปี ด้วยปริมาณถึง 15 ล้านตัน 

ทั้งนี้ คลังก๊าซเขาบ่อยา เปิดดำเนินการตั้งแต่ปี 2528 และเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของ ปตท. ในการนำเข้า เก็บสำรอง และเป็นศูนย์กลางในการกระจาย LPG สู่ภาคครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมพันธกิจ ปตท. ในการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ

‘รัสเซีย’ บรรจุ ‘ภาษาจีน’ ในหลักสูตรระดับมหาวิทยาลัย อ้าง!! หวังเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์

เมื่อไม่นานมานี้ หนังสือพิมพ์วอชิงตันเอ็กแซมมิเนอร์ของสหรัฐฯ รายงานว่า อันเดร เฟอร์เซนโก (Andrei Fursenko) ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเครมลินซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอดีตรัฐมนตรีการศึกษาและเทคโนโลยีรัสเซียกล่าวมีใจความว่า

“จะไม่มีความรุนแรงพวกเราจะหว่านล้อมแต่ในเวลาเดียวกันพวกเราจะมุ่งหน้าสู่แนวทางนี้หากว่าพวกเราต้องการที่จะสามารถแข่งขันได้” เขากล่าวในรายงานของสื่อ RIA Novosti ของรัสเซีย

ทั้งนี้ สื่อยูเครนสกายา ปราฟดา (Ukrainska Pravda) ที่รายงานเช่นเดียวกันระบุว่า ได้มีการบรรจุภาษาแมนดารินเข้าสอนในหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยภายในรัสเซีย

เฟอร์เซนโก ชี้ว่า หนทางนี้จะช่วยให้บรรดานักศึกษาสามารถเข้าสู่ความเข้าใจทางสาขาวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยชี้ว่า 30% ของงานวิจัยวิทยาศาสตร์โลกนั้นถูกตีพิมพ์เป็นภาษาจีน

วอชิงตันเอ็กแซมมิเนอร์ชี้ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยรัสเซียชื่อดังอย่างน้อย 1 แห่งออกมาต่อต้านคำสั่งโดยชี้ว่า “แปลกประหลาดและส่งผลร้าย”

ซึ่งเฟอร์เซนโกยืนยันว่า มันมีความสำคัญจากการที่จีนมีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยประธานาธิบดีจีน สี จิ้นผิง มองว่า นี่เป็นหนทางที่จะทำให้ 2 ชาติสหายมีความใกล้ชิดผูกพันมากขึ้น

เฟอร์เซนโกกล่าวในการประชุมฟอรัมการศึกษาเยาวชนรัสเซีย

“พวกเราต้องการที่จะอยู่ในเทรนด์วิทยาศาสตร์กันอยู่หรือไม่? มุ่งไปข้างหน้ากันเถิด” เขากล่าว และเสริมต่อว่า “ปัญหาคือแน่นอนที่สุดมันมีความจำเป็นที่ต้องทำให้มั่นใจว่า ภาษารัสเซียยังคงอยู่ท่ามกลางไม่กี่ภาษาของด้านวิทยาศาสตร์”

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญ ดร.เซอร์เก โพโพป (Dr.Sergei Popov) ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อฝรั่งเศส Le Monde เมื่อต้นปีว่า สำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน มีภาษาเดียวเท่านั้นคือภาษาอังกฤษ และจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในอนาคตระยะใกล้

“ราว 100% ของสิ่งที่ผมได้อ่านและ 90% ของสิ่งที่ผมได้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งภาษาจีนที่เป็นคำถามนั้นอาจขึ้นมา แต่พบน้อยกว่าในแวดวงวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี”

สื่อสหรัฐฯ รายงานว่า บรรดานักศึกษารัสเซียประจำสถาบันการศึกษาฟิสิกส์และเทคโนโลยีแห่งมอสโก MFTI (The Moscow Institute of Physics) ได้ออกมาโต้ว่า ความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์รัสเซียและนักวิทยาศาสตร์จีนไม่ถึงระดับที่จะทำให้การศึกษาภาษาจีนนั้นมีความสำคัญ

ยูเครนสกายา ปราฟดา ชี้ว่า มีการประท้วงเกิดขึ้นในหมู่นักศึกษาเมื่อมีนาคมต้นปี หลังจากทางสถาบันการศึกษาได้สั่งถอดวิชาภาษาต่างประเทศทั้งสเปน เยอรมัน และฝรั่งเศสออกจากหลักสูตร และใส่วิชาภาษาแมนดารินในหลักสูตรสำหรับภาคการศึกษา 2023-24 แทนด้วยเหตุผลด้านค่าใช้จ่าย

และเมื่อมีนาคมต้นปีเช่นเดียวกัน ธนาคารแห่งรัสเซีย (Bank of Russia) กำหนดให้พนักงานของตัวเองต้องเรียนภาษาแมนดาริน โดยอ้างว่าเพื่อการติดต่อทางธุรกิจกับเพื่อนร่วมงานจากจีน

โดยหนังสือพิมพ์มอสโกไทม์สได้รายงานเมื่อวันที่ 29 มี.ค.ว่า เป็นผลมาจากการเผชิญหน้าอย่างตึงเครียดกับตะวันตกหลังเครมลินเปิดปฏิบัติการทางทหารในยูเครน เครมลินได้หันไปมุ่งสู่เอเชียแทน ความต้องการเรียนภาษาแมนดารินเพิ่มขึ้นจากการที่รัสเซียได้เพิ่มการพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อจีน

หนังสือพิมพ์มอสโกแสดงภาพน่ารักของบรรดาสาว ๆ รัสเซียแต่งกายในชุดจีนโบราณสำหรับพิธีน้ำชาอย่างคึกคัก รวมถึงการศึกษาพู่กันจีน

ในขณะเดียวกัน จำนวนนักศึกษาระดับไฮสกูลรัสเซียได้เลือกภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศในการสอบไล่ปลายปีเพิ่มขึ้นภายใน 1 ปี มาอยู่ที่ 17,000 คน ถึงแม้ว่าภาษาอังกฤษจะยังคงเป็นภาษาต่างประเทศที่เลือกเป็นอันดับ 1 สำหรับเวลานี้

มีนักเรียนรัสเซียตั้งความหวังจะไปศึกษาต่อในจีนหลังมีความหวังน้อยลงในการเข้าสู่สถาบันการศึกษาโลกตะวันตก และมีอีกบางส่วนมองหาลู่ทางที่จะเดินทางไปทำงานในจีนจากเหตุค่าตอบแทนสูงสำหรับชาวยุโรป


© Copyright 2021, All rights reserved. THE STUDY TIMES
Take Me Top